สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรชั้นเลิศดีต่อสุขภาพความงาม

มะกรูด สมุนไพรมากประโยชน์ นำมาใช้แทบทุกส่วน อีกทั้งยังนำมาใช้บำรุงผมและผิวได้ด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรชั้นเลิศดีต่อสุขภาพความงาม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • มะกรูด เป็นสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์หลากหลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบจะทุกส่วน คนไทยนิยมนำผลและใบมะกรูดมาประกอบอาหาร เพราะนอกจากจะมีกลิ่นหอม และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ยังอุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
  • รากมะกรูด นิยมนำมาใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อบรรเทาอาการไข้ อาการแน่นท้องจุกเสียด และลดเสมหะเป็นพิษ
  • ใบมะกรูด อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน และสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย นิยมรับประทานเพื่อแก้อาการช้ำใน บรรเทาอาการไอ และป้องกันมะเร็ง
  • ผิวของผลมะกรูด ใช้เป็นยาแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ขับพิษ ขับลม แก้อาการหน้ามืด และวิงเวียนศีรษะ ส่วนผลมะกรูด นิยมรับประทานเพื่อแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการปวดท้อง ฟอกโลหิต ขับระดู และช่วยขับลมในลำไส้ได้ดี
  • มะกรูดยังมีประโยชน์อีกหลากหลายด้าน แต่ก่อนที่จะนำมาใช้ก็ควรศึกษาข้อควรระวังเสียก่อน เพราะหากใช้เกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรืออาการแพ้ได้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

มะกรูด สมุนไพรที่มากไปด้วยคุณประโยชน์ นอกจากนำมาทำอาหารได้แล้ว มะกรูดยังสามารถนำมาใช้ในการบำรุงความงาม รักษาโรค และปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านได้อีกด้วย ซึ่งก็ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณกันเลยทีเดียว 

โดยต้นมะกรูดจะมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบสีเขียวแก่เป็นมัน ค่อนข้างหนาและมีกลิ่นหอม ส่วนผลจะมีสีเขียวคล้ายมะนาวแต่ผิวเปลือกนอกขรุขระ ซึ่งก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การนำส่วนต่างๆ ของมะกรูดมาใช้ประโยชน์

ส่วนต่างๆ ของต้นมะกรูดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่รากจนถึงผล โดยมีวิธีการนำมาใช้ ดังนี้

ราก 

รากมะกรูดนิยมนำมาใช้ต้มน้ำดื่มเพื่อบรรเทาอาการไข้ ลดอาการเสมหะเป็นพิษและบรรเทาอาการแน่นท้องจุกเสียด แก้พิษฝีภายใน

ใบมะกรูด 

ใบมะกรูดอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย จึงนิยมนำมารับประทานเพื่อแก้อาการช้ำใน บรรเทาอาการไอ และป้องกันการเกิดมะเร็ง รวมถึงช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งอีกด้วย

ผิวมะกรูด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผิวของผลมะกรูดที่ขรุขระสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ขับพิษ ขับลม และแก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะได้

ผลมะกรูด 

ผลของมะกรูด นิยมนำมารับประทานเพื่อแก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการปวดท้อง ฟอกโลหิต ขับระดูและช่วยขับลมในลำไส้ได้ดี แพทย์พื้นบ้านจะนิยมใช้น้ำมะกรูดมาทำเป็น “ยาดองเปรี้ยวเค็ม” เพื่อช่วยถนอมคุณภาพของยา อีกทั้งช่วยให้ยามีฤทธิ์ช่วยฟอกโลหิต ละลายเสมหะได้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด

มะกรูดมีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย โดยเฉพาะการนำมาทำอาหาร และด้วยรสชาติเปรี้ยวกลมกล่อมจึงสามารถใช้แทนมะนาวได้ดี แถมมีกลิ่นหอมสดชื่นที่จะทำให้เกิดอาการผ่อนคลายอีกด้วย โดยประโยชน์ขอมะกรูดก็มีดังนี้

1. ผ่อนคลายความเครียด

มะกรูด มีกลิ่นหอมซึ่งจะช่วยสร้างความผ่อนคลายได้ดี โดยเฉพาะน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด แต่ควรเลือกที่มีความเข้มข้นไม่เกิน 1% เพราะนั่นอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ หรือจะสูดดมจากผิวมะกรูดเลยก็ได้เหมือนกัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับใครที่มักจะมีเรื่องให้ต้องกังวลหรือเคร่งเครียดบ่อยๆ ลองสูดดมกลิ่นหอมของมะกรูดดูแล้วจะพบว่ามันช่วยได้มากจริงๆ

2. ไล่ยุง ไล่แมลง

กลิ่นของมะกรูด เป็นกลิ่นที่ยุงและแมลงส่วนใหญ่ไม่ชอบ จึงสามารถนำมาใช้เพื่อไล่ยุงและแมลงได้  จากงานวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบ มีฤทธิ์ป้องกันยุง 3 ชนิด คือ ยุงลายบ้าน ยุงก้นปล่อง และยุงรำคาญ ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันยุงกัดได้นาน 3 ชั่วโมง โดยมีตัวอย่างการนำมาใช้ ดังนี้

  • ไล่ยุง ให้นำเปลือกของมะกรูดมาตากจนแห้ง จากนั้นนำไปเผาไฟ กลิ่นของมะกรูดจะทำให้ยุงหนีไปและสามารถกำจัดลูกน้ำได้ดี
  • ไล่มอดและมดในข้าวสาร นำใบมะกรูดสดมาฉีกเป็น 2-3 ส่วนเพื่อให้มีกลิ่นออกมา จากนั้นนำไปใส่ไว้ในถังข้าวสาร
  • เมื่อปลิงกัด ให้นำมะกรูดมาถูบริเวณรอบๆ ที่ปลิงเกาะอยู่ กลิ่นของมะกรูดจะทำให้ปลิงหลุดออกไปในที่สุด

3. แก้อาการช้ำใน

ไม่ได้มีแต่ใบบัวบกเท่านั้นที่สามารถแก้อาการช้ำในได้ มะกรูดก็สามารถรักษาอาการช้ำในและฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้เหมือนกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือด มะกรูดจะสามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นภายในเวลาสั้นๆ

4. กำจัดกลิ่นเท้า

เมื่อต้องทำงานโดยใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหนังที่มีความอับตลอดวัน มักจะทำให้เท้ามีกลิ่นเหม็นจนน่าปวดหัวได้ แต่ก็แก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก 

เพียงแค่นำมะกรูดมาฝานเป็นซีกๆ จากนั้นนำมาขัดถูให้ทั่วบริเวณเท้าและซอกเท้า เน้นบริเวณที่กลิ่นแรงมากเป็นพิเศษ สังเกตได้ว่ากลิ่นเหม็นจะค่อยๆ จางลงและหายไปในที่สุด แถมยังทำให้เท้ามีความขาวสะอาดมากขึ้นอีกด้วย

5. บำรุงเส้นผม

มะกรูดสามารถนำมาใช้ในการบำรุงเส้นผมให้นุ่มสลวยและเงางามมากขึ้น รวมถึงแก้ปัญหาผมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการนำมะกรูดมาใช้เพื่อบำรุงผมก็มีหลายสูตรด้วยกัน โดยเราจะขอแนะนำ 3 สูตร ดังนี้

  • สูตรผมนุ่มลื่นสลวย

สูตรนี้จะช่วยให้เส้นผมมีความนุ่มลื่น และสามารถจัดทรงได้ง่ายกว่าเดิม แถมลดปัญหาเส้นผมพันกันได้ดีอีกด้วย 

โดยให้นำมะกรูดมาผ่าครึ่ง ต้มกับน้ำเล็กน้อย จากนั้นคั้นกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้ได้น้ำมะกรูดที่เข้มข้น นำน้ำมะกรูดที่คั้นได้มาชโลมให้ทั่วเส้นผมและหนังศีรษะ นวดเบาๆ จากนั้นล้างออกให้สะอาด ทำบ่อยๆ จะเห็นผลลัพธ์ที่โดนใจ

  • สูตรแชมพูมะกรูด

เป็นสูตรที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้แทนยาสระผม ซึ่งจะช่วยทำความสะอาดเส้นผมได้อย่างหมดจดและบำรุงผมอย่างล้ำลึก ให้ผมสวยได้ตลอดวัน สำหรับสูตรนี้จะใช้มะกรูดประมาณ 3 - 5 ผลและหญ้าปักกิ่ง 1 ถ้วย 

โดยเริ่มจากนำมะกรูดมาผ่าตามขวางเป็นสองซีก ล้างหญ้าปักกิ่งให้สะอาด จากนั้นนำมาใส่หม้อ ผสมกับน้ำซาวข้าวตั้งไฟประมาณ 20 นาที รอจนเย็นแล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง ส่วนผสมที่ได้สามารถนำมาใช้สระผมแทนแชมพูได้ทันที

  • สูตรขจัดรังแค

สูตรหมักผมนี้สำหรับคนที่เป็นรังแคโดยเฉพาะ โดยสูตรนี้จะนำมะกรูดมาเผาไฟจนมีน้ำซึมออกมาจากผิว จากนั้นนำมาผ่าครึ่งและบีบเอาน้ำมะกรูดออกมา นำน้ำมะกรูดที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะและเส้นผม หมักทิ้งไว้ประมาณ 15 - 30 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาด 

ทำบ่อยๆ จะช่วยให้รังแคลดลงได้ดีและสามารถขจัดอาการคันบนหนังศีรษะได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย เพราะมะกรูดมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนหนังศีรษะและทำความสะอาดหนังศีรษะได้เป็นอย่างดี 

นอกจากรังแคลดลงแล้ว อาการคันก็ยังลดลงตาม และช่วยลดปัญหาความมันบนหนังศีรษะรวมถึงเส้นผมลงได้อีกด้วย

6. สูตรขัดผิวขาวด้วยมะกรูด

มะกรูดเป็นสมุนไพรที่สามารถนำมาปรนนิบัติผิวพรรณ ทำให้ผิวขาวกระจ่างใสได้อย่างเป็นธรรมชาติเช่นกัน 

วิธีทำ ให้นำมะกรูด 1 ลูกมาผ่าครึ่ง จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำ มาผสมกับนมสด 1 ถ้วย ข้าวโอ๊ต 1 ถ้วย และน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี นำมาขัดลงบนผิวจนทั่ว เน้นจุดที่หยาบกร้าน เช่น ข้อศอก หัวเข่าและข้อพับ เสร็จแล้วปล่อยไว้ประมาณ 15 - 20 นาที 

หลังจากนั้น นำใยบวบชุบน้ำมาขัดผิวอีกครั้งจนทั่วอย่างเบามือ เพื่อกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพแล้วให้หลุดออกไปมากขึ้น ล้างออกให้สะอาด 

ทำเป็นประจำ สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง ควบคู่กับการทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน ก็จะเผยให้เห็นถึงผิวพรรณที่ขาวกระจ่างใส ไร้ความหมองคล้ำอีกต่อไป แถมผิวสาวยังเนียนนุ่มชุ่มชื้นจนคุณสัมผัสได้อีกด้วย

7. แก้อาการปวดท้องในเด็ก

มะกรูด สามารถนำมาใช้แก้อาการปวดท้องในเด็กได้ โดยให้นำมะกรูดมาคว้านไส้กลางออกให้หมด จากนั้นใส่มหาหิงค์ลงไป ปิดจุดแล้วนำไปเผาจนไหม้เกรียม นำมะกรูดที่เผาแล้วมาบดให้เป็นผงละลายกับน้ำผึ้งแล้วนำไปกวาดคอเด็ก จะทำให้อาการปวดท้องทุเลาลงและหายไปในที่สุด 

ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือแพทย์แผนไทย และควรระวังเรื่องความสะอาดเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

8. บรรเทาอาการปวดเมื่อย รักษาริดสีดวง รักษาแผลและบรรเทาอาการคันจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ในตำราพระโอสถพระนารายณ์ได้กล่าวถึงการนำมะกรูดมาใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา “น้ำมันมหาจักร” ที่ช่วยแก้ริดสีดวง แก้เปื่อยคันก็ได้ ทาแก้เมื่อยขบ และใส่บาดแผล ที่มีอาการปวด โดย “น้ำมันมหาจักร” มีวิธีการทำที่ง่ายสามารถทำใช้ได้เอง ดังนี้ 

  • ใช้น้ำมันงา 1 ทะนาน (600 มิลลิลิตร) มะกรูดสด 30 ลูก ปอกเอาแต่ผิว 
  • จากนั้นเอาน้ำมันงาตั้งไฟให้ร้อน เอาผิวมะกรูดใส่ลงไป ทอดจนเหลืองเกรียมดีแล้วให้ยกน้ำมันลง กรองเอากากออก ทิ้งไว้ให้เย็น 
  • เอาเครื่องยาอีก 7 ชนิด ได้แก่ เทียนตาตั๊กแตน เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนแดง เทียนดำ อย่างละ 7.5 กรัม ดีปลี 15 กรัม และการบูร 30 กรัม บดให้เป็นผงละเอียด ใส่ลงในน้ำมันที่ได้ 
  • หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน จากนั้นจึงกรองเอาแต่น้ำมันมาใช้

ข้อควรระวังในการใช้มะกรูด

การใช้น้ำมันหอมระเหยกับผิวหนังในปริมาณที่มาก  ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสง เนื่องจากน้ำมันที่ได้จากผิวมะกรูดด้วยวิธีการบีบจะมีสารกลุ่มคูมาริน ซึ่งอาจทำให้เกิดพิษบริเวณผิวหนังเมื่อสัมผัสกับแสงได้ แต่น้ำมันของผิวมะกรูดที่ได้จากการกลั่นจะไม่มีสารดังกล่าว จึงไม่ก่อให้เกิดพิษ

จะเห็นได้ว่ามะกรูดเต็มไปด้วยสรรพคุณที่มากไปด้วยประโยชน์จริงๆ และสามารถนำมาใช้ได้หลากหลายส่วนอีกด้วย นอกจากนี้การนำมะกรูดหรือใบมะกรูดมาประกอบอาหารก็ได้รับประโยชน์และสรรพคุณจากมะกรูดไม่น้อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามมะกรูดเลยเชียว

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=99)
Tangyuenyongwatana P, Gritsanapan W. Prasaplai: An essential Thai traditional formulation for primary dysmenorrhea treatment. TANG. 2014;4(2):10-11.
Murakami A, Gao G, Kim OK, Omura M, Yano M, Ito C, et al. Identification of coumarins from the fruit of Citrus hystrix DC as inhibitors of nitric oxide generation in mouse macrophage RAW 264.7 cells. J Agric food chem. 1999;47:333-339.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม

โรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อย ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากความผิดปกติในร่างกายที่ต้องระวัง

อ่านเพิ่ม