แชมพูที่ควรหลีกเลี่ยงในฤดูหนาว เพราะทำให้ผิวสูญเสียน้ำ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ทุกส่วนในร่างกายของเราต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษในช่วงที่อากาศเย็นตัวลง ไม่เว้นแม้แต่เส้นผมและหนังศีรษะ เพราะอุณหภูมิที่ลดตัวลงทำให้ร่างกายสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายและส่งผลให้ผมแห้งชี้ฟู ผมร่วง และหนังศีรษะแห้งจนเป็นขุย ซึ่งการเลือกใช้แชมพูที่เหมาะสมจะช่วยยื้อชีวิตของเส้นผมและหนังศีรษะให้ฝ่าพ้นลมหนาวไปได้อย่างปลอดภัย

แชมพูที่ควรหลีกเลี่ยงในฤดูหนาว

แชมพูที่วางขายตามท้องตลาดนั้นไม่เหมาะสำหรับการเลือกใช้ในช่วงที่อากาศเย็นเสมอไป  แม้แต่แชมพูที่มีราคาแพง เป็นที่นิยม และอ้างว่า "สกัดจากธรรมชาติ" ก็ไม่น่าไว้ใจ ซึ่งแชมพูที่คุณควรหลีกเลี่ยงในฤดูหนาวคือแชมพูที่ประกอบไปด้วยสารเคมีทั้ง 4 กลุ่มดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. Surfactants (สารลดความตึงผิว)

สารลดความตึงผิวมีคุณสมบัติในการชำระสิ่งสกปรกได้ พบมากในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายทั่วไป เช่น ในสบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และแชมพู ซึ่งก็มีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี ชนิดที่ไม่ดีที่พบมากในแชมพูคือ sodium lauryl sulfate (SLS), sodium laureth sulfate (SLES) และ cocamide DEA สารเหล่านี้จะทำให้เส้นผมและหนังศีรษะแห้งมากขึ้นหากใช้ในช่วงที่ผิวแห้งง่ายอยู่แล้ว อย่างเช่นในฤดูหนาว

2. Preservatives (วัตถุกันเสีย)

วัตถุกันเสียในแชมพูนั้นคล้ายกับวัตถุกันเสียในอาหาร นิผมใช้ในการยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ปลอดภัยนัก ชนิดที่พบมากในแชมพูคือ parabens, benzyl alchohol, methylisothiazolinone  และ methylchloroisothiazolinone

3. Fragrance (น้ำหอม)

กลิ่นหอมของแชมพูนั้นเชิญชวนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างดี แต่หากเป็นกลิ่นที่ได้มาจากน้ำหอมกลิ่นสังเคราะก็อาจทำให้หนังศีรษะแห้งหรือมีอาการระคายเคืองได้ ตามฉลากของแชมพูอาจระบุโดยตรงว่ามีส่วนประกอบของน้ำหอม คือ fragrance หรือ perfume แต่บ้างก็ระบุโดยใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า phthalates

4. Retinyl Palmitate (เรทินีล หรือ กรดวิตามินเอ)

เรทินีลพบมากในครีมกันแดดและแชมพู ผลกระทบจากการใช้สารชนิดนี้ยังคงเป็นข้อ      ถกเถียง บางการวิจัยกล่าวว่าเรทินีลนั้นทำให้ชั้นผิวของเราหนาขึ้น ช่วยลดริ้วรอย แต่ใช้เวลานานแรมปีกว่าจะเห็นผล ในขณะที่หลายการวิจัยในปัจจุบันก็กล่าวว่าเรทินีลนั้นมีผลเสียมากกว่าผลดีต่อสุขภาพผิวหนังเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน คือทำให้เกิดการสะสมของสารก่อมะเร็ง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ในที่สุด จึงควรหลักเลี่ยงแชมพูที่ระบุว่ามีส่วนประกอบของ เรทินีล (Retinyl)

สารใน 3 กลุ่มแรกทำให้ผิวสูญเสียน้ำ ซึ่งอาจปลอดภัยมากกว่าหากใช้ในช่วงที่ผิวไม่แห้ง แต่สารในกลุ่มสุดท้ายนั้นมีผลกระทบที่ร้ายแรงกว่ามากแม้จะใช้เวลานานในการออกฤทธิ์ก็ตาม จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงแชมพูที่มีส่วนประกอบของสารเหล่านี้ในฤดูหนาว แต่วิธีที่ดีที่สุดคือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่ไม่มีมีส่วนประกอบของสารเหล่านี้อยู่เลย


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chemical Allergies: Shampoo, Cleaners, Detergents, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/allergies/chemical-allergies)
Sulfate in Shampoo: What It Is, Fine Hair, Natural Hair, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/sulfate-in-shampoo)
Shampoo - an overview. ScienceDirect. (https://www.sciencedirect.com/topics/chemistry/shampoo)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีป้องกันโรคผมร่วง ทำด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง
วิธีป้องกันโรคผมร่วง ทำด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

รวมวิธีป้องกันโรคผมร่วงที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

อ่านเพิ่ม
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม

โรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อย ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากความผิดปกติในร่างกายที่ต้องระวัง

อ่านเพิ่ม