โรคที่เกิดจากเหาและโลน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
โรคที่เกิดจากเหาและโลน

เหา เป็นแมลงดูดเลือดที่ไม่มีปีก และมี 6 ขา ถ้าพบบริเวณศีรษะ และลำตัวเรียกว่า เหา แต่ถ้าพบบริเวณหัวเหน่า เรียกว่า โลน ลักษณะของตัวเหากับโลนจะต่างกันเล็กน้อย คือ โลนตัวจะสั้นและกว้าง, ปลายขาใหญ่คล้ายปู ส่วนเหาตัวโตกว่า พวกนี้จะอาศัยอยู่โดยการดูดเลือดกินจากผิวหนัง และปล่อยน้ำลาย ทำให้เกิดผื่นคัน อักเสบที่ผิวหนัง

a3.gif เหามักอยู่บนหนังศีรษะหรือเส้นผม หรือขน เหาบนศีรษะติดต่อกันง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน อาจคันมาก และมีเชื้อโรคเข้าแทรกซ้อนได้ ลักษณะอาจเป็นผื่นคันมีหนองตกสะเก็ดที่หนังศีรษะ อาจพบตัว หรือไข่สีขาว ๆ ติดอยู่บนเส้นผมให้เห็นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

a3.gif เหาตามตัวชอบอาศัยอยู่บริเวณตะเข็บเสื้อผ้า, จะดูดเลือด ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนตัวโลน มักติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะเป็นที่หัวเหน่า แต่อาจลุกลามไปที่ขา, ลำตัว, รักแร้ก็ได้

ข้อแนะนำ การรักษาอาจใช้ Malathion lotion 0.5% หรือ DDT นวดบริเวณศีรษะ หรือหัวเหน่าทิ้งไว้ 8-12 ชั่วโมงแล้วสระออกด้วยน้ำและแชมพู แล้วใช้หวีเสนียดช่วยสางเอาตัวเหาและไข่ออก อาจทำซ้ำหลัง 7 วันผ่านไปแล้ว


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Head lice: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/164492)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีป้องกันโรคผมร่วง ทำด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง
วิธีป้องกันโรคผมร่วง ทำด้วยตนเองได้อย่างไรบ้าง

รวมวิธีป้องกันโรคผมร่วงที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

อ่านเพิ่ม
รังแคทำให้ผมร่วงได้จริงหรือ?
รังแคทำให้ผมร่วงได้จริงหรือ?

รังแคไม่ได้ทำให้ผมร่วงโดยตรง แต่อาการที่มักเกิดร่วมกับรังแคต่างหากที่อาจส่งผลให้ผมร่วงได้

อ่านเพิ่ม