March 08, 2017 13:49
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
โรคปวดหลังเป็นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากแต่กำเนิด เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบ กระดูกสันหลังคด เป็นต้น สำหรับอาการปวดหลังที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงอันได้แก่ ทำงานยกของหนักมากเกินไป นั่งผิดท่า น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือการกระแทกบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จากการเล่นกีฬา
ส่วนโรคปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อส่วนหลังอันได้แก่
1.หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc) เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาจากแนวกระดูกสันหลัง ทำให้เบียดทับกับเส้นประสาท
2.โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณเอว (Lumbar spinal stenosis) เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณเอว โพรงของเส้นประสาทจึงตีบแคบลง และกดทับเส้นประสาท
3.กระดูกสันหลังเอวเคลื่อน (Lumbar spondylolisthesis) คือโรคที่มีการเลื่อนตัวของข้อกระดูกสันหลังระดับเอวไปด้านหน้า หรืออาจเคลื่อนไปข้างหลังแต่พบได้น้อยกว่า
สามโรคนี้จะเกิดอาการปวดที่หลัง และถ้าเป็นมากอาจมีอาการปวดร้าวลงขา ร่วมกับอาการชา ขาอ่อนแรง วิธีวินิจฉัยคือ อาศัยจากการตรวจร่างกายเบื้องต้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และจากภาพเอ็กซเรย์ ได้แก่ MRI หรือ CT myelogram
สำหรับโรคอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อส่วนหลังอัน แต่ปวดร้าวมาที่หลังอันได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่ โรคจากช่องท้อง โรคไต หรือแม้กระทั่งมะเร็งที่มีการกระจายมายังกระดูกสันหลัง แต่โรคเหล่านี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วยนอกจากอาการปวดหลังเพียงอย่างเดียว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
อาการปวดหลัง เป็นอาการที่นำมาพบแพทย์มากที่สุด อาการหนึ่ง
คนทั่วไป มักนึกถึงโรคที่ร้ายแรง เช่นโรคไต แต่จากอุบัติการณ์ การเกิดแล้ว สาเหตุที่พบบ่อยกว่าคือจาก กล้ามเนื้อเส้นเอ็น
มาทำความเข้าใจ รู้จักโรคปวดหลังกัน
ปวดหลัง เป็นปญหาที่พบได้บอยในทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะแตในผูสูงอายุเทานั้น อาการปวดหลังเป็นภาวะที่สรางความเจ็บปวด และกระทบตอการ ใชชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
สาเหตุของการปวดหลัง
-ทาทางอิริยาบถ การเคลื่อนไหวรางกาย และการใชงานหลังที่ไมถูกตองเป็นเวลานาน เปนสาเหตุการปวดหลังที่พบไดบอยในคนวัยทํางานที่ตองทํางานกับคอมพิวเตอร หรือทํางานนั่งโตะเป็นเวลานาน ๆ
-การบาดเจ็บบริเวณหลัง จากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา เชน รักบี้ฟุตบอล
-ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เชน โพรงกระดูกสันหลังตีบแต่กำเนิด กระดูกสันหลังคด
-โรคของกระดูกสันหลัง
--การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง
--หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเสนประสาทจึงมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมดวย
--โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ มักมีอาการชา เมื่อยขา เวลาเดินระยะทางไกล จนตองหยุดพักเปนระยะ
--กระดูกสันหลังเคลื่อน ทําใหเกิดอาการปวดหลังเมื่อมีการขยับตัว
-โรคอื่น ๆ ที่ทําใหเกิดอาการปวดราวมาที่หลังได เชน นิ่วในกรวยไตหรือหลอดไต โรคเกี่ยวกับรังไข และมดลูก มะเร็งที่มีการกระจายมายังกระดูกสันหลัง ซึ่งจะมีอาการปวดมากตลอดเวลา แม้หลับไปแลวก็ตองตื่นด้วยอาการปวด
การรักษาอาการปวดหลัง มี 2 วิธีหลัก
1.การรักษาโดยไมตองผาตัด
แบงเปน
-การรักษาแบบประคับประคอง ไดแก การรับประทานยา การทํากายภาพบําบัด การบริหารกลามเนื้อหลัง และหนาทองใหแข็งแรง การลดน้ําหนัก และการนอนพัก มักเปนวิธีที่ใชเริ่มตนในการรักษา ยกเวนกรณีที่ผูปวยมีขอบงชี้ชัดเจนวาตองไดรับการรักษาโดยวิธีอื่น
-การฉีดยาสเตียรอยดเขาโพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งจะชวยลดความปวดจากการอักเสบและชวยในการวินิจฉัยตําแหนงที่เป็นตนเหต ของอาการปวดได การรักษาวิธีนี้ใชในกรณีที่ผูปวยไดรับการรักษาแบบประคับประคองเต็มที่แลว แตอาการไมดีขึ้น หรือมีอาการปวดรุนแรง จากการที่เสนประสาทโดนรบกวน
2.การรักษาโดยการผาตัด
แพทยจะใชวิธีการรักษานี้ เมื่อผูปวยมีขอบงชี้ที่ชัดเจน เชน ควบคุมการขับถายไมไดขาออนแรง เดินไมไดหรือเมื่อทําการรักษาโดยวิธีอื่นแลวไมไดผล ซึ่งวิธีการผาตัดมีหลายวิธีขึ้นกับภาวะของผูปวย หรือขอบงชี้ในการผาตัด
วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาและปองกันอาการปวดหลัง
***การบริหารรางกายเฉพาะสวน
-ทาที่ 1 ทายืดกลามเนื้อหลังและตนขาดานหลัง
1.ยืนตรง ปลายเทาขนานกับหัวไหล
2.กมตัวไปดานหนา เขาตึง เหยียดแขนลงแตะปลายเทา ยืดคางไว10 วินาทีทําซ้ํา 5-10 ครั้ง
-ทาที่ 2 ทายืดกล้ามเนื้อหลัง
1.นั่งหลังตรง ปลายเท้าขนานกับหัวไหล
2.กมตัวไปด้านหนา เหยียดแขนลงแตะปลายเทา ยืดค้างไว 10วินาทีทําซ้ำ 5-10 ครั้ง
-ทาที่ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อต้นขา
1 นั่งหลังตรง ปลายเท้าขนานกับหัวไหล่
2 ยกขาวางบนเท้าของขาอีกข้าง ก้มตัวไปด้านหน้า เหยียดแขนลงจนรู้สึกหลังตึง ยืดค้างไว้ 10 วินาที ทำสลับขาอีกข้าง
-ท่าที่ 4 ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง สะโพก และหลัง
1 นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง
2 หายใจเข้า และออก ช้า ๆ พร้อมกับแขม่วหน้าท้อง กดหลังให้ติดแนบกับพื้น เกร็งไว้ แล้วนับ 1-10 แล้วพัก ทำซ้ำ 10 ครั้ง
***ฝึกฝนการใช้ลักษณะท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดหลัง และบรรเทาอาการปวดหลัง เช่น การยืนให้ยืดหลังให้ตรง การยกของใช้การย่อตัวลง เข่าข้างหนึ่งยันพื้น หลังตรงตลอดเวลา อีกทั้ง ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน เพราะการมีหน้าท้องยื่น ทำให้หลังต้องแอ่นมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
อาการปวดหลัง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและเปนอาการที่พบได้บ่อย สรางความลําบากและความทรมานในการดารงชีวิตประจําว้น แตอาการปวดหลังสามารถปองกันไมใหเกิดขึ้นได ดังนั้นเราจึง
ควรตระหนัักในการปองกันตนเองเพื่อไมให้เกิดอาการปวดหลังหรือหากเกิดอาการปวดหลังขึ้นแล้วก็ควรปฏิบัตติวให้ถูกตองดังที่ไดแนะนําเพอชลอความรุนแรง และบรรเทาอาการปวดหลังดังกลาว
Reference: คณะแพทยศาสตร ศิริราชาชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/327_49_1.pdf
http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/326_49_1.pdf
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=817
http://www.thaihealth.or.th/Content/28005-%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%20%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8.html
https://www.bumrungrad.com/th/spine-institute-surgery-bangkok-thailand-best-jci/conditions/back-pain
https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/low-back-pain
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เกี่ยวกับโรคปวดหลัง ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)