January 23, 2017 13:06
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองเสื่อมถอยลง โดยที่ความเสื่อมถอยจะดำเนินอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งอาจใช้เวลานับ 10 ปี กว่าที่ความผิดปกติจะปรากฏชัดเจนจนสังเกตได้
การรักษาโรคสมองเสื่อม มี 2 รูปแบบ คือ การรักษาด้วยการใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยา
เพราะภาวะสมองเสื่อมมีทั้งที่เกิดจากสาเหตุที่รักษาได้และรักษาไม่ได้ หากแพทย์วิเคราะห์แล้วว่าเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ ก็จะวินิจฉัยหาโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและจะเริ่มการรักษาตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น แต่ถ้าสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองเอง แพทย์ก็จะพิจารณารักษาอาการตามระดับความรุนแรง ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่มาทำลายแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ ยาดังกล่าวจะช่วยเพิ่มระดับของแอซิติลโคลีน เป็นการรักษาตามอาการ โดยการปรับระดับของสารสื่อประสาทให้มีมากขึ้น แต่ต้องย้ำว่าการรักษาด้วยยานี้ไม่ได้ทำให้โรคหายขาด เพียงแต่ช่วยประคับประคองและยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับผลกระทบน้อยลง
ส่วนการรักษาที่ไม่ใช้ยานั้น แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ การบริหารสมอง และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องและใกล้ชิด
การบริหารสมองแพทย์จะหากิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดหรือเกมส์ให้ผู้ป่วยเล่น เช่น ให้เล่นเกมส์ Sudoku อ่านหนังสือ ควบคู่ไปกับการเน้นความสำคัญในเรื่องของการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการแนะนำการดูแลที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การจัดสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสม และความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมไปถึงให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย เพื่อรักษาสภาพทางจิตใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยผู้ดูแลและครอบครัว
วิธีป้องกันภาวะสมองเสื่อม
ควรเริ่มป้องกันตั้งแต่อายุ 30 ปีต้นๆ (ภาวะสมองเสื่อมมักเริ่มช่วงอายุ 30-40ปี และการดำเนินโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ จะเห็นอาการชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ) แดเนียล อาเมน นักจิตวิทยาสหรัฐ ได้เสนอวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมไว้ดังนี้
1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน
2. นอน 7- 8 ชั่วโมง/วัน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. ทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ งดอาหารที่มีแป้งและน้ำตาล หรืออาหารขยะ
5. งดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมอง เช่น สุรา บุหรี่ สารเสพติดทุกชนิด
6. ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือวิตามินต่างๆให้เพียงพอ (ผักผลไม้สีเข้มๆ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะ)
7. ฝึกบันทึกเรื่องราวดีๆของตัวเองให้ได้อย่างน้อยวันละ 5 เรื่อง
8. ฝึกคิดบริหารสมองเป็นประจำ เช่น คิดเลขในใจ เล่นเกมปริศนา หมากรุก การเล่นดนตรี เป็นต้น
9. ต้องรู้จักผ่อนคลายความเครียด ด้วยกิจกรรมที่ชอบหรือวิธีที่ถนัด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคสมองเสื่อมมีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)