April 13, 2017 11:33
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ในคนสูงอายุ ส่วนมากตั้งแต่ 65ปีขึ้นไปค่ะ วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อมก็คือ ฝึกสมอง พยายามทำกิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสม่ำเสมอ เช่น อ่านหนังสือวาดรูป คิดเลข เล่นเกมตอบปัญหา การดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำซากจำเจเช่น ลองเปลี่ยนเส้นทางเดินทางที่เคยใช้ประจำลองใช้ประสาทสัมผัสอื่นที่ไม่ค่อยได้ใช้ เช่น ฝึกเขียนหนังสือหรือแปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ถือเป็นการออกกำลังสมองอย่างหนึ่ง และก็ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเพรยงพอ ไม่เครียดค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
กลุ่มอาการสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) จะจำแนกตามตำแหน่งของสมองที่เกิดความผิดปกติ อย่างเช่นสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์นั้นจะเป็นความเสื่อมถอยของสมองส่วนฮิปโปแคมปัสซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลต่าง ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลายลง อาการที่สำคัญของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จึงเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับความจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำระยะสั้นซึ่งเป็นอาการที่นำมาก่อนอาการอื่น ๆ
สาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม จำนวนผู้ป่วยที่พบว่าเป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเพิ่มมากขึ้นทุกปี ๆ โดยผู้ป่วยในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยสูงถึงร้อยละ 5 - 8 และยิ่งทวีสูงขึ้น เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป พบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50
แพทย์ก็จะพิจารณารูปแบบการรักษาให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ คือ การรักษาด้วยการใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยา
เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมนั้น มีทั้งที่เกิดจากสาเหตุที่รักษาได้และรักษาไม่ได้ หากวิเคราะห์แล้วว่าเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ ก็จะวินิจฉัยหาโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมและจะเริ่มการรักษาตามโรคที่ผู้ป่วยเป็น แต่ถ้าสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองเอง (Neurodegenerative) แพทย์ก็จะพิจารณารักษาอาการตามระดับความรุนแรง “ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่มาทำลายแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ ยาดังกล่าวจะช่วยเพิ่มระดับของแอซิติลโคลีน เป็นการรักษาตามอาการ โดยการปรับระดับของสารสื่อประสาทให้มีมากขึ้น แต่ต้องย้ำว่าการรักษาด้วยยานี้ไม่ได้ทำให้โรคหายขาด เพียงแต่ช่วยประคับประคองและยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้รับผลกระทบน้อยลง
ส่วนการรักษาที่ไม่ใช้ยานั้น แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน ได้แก่ การบริหารสมอง และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องและใกล้ชิด “การบริหารสมองแพทย์จะหากิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดหรือเกมส์ให้ผู้ป่วยเล่น เช่น ให้เล่นเกมส์ Sudoku อ่านหนังสือ ควบคู่ไปกับการเน้นความสำคัญในเรื่องของการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการแนะนำการดูแลที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดำเนินของโรค การจัดสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสม และความปลอดภัยของผู้ป่วย รวมไปถึงให้การดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย เพื่อรักษาสภาพทางจิตใจและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยผู้ดูแล และครอบครัว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อาการสมองเสื่อมเกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนเยอะที่สุดครับ ควรดูแลตัวเองยังไงให้ปลอดภัยจากโรคสมองเสื่อมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)