อาการขี้หลงขี้ลืม หรือปัญหาความจำอาจไม่ได้มาจากโรคอัลไซเมอร์เสมอไป หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีปัญหาดังกล่าว ควรเข้าตรวจกับแพทย์ซึ่งสามารถใช้แบบตรวจพิเศษ และสามารถส่งต่อคุณไปรับการตรวจเพิ่มเติมหรือรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้หากจำเป็น
ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณหากคุณกังวลเกี่ยวกับปัญหาความจำของคุณหรือคิดว่าคุณอาจเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia)
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หากคุณกังวลเกี่ยวกับคนใกล้ตัวว่าอาจจะเป็นโรคนี้ คุณควรกระตุ้น และชักชวนให้พวกเขาทำการนัดหมายและไปส่งพบแพทย์พร้อมกัน จะเป็นประโยชน์มากขึ้น และอุ่นใจขึ้นกับผู้เข้าตรวจถ้ามีเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวไปด้วย
การวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีช่วยให้คุณมีโอกาสที่ดีที่สุดในการปรับเปลี่ยน และวางแผนวิถีชีวิตสำหรับอนาคต ตลอดจนการเข้ารับการรักษาและการสนับสนุนต่าง ๆ ที่อาจช่วยได้
การเข้าพบแพทย์
ปัญหาความจำ หรือการขี้หลงขี้ลืมไม่ได้เกิดจากภาวะสมองเสื่อมเท่านั้นซึ่งอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ ดังต่อไปนี้:
- ภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล
- ความเครียด
- ยาบางชนิด
- การติดแอลกอฮอล์หรือใช้ยาเสพติด
- ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปัญหาเรื่องฮอร์โมนไม่สมดุล หรือภาวะขาดสารอาหาร
แพทย์ของคุณสามารถทำการตรวจง่าย ๆ เพื่อหาถึงสาเหตุที่อาจเกี่ยวข้อง จากนั้น พวกเขาสามารถแนะนำ ส่งต่อคุณให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินผลได้หากจำเป็น
แพทย์ของคุณจะซักถามถึงความกังวลของคุณและสิ่งที่คุณหรือครอบครัวของคุณสังเกตเห็น นอกจากนี้ จะทำการตรวจสอบด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคุณ และทำการตรวจร่างกายร่วมด้วย แพทย์ยังอาจส่งตรวจเลือดบางอย่าง และซักถามเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้อยู่เพื่อหาสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ของอาการของคุณ
คุณมักจะถูกถามด้วยคำถามบางคำถาม และตรวจสอบทดลองเรื่องความจำ ความคิด และการเขียนด้วยปากกาและกระดาษ เพื่อตรวจสอบว่าส่วนต่างๆของสมองทำงานได้ดีเช่นเดิมหรือไม่ วิธีเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ของคุณสามารถตัดสินใจได้ว่า คุณจำเป็นต้องถูกส่งไปตรวจต่อกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือไม่
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป อาจส่งต่อคุณไปยังศูนย์ประเมินความจำหรือ คลินิกความจำซึ่งจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันการวินิจฉัยของคุณ คลินิกความจำ (Memory clinic) จะมีบุคลากรมืออาชีพจากหลากหลายสาขาวิชาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัย ดูแล และให้คำปรึกษากับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมรวมถึงครอบครัวของพวกเขา
บุคลากรภายในคลินิกความจำอาจรวมถึงสิ่งต่อไปนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ท้องถิ่นของคุณ:
- พยาบาล - โดยปกติจะเป็นพยาบาลเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางมาแล้ว ซึ่งชำนาญในการวินิจฉัยและดูแลคนที่มีภาวะสมองเสื่อม
- นักจิตวิทยา - บุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เชี่ยวชาญในการประเมินและรักษาภาวะผิดปกติของสุขภาพจิตต่าง ๆ
- จิตแพทย์ - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ารับการฝึกอบรมในการรักษาภาวะสุขภาพจิตต่าง ๆ
- แพทย์ประสาทวิทยา - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาภาวะต่าง ๆ ที่มีผลต่อระบบประสาท (เช่น สมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง)
- แพทย์เฉพาะทางผู้สูงอายุ - แพทย์ที่เข้ารับการฝึกอบรม เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ
- นักสังคมสงเคราะห์ - พนักงานที่ได้รับการฝึกอบรม สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการเข้าถึงบริการทางสังคมภายในพื้นที่ได้
- นักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist) - บุคลากรซึ่งมีทักษะเฉพาะทางในการประเมินภาวะและสนับสนุนผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมและครอบครัวของพวกเขา โดยการช่วยให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และปรับตัวให้เข้ากับผู้ป่วย
ไม่มีการทดสอบใดที่เรียบง่าย และน่าเชื่อถือได้มากที่สุดสำหรับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ แต่บุคลากรดังกล่าวจะฟังความกังวลของทั้งคุณและครอบครัวเกี่ยวกับปัญหาความจำหรือความคิดของคุณ พวกเขาจะประเมินทักษะของคุณ และทำการตรวจหรือทดสอบเพิ่มเติมเพื่อหาตัดสาเหตุต่าง ๆ ที่อาจเป็นไปได้ออกไปให้ได้วินิจฉัยที่แม่นยำ
การประเมินความสามารถของสมอง
แพทย์หรือบุคลากรผู้เชี่ยวชาญมักจะทำการประเมินความสามารถทางสมองของคุณโดยใช้ชุดคำถามพิเศษชุดหนึ่ง
การทดสอบหนึ่งที่มักใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อ (Mini-Mental State Examination : MMSE) การตรวจนี้จะขอให้คุณดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น จดจำรายการสิ่งของรายการสั้น ๆ ให้ได้ถูกต้อง และระบุวันเดือนปีปัจจุบันให้ได้ คลินิกความจำในโรงพยาบาลแต่ละแห่งนั้นอาจใช้การทดสอบอื่น ๆ แตกต่างกันไป ซึ่งอาจจะซับซ้อน หรือยาวกว่านี้ก็เป็นได้
แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อนี้ไม่ใช้ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์โดยตรง แต่ก็มีประโยชน์ในการประเมินส่วนการทำงานของสมองที่บกพร่องซึ่งอาจเป็นภาวะที่แฝงอยู่ในบางคน และจะช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจในการวินิจฉัย รักษา รวมถึงตัดสินใจว่าต้องมีการตรวจเพิ่มเติมใดอีกหรือไม่
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การทดสอบทางสมอง
เพื่อหาสาเหตุที่เป็นไปได้อื่น ๆ ของอาการขี้หลงขี้ลืม หรือปัญหาเรื่องความจำของคุณ และมองหาอาการแสดงที่อาจเกิดขึ้นจากความเสียหายด้วยโรคอัลไซเมอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณอาจแนะนำให้มีการสแกนสมอง ซึ่งอาจจะเป็น:
- การตรวจสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) - จะมีถ่ายภาพรังสีเอกซ์หลายครั้งในมุมที่แตกต่างกันเล็กน้อย และภาพจะถูกนำมารวมกันและสร้างเป็นภาพรวมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
- การตรวจสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) – หลักการสร้างภาพจะใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความถี่สูงเพื่อผลิตภาพที่มีรายละเอียดต่าง ๆ ตามโครงสร้างสมองของคุณ
ศูนย์เชี่ยวชาญความจำบางแห่งจะมีเครื่องมือซึ่งสามารถสแกนจำเพาะเจาะจงถึงลักษณะการทำงานของสมอง และการสะสมของโปรตีนโดยเฉพาะได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเครื่องมือเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในการทดลองและใช้เฉพาะเมื่อการวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ นั้นไม่ชัดเจน
หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์
อาจต้องมาตามนัดหมายหลายครั้ง และทำการตรวจทดสอบในช่วงหลายเดือนหรือหลายปีก่อนที่จะสามารถยืนยันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยแต่ละคนได้
ในบางคน การวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์เป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างมาก เพราะปกติแล้ว คนที่มีภาวะสมองเสื่อมมักไม่สังเกตเห็นถึงปัญหาความจำที่ค่อย ๆ เป็นรุนแรงมากขึ้นของพวกเขา
แต่สำหรับบางคน การวินิจฉัยโรคอาจเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการช่วยให้พวกเขาและครอบครัวทำความเข้าใจถึงอาการและสาเหตุที่พวกเขากังวลมาเป็นเวลานาน
หากคุณเพิ่งได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นภาวะสมองเสื่อม คุณอาจจะรู้สึกตกใจ มึนงง หวาดกลัว และอาจจะรับข้อมูลต่าง ๆ ที่แพทย์กล่าวไม่ได้ จึงอาจดีกว่าหากขอให้แพทย์พูดถึงการวินิจฉัยอีกครั้งเพื่อช่วยให้สามารถทำความเข้าใจเรื่องดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้นเมื่อได้สติ นอกจากนี้ อาจขอให้แพทย์ช่วยอธิบายกับครอบครัวและเพื่อนฝูงอีกครั้งหนึ่ง
ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเรื่องการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมที่ได้รับทั้งคุณและครอบครัว บางคนอาจเริ่มคิดได้ทันทีเลยว่าการหาข้อมูลและเริ่มวางแผนสำหรับอนาคตอาจมีประโยชน์ แต่คนอื่นอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้นในการทำใจ และประมวลผลข้อมูล
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาวะสมองเสื่อมเป็นความเจ็บป่วยที่ค่อยเป็นค่อยไป ช่วงเวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนหลังจากได้รับการวินิจฉัยมักเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการคิดและพิจารณาเรื่องทางกฎหมาย เรื่องวางแผนการเงิน และเรื่องประกันหรือการดูแลสุขภาพในอนาคต