April 11, 2017 20:41
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
หากมีอาการนอนกรนต้องสงสัยภาวะหยุดหายใจในเด็กครับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก(Pediatric Obstructive Sleep Apnea;OSA)อาจทำให้มีความผิดปรกติทางพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา ทำให้เติบโตช้า มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซุกซนมากผิดปกติ(Hyperactive)บางรายอาจปัสสาวะรดที่นอน และมีผลการเรียนแย่ลง หรือมีปัญหาสังคมตามมาได้ นอกจากนี้ถ้าเป็นรุนแรงมากอาจเป็นสาเหตุและความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้ด้วย
อาการที่บ่งบอกว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือมีอาการนอนกรนดังเป็นประจำ หรือนอนกระสับกระส่าย หายใจลำบาก คัดจมูกเป็นประจำต้องอ้าปากหายใจบ่อย ๆ ปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ หรือมีพฤติกรรมซุกซนก้าวร้าว ผลการเรียนแย่ลง เติบโตช้ากว่าวัย
สาเหตุของอาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่พบบ่อยและสำคัญที่สุดในเด็กคือ การมีต่อมทอนซิล และหรือต่อมอะดีนอยด์ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของจมูก(มองไม่เห็นทางปาก)นอกจากนี้ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ หรือภาวะอ้วนก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น โครงหน้าผิดปกติ เช่น หน้าแคบ คางสั้นหรือเล็ก ตลอดจนโรคทางพันธุกรรม หรือโรคทางสมองและกล้ามเนื้อที่มีผลต่อการหายใจ เป็นต้น
แนวทางการรักษา อาการนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก
1.การดูแลปฏิบัติเบื้องต้น ได้แก่ การปรับสุขอนามัยการนอน เช่น ใช้เวลานอนพักผ่อนให้พอเพียง การเข้านอนและตื่นนอนอย่างตรงเวลาสม่ำเสมอ ที่สำคัญในรายที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ต้องลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2.การรักษาด้วยยา เช่น การให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือยารักษาอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้อักเสบเพื่อรักษาต่อมทอนซิล ซึ่งเลือกใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละราย
3.การรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันวิธีที่เป็นมาตรฐานและได้ผลดีมากที่สุด คือการผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์(Adenotonsillectomy)เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง แต่มีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่ำ และมีผลต่อภูมิต้านทานหรือการติดเชื้อภายหลังน้อยมาก อย่างไรก็ตามท่านต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน หู คอ จมูก ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดผู้ป่วยเด็ก
4.การรักษาอื่น ๆ เช่น การรักษาโรคร่วม การใช้เครื่อง CPAP ตลอดจนการจัดฟัน ซึ่งอาจเป็นทางเลือกกรณีรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล ซึ่งต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
วิธีการแก้นอนกรนมีดังนี้ค่ะ
-ใช้หมอนแก้นอนกรนหนุนให้ศีรษะสูงขึ้น
-เปลี่ยนมาใช้วิธีนอนตะแคง
-รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายในช่วงเย็น
-งดการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จะมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการผ่อนคลายลงไปกว่าเดิม
-ลด ความอ้วน ออกกำลังกาย
แต่ถ้าหากว่ารักษาด้วยตัวเองแล้วไม่ดีขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาซึ่งแนวทางการแก้นอนกรน โดยใช้อุปกรณ์แก้นอนกรน ทำได้ดังนี้
-ใส่ฟันยาง เหมาะกับผู้ที่มีอาการในระดับปานกลาง โดยฟันยางจะช่วยไปช่วยเปิดทางเดินหายใจส่วนต้นให้กว้างมากขึ้น
-การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ว่าจะทำการแก้ไขอวัยวะในส่วนใด
-ใช้เครื่องเป่าทางเดินหายใจ หรือที่เรียกว่าเครื่อง cpap mask เป็นการแก้นอนกรนที่ให้ผลการรักษาที่ดี โดยเครื่องนี้จะไปทำการขยายทางเดินหายใจไม่ให้เกิดการตีบตันในขณะหลับค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
การนอนกรอนในเด็กผู้หญิง อายุ5-6 ขวบ ต้องรักษาอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)