June 05, 2018 12:53
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
ตอนนี้คนไข้ได้รับการตรวจเเละวินิจฉัยว่าเป็นไมเกรนหรือยังนะครับ
หรือตอนนี้มีอาการปวดหัวเรื้อรังเเต่ไม่เคยไปตรวจ
ถ้าไม่เคยไปตรวจ ควรไปตรวจครับ ยิ่งถ้าเป็นบ่อยๆ เพราะต้องเเยกโรคหลายๆโรคที่ทำให้ปวดหัวได้(Secondary headache) เช่น เนื้องอกในสมองซึ่งมักมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้นครับ
พวกนี้ถ้าคุณหมอตรวจเเล้วสงสัย จะมีเเนวทางการรักษาของเเต่ละโรคครับ
แต่หากคุณหมอตรวจเเล้วไม่เจอความผิดปกติใดๆ จะคิดถึงกลุ่ม ปวดศรีษะไมเกรน ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์ เป็นต้นครับ ( กลุ่มprimary headache)
อาการของไมเกรน มักมีปวดศรีษะข้างเดียว ปวดเเบบตุบๆ มักมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาการปวดเป็นนานบางครั้งหลาย ชม.
อาจมีอาการเตือนเช่น เห็นเเสงวูบวาบ ได้ยินเสียงผิดปกติ
การรักษาไมเกรน ขึ้นกับความรุนเเรงของอาการปวด เเละมีคลื่นไส้อาเจียนด้วยหรือไม่
ยารักษาจะมี ยารักษาอาการ และยาป้องกันครับ
ยารักษาอาการ เช่น ยาเเก้ปวดกลุ่ม NSAID Triptans Ergotamine ร่วมกับยาเเก้อาเจียน เช่น Metoclopramide
ส่วนยาป้องกัน คุณหมอมักให้ในรายที่เป็นบ่อยๆ เช่น ยากลุ่ม Beta blocker , TCA , CCB เป็นต้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ ไมเกรน สามารถ รักษาได้โดยการบรรเทาอาการและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นครับ
สาเหตุของไมเกรน ไมเกรนเป็นผลจากความผิดปกติชั่วคราวในการทำงานของสมองที่มีผลกระทบต่อเส้นประสาท สารเคมี และหลอดเลือดในสมอง แต่สาเหตุที่แท้จริงของไมเกรนนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยดังนี้
1.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
2.ตัวกระตุ้นที่เกี่ยวกับอารมณ์ เช่น ความเครียด ภาวะตึงเครียด ความวิตกกังวล อาการตกใจ ภาวะซึมเศร้า ความตื่นเต้น
3.ตัวกระตุ้นทางกายภาพ เช่น ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานเป็นกะ ไม่เป็นเวลาปกติ มีความตึงที่คอหรือไหล่ อาการอ่อนเพลียจากการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน (Jet Lag) ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย (Hypoglycaemia) ออกกำลังกายที่ต้องใช้พละกำลังมาก
4.ตัวกระตุ้นเกี่ยวกับอาหาร เช่น รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ภาวะขาดน้ำ ดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีสารไทรามีน (Tyramine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบธรรมชาติของอาหาร เช่น เนยแข็ง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา หรือกาแฟ
อาหารบางประเภท เช่น ช็อกโกแลต ผลไม้ตระกูลส้ม และชีส
5.ตัวกระตุ้นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่างจ้า แสงจากจอโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ การสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่ โดยเฉพาะในห้องแบบปิด เสียงดัง สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความชื้น หรืออุณหภูมิที่เย็นจัด ได้รับกลิ่นที่รุนแรง บรรยากาศที่อบอ้าว
ซึ่งปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการในแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน จึงต้องสังเกตุตนเองว่าเจอสิ่งกระตุ้นอะไรแล้วมีอาการปวดศีรษะ และควรหลีกเลี่ยงครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อาการไมเกรนเรื้อรังสามารถรักษาให้หายขาดหรือให้อาการดีขึ้นได้ไหมครับ อยากทราบวิธีการรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)