June 12, 2019 19:53
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อาการปวดที่บริเวณท้ายทอบและมีการปวดร้าวไปยังบริเวณใกล้เคียงนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ สาเหตุมักเกิดจากการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน การขยับหันผิดท่า หรือการนอนผิดท่า จะทำให้มีอาการปวดเกร็งที่บริเวณคอ มีจุดกดเจ็บชัดเจน อาการปวดมักสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวคอ
- หมอนรองกระดูกหรือกระดูกคอเสื่อม จะทำให้มีอาการปวดที่บริเวณคอในลักษณะปวดเสียวร้าวลงไปที่แขนข้างใดข้างหนึ่ง ร่วมกับอาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงที่แขน
- การติดเชื้อของผิวหนังบริเวณคอ จะทำให้คอมีลักษณะปวด บวม แดง ร้อน มีไข้ รู้สึกตึงที่คอ ขยับหันคอได้ลำบาก
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
พบเเพท์รักษาอย่างไรบ้างเเละต้องเเอดมินโรงบาลไหม
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
ถ้าหากอาการเกิดจากการปวดกล้ามเนื้อหรือจากความผิดปกติของกหมอนรองกระดูกและกระดูกคอ การรักษาในเบื้องต้นก็จะเป็นการรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น มักไม่ต้องนอนโรงพยาบาลครับ
แต่ถ้าหากสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อก็จะต้องมีการให้ยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย ซึ่งก็ต้องประเมินความรุนแรงเป็นรายๆไปว่าจะให้ยาชนิดใด ถ้าหากมีการติดเชื้อที่รุนแรงก็จะต้องให้ยาฆ่าเชื้อชนิดฉีดและต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ปวดท้ายทอยถึงกกหูข้างช้ายเเละลงมาสะบังหลังเเละปวดบวม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)