March 29, 2017 19:33
ตอบโดย
สุเทพ สุขนพกิจ
ต้องควบคุมอาหารให้ถูกสัดส่วนและถูกเวลา โดยการรับประทานอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานก็จะเหมือนกับอาหารของคุณแม่ตั้งครรภ์ปกติทั่วไปครับ คือ รับประทานอาหาร 3 มื้อ และอาจมีอาหารว่างอีก 2 มื้อ แต่ที่สำคัญก็คือปริมาณของอาหารในแต่ละวันจะต้องควบคุมให้ได้อย่างเหมาะสม โดยการลดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (แป้งหรือน้ำตาล) และผักให้หลากหลายมากขึ้น ส่วนผลไม้ให้เลือกรับประทานผลไม้สดแทนน้ำผลไม้ (เพื่อให้ร่างกายได้ใยอาหาร)
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายมีความสำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน เพราะจะช่วยลดภาวะดื้อต่อยาอินซูลิน ทำให้ความต้องการยาอินซูลินมีน้อยลง
ต้องมารับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด ในระหว่างการฝากครรภ์ อาจนัดมาตรวจครรภ์บ่อยกว่าปกติเพื่อประเมินภาวะสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
แนวทางการดูแลรักษาสตรีที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. การควบคุมอาหาร (Diet control)
ในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการดูแลด้วยการควบคุมอาหารทุกราย หากมีโอกาสผู้ป่วยควรได้รับการแนะนำการควบคุมอาหารจากนักโภชนาการ โดยคำนวณจากค่าส่วนสูง น้ำหนัก และดัชนีมวลกาย (Body Mass Index,BMI) ก่อนการตั้งครรภ์
หลักการการควบคุมอาหารควรปฏิบัติดังนี้ครับ
-หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ มื้อเดี่ยวโดยควรแบ่งเป็น 3มื้อหลัก สลับมื้ออาหารว่าง 3มื้อ
-หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกSimple carbohydrateเนื่องจากร่างกายจะดูดซึมระดับน้ำตาลได้เร็วทำให้ ค่าระดับ postprandial blood glocseสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
-รับประทานอาหารที่ให้พลังงานจากกลุ่มโปรตีน ไขมัน หรือComplex carbohydrate โดย แบ่งสัดส่วนอาหารเป็น คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน เท่ากับ 40 : 20 : 40
-แนะนำให้รับประทานอาหารว่างมื้อก่อนนอน ซึ่งควรมีส่วนประกอบของ Complex carbohydrate อย่างน้อย 25มิลลิกรัมเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนหลับ (Nocturnal hypoglycemia) โดยเฉพาะในรายที่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน
2. การควบคุมการเพิ่มของน้ำหนัก ( Weight gain)
ต้องให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ หากน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าแนะนำจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภาวะทารกตัวโต
3. การให้การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
แม่ตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวาน ควรดูแลสุขภาพอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)