May 25, 2019 19:32
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
เบื้องต้น ต้องพิจารณาเกี่ยวกับรูปร่างในปัจจุบันของคนไข้ก่อน ว่าเข้าข่าย ผอม หรือ สมส่วนครับ
โดยดูจาก ค่า BMI หรือ ดัชนีมวลกาย ในคนไทยผู้ใหญ่ปกติ ครับ
โดยคนที่รูปร่างสมส่วน ผู้ชาย BMI อยู่ระหว่าง 22-23 และผู้หญิง 19-20 ครับ
หากมี BMI ต่ำกว่า 18.5 ถือว่าผอม และหากผอมมากๆ เช่น BMI ต่ำกว่า 17 ควรหาสาเหตุครับ
คนไข้ที่ทีอาการคือ ผอม นอกจากเรื่องอาหาร วิถีชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องดูเรื่องโรคร่วมอย่างอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของความผอมด้วยครับ
>>โรคที่เป็นสาเหตุของความผอมที่อยากแนะนำให้คนไข้สังเกตและตรวจเพิ่มเติม ได้แก่
- โรคไทรอยด์ สูง
คนไข้อาจมีอาการมือสั่น ใจสั่น เหงื่ออกมาก ความดันโลหิต สูง บางคน ถ่ายเหลวบ่อย ตาโปน บางคนอาจมีคอโตได้ครับ คนไข้จะกินจุ แต่น้ำหนักตัวน้อยครับ
- โรคติดเชื้อ ต่างๆ เช่น วัณโรค
การติดเชื้อ HIV คนไข้ที่มีความเสี่ยงกับโรคนั้นๆ เช่น ผู้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
- โรคตับ โรคไต เรื้อรัง
- วัณโรค ต่างๆ ได้แก่ วัณโรคปอด วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง วัณโรคที่กระดูก ทำให้คนไข้ผอมลง บางคนทีอาการไอเรื้อรัง ปวดตามตัว ไข้ต่ำๆเกือบทุกวัน หรือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคมาก่อนครับ
- พยาธิต่างๆ ทำให้มีอาการ ถ่ายเหลว เรื้อรัง
- โรคเบาหวาน ระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย กินจุ น้ำหนักลดครับ ถ้าเป็นแบบนี้ควรไปตรวจน้ำตาลในเลือดครับ
- โรคความผิดปกติของการดูดซึมสารอาหารในลำไส้ เช่น เคยผ่าตัดมาก่อน ทำให้ลำไส้สั้นลง มีอาการถ่ายเหลวเรื้อรัง เป็นต้น
- โรคมะเร็งต่างๆ น้ำหนักลดอาจเป็นอาการไม่เฉพาะเจาะจง แต่ถ้ามีอาการอื่นมาก่อน ร่วมกับมีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วเป็นหลักเดือน ก็จะทำให้นึกถึง โรคมะเร็ง ได้ครับ
- โรคทางจิตใจ เช่น anorexia , โรคซึมเศร้า
***หากคนไข้มีอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมนะครับ***
>>>>สำหรับการผอมที่ไม่ทีสาเหตุ หรือ การรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน แนะนำดังนี้ครับ<<<<<<
****- การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน/ไม่เพียงพอ หลังจากที่ได้ตรวจร่างกาย ซักประวัติ ตรวจเลือด เพื่อยกเว้นสาเหตุทางกายที่เป็นไปได้ทั้งหมดของความผอมที่ผิดปกตินั้น จึงจะเข้าสู่การปรับการกินอาหารให้เหมาะสมครับ ได้แก่
>การทานอาหารให้ตรวเวลา ครบสามมื้อ
> อาหารอาจเน้นที่พลังงานสูง ไม่ทานของที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมซอง น้ำอัดลม เป็นต้น อาจแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ ทานอาหารที่มีคุณค่า เช่น ขนมไทย ซาลาเปา นม เป็นต้นครับ
>นอกจากนี้ หากไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ แนะนำให้ทานนมพลังงานสูง (นมชงสำหรับผู้ใหญ่ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาค่ะ ) ทานเพิ่มวันละ 1-2 มื้อ เพื่อเพิ่มพลังงานและสารอาหารครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มีผมมีเสี่ยง ที่จะเป็น โรค ไทรอยด์ไหมครับ ตอนนี้ อายุ 21 สูง 178 น้ำหนัก 46 ผอมมากครับ กินเท่าไหร่น้ำหรักก็ไม่ขึ้น ลองเวย์โปรตีน หรือ อกไก่ปั่นก็เเล้วครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)