February 07, 2017 13:27
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
เริ่มจาก..การดื่มน้ำ 8-10แก้ว/วัน (น้ำธรรมดาในอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น)ควรงดชา กาแฟ น้ำอัดลม , ทานโยเกิร์ตรสชาติธรรมชาติ , ทานผักผลไม้ที่มีกากใยในสัดส่วนที่เหมาะสม ควรงดของทอด ของมัน เนื้อสัตว์ , ทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว ,นอนให้เป็นเวลา ,ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน , ออกกำลังกายบริหารลำไส้, ลดความเครียด , หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายโดยไม่จำเป็น ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วลีรักษ์ จันทร (พว.)
ทานอาการที่มีประโยชน์ เน้น ผัก ผลไม่ ค่ะ ดื่มน้ำมากๆ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สมทรง นิลประยูร (นพ.)
รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง โดยเฉพาะผักและผลไม้สด ธัญพืช หรือ ในอาหารที่รับประทาน เช่น รำข้าวสาลี เพื่อช่วยให้อุจจาระมีความอ่อนตัวมากขึ้นและง่ายต่อการขับถ่าย
ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะการขาดน้ำ และไม่ทำให้อุจจาระแข็งจนเกินไป
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานได้เป็นปกติ
ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่ควรมีการอั้นอุจจาระหรือรีบร้อนในการขับถ่าย
ไม่ควรใช้ยาระบายติดต่อกันเป็นเวลานาน และควรมีการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้งครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
Danuchar Chaichuen (พว.)
--การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อย1.5 ถึง 2.0 ลิตรต่อวัน
--การออกกำลังกายทุกวันในระดับน้อยถึงปานกลางอาจทำให้มีการเคลื่อนไหวของลำไสเพิ่มขึ้นได้
--ไม่ควรละเลยหรือยับยั้งความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ถ้าเป็นไปได้เมื่อรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระควรไปถ่ายทุกครั้ง การละเลยหรือยับยั้งความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระเป็นประจำ จะทำให้ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายอุจจาระลดลงเกิดอาการท้องผูกได้
--ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก และหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายต่อเนื่องยาวนานโดยไม่จำเป็น
--การฝึกให้มีนิสัยการขับถ่ายที่ดี มีความสำคัญมาก ไม่ควรละเลยหรือยับยั้งไว้บ่อยๆ ควรฝึกให้ถ่ายอุจจาระสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องถ่ายอุจจาระทุกวัน พบว่าเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายอุจจาระควรเป็นหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือหลังอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง นอกจากนี้ควรให้เวลากับการถ่ายอุจจาระให้เพียงพอ ไม่ควรรีบเร่ง เช่น ถ้าช่วงเช้าเร่งรีบต้องออกจากบ้านควรเปลี่ยนเวลาตื่นนอนให้เร็วขึ้น เป็นต้น
--ท่านั่งที่เหมาะสมกับการขับถ่ายอุจจาระ ท่านั่งขับถ่ายมีผลอย่างมากต่อการขับถ่ายอุจจาระ ท่านั่งที่ถูกจะช่วยให้ไส้ตรงทำมุมดีขึ้นต่อการขับถ่าย ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและไม่ล้า ท่าที่ควรนั่งขับถ่ายคือท่าประเภทนั่งยองหรืองอเข่า
--อาหาร การรับประทานอาหารสม่ำเสมอและดื่มน้ำเพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ (20-35 กรัมต่อวัน) จะช่วยให้อุจจาระมีขนาดใหญ่และนุ่ม อย่างไรก็ตามการรับประทานเส้นใยอาหารปริมาณมากอาจทำให้มีอาการท้องอืดหรือมีแก็สเยอะได้ในบางคน พยายามเพิ่มเส้นใยอาหารประเภทที่ละลายได้ง่าย (เส้นใยจากผัก ผลไม้ และข้าวโอ๊ต) ซึ่งดีกว่าประเภทที่ไม่ละลาย (เส้นใยจากเมล็ดธัญพืช) เริ่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งก้อนอุจจาระนิ่มลงและขับถ่ายบ่อยขึ้น
-- อาหารบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยระบายโดยธรรมชาติ เช่น ลูกพรุน (ผลพลัมแห้ง) ผลมะเดื่อฝรั่ง ผลกีวี ชะเอมเทศ กากน้ำตาล (molasses) สำหรับผู้ที่ท้องผูกง่ายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่มีเส้นใยหรือมีน้อย เช่น ไอศกรีม ชีส เนื้อสัตว์ หรืออาหารสำเร็จรูป
ลองทำดูนะคะเพื่อระบบขับถ่ายที่ดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากไห้ระบบขับถ่ายง่ายต้องทำยังไง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)