June 02, 2019 09:52
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
ยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูง มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง0.1-0.3% ผลข้างเคียงที่พบได้เช่น อาจมีเลือดออกกระปริบกระปรอยทางช่องคลอด ประจำเดือนขาดหาย หรือ อาจมีลิ่มเลือดออกได้ หากปริมาณไม่มาก ถือว่าปกติครับ อย่างไรก้ตามควรตรวจเช็คการตั้งครรภ์สม่ำเสมอ หากมีความผิดปกติเช่น มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด หรือประจำเดือนขาดหายไปจากปกติที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หรืออาการปวดท้องน้อย ตกขาวมีกลิ่น สีผิดปกติ ควรตรวจหาสาเหตุความผิดปกติ ทั้งการติดเชื้อ การตัง้ครรภ์ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ในช่วงที่ฝังยาคุมอยู่นั้นจะมีผลข้างเคียงทำให้ประจำเดือนขาดหายไปได้และจะมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้เพียง 0.05% เท่านั้น โอกาสที่จะผิดพลาดตั้งครรภ์ในกรณีนี้จึงมีน้อยมากครับ
แต่ถ้าหากกังวลแล้ะต้องการความมั่นใจก็สามารถลองตรวจการตั้งครรภ์ยืนยันดูได้ โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
สาวนตกขาวที่เป็นสีน้ำตาลนั้นถ้าหากออกมาในปริมาณมาก ออกมาติดต่อกันหลายวัน มีกลิ่นเหม็น หรือทำให้เกิดอาการคันร่วมด้วย ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ ถ้ามีอาการปวดท้องหรือหลังมาก ก่อนจะมีประจำเดือน และตกขาวสีดำคล้ำ อาจจะพบได้ในโรคที่เรียกว่า เนื้อเยื่อมดลูกเจริญผิดที่ ครับ ซึ่งจะมีอาการปวดดังกล่าวได้ครับ การรักษา คือการกินยาแก้ปวด เช่น mefenamic acid แล้วนอนพักครับ
แนะนำให้ไปพบสูตินารีแพทย์อีกทีครับ
ส่วนการที่ฝั่งยาคุมแล้วประจำเดือน ไม่มา ต้องระวังว่าอาจจะเกิดการตั้งครรภ์ ครับ เพราะไม่มีอะไรที่คุมเนิด 100% ครับ ยาคุมกำเริดสามารถคุมกำเนิดได้ 99.95% ครับยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 0.05% ครับ แต่ถ้าตรวจแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ การที่ประจำเดือนไม่มา อาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของประจำเดือนได้ครับ แนะนำว่าถ้ามีความผิดปกติควรลองไปพบสูตินารีแพทย์อีกทีครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
หากผู้ถามฝังยาคุมอย่างถูกต้อง (เช่น ในกรณีทั่วไปคือฝังยาคุมภายใน 5 - 7 วันแรกของการมีประจำเดือน) ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยมาก เพียงแค่ 0.05% เท่านั้นค่ะ
ซึ่งผลข้างเคียงเด่น ๆ ของยาฝังคุมกำเนิด คือ การมีเลือดออกกะปริบกะปรอย, ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือนนะคะ ซึ่งลักษณะและระยะเวลาที่พบอาจแตกต่างกันไปในผู้ใช้แต่ละราย
ดังนั้น หากฝังยาคุมถูกต้อง การที่ไม่มีประจำเดือนก็น่าจะเป็นผลข้างเคียงจากยา มากกว่าที่จะเป็นเพราะการตั้งครรภ์ค่ะ
และ "ตกขาวสีน้ำตาล" ที่พบ หากเป็นลักษณะของ "หยดเลือดซึม หรือเลือดกะปริบกะปรอย" ไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตกขาวผิดปกติ, มีกลิ่นเหม็นคาวหรือกลิ่นรุนแรง, แสบหรือคันช่องคลอด หรือปวดท้องรุนแรง ก็น่าจะเป็นเพียงผลข้างเคียงจากยาคุมเองเช่นกันนะคะ
แต่ถ้ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง แลพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม หากผู้ถามกังวลใจว่าจะตั้งครรภ์ ก็สามารถตรวจการตั้งครรภ์ให้ชัดเจนได้ โดยใช้ชุดทดสอบทางปัสสาวะ ตรวจในตอนเช้าหลังตื่นนนอน ห่างจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 14 วันค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีตกขาวสีน้ำตาล เวลามีเพศสัมพันธ์ ใช้ถุงยางตลอดและฝังยาคุม แต่เดือนนี้ไม่มีประจำเดือน มีเพศสัมพันธ์ล่าสุดวันที่24 พ.ค มีตกขาวสีน้ำตาลวันที่1มิ.ย มีโอกาสท้องหรือมีความผิดปกติอะไรไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)