August 08, 2018 01:29
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
1. ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพที่ไม่สูงเหมือนวิธีคุมกำเนิดปกติ จึงควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเฉพาะในกรณีที่ฉุกเฉินจริง ๆ เช่น ใช้ถุงยางแล้วมีปัญหารั่วซึมหรือฉีกขาด ไม่ควรใช้บ่อย ๆ หรือใช้แทนวิธีคุมกำเนิดปกตินะคะ
- การใช้ยาคุมฉุกเฉิน ต่อให้รับประทานเร็วที่สุดก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อย่างน้อย 15%
- การใช้ถุงยางอนามัย หากใช้ถูกต้องและไม่รั่วซึมหรือฉีกขาด มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2%
- การใช้ยาคุมรายเดือน หากใช้ถูกต้องและตรงเวลาสม่ำเสมอ มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.3%
ดังนั้น คำถามที่ว่า "จะท้องหรือไม่?" ก็ต้องตอบว่า มีโอกาสตั้งครรภ์อย่างน้อย 15% ค่ะ
2. ยาคุมฉุกเฉินไม่มีผลคุมกำเนิดหลังรับประทานค่ะ จึงไม่ควรมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันอีกหลังรับประทานยา
อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาคุมฉุกเฉินซ้ำ เพราะเวลาที่ทับซ้อนกัน จะทำให้กลายเป็นการรับประทานยาคุมฉุกเฉินเป็น 2 เท่าของขนาดปกติ ซึ่งไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน แต่จะเพิ่มผลข้างเคียงจากยาโดยไม่จำเป็น
3. ให้รอดูว่าจะมีประจำเดือนมาตามรอบปกติหรือไม่ ถ้าไม่มี ควรตรวจการตั้งครรภ์นะคะ หรือตรวจการตั้งครรภ์ด้วยชุดทดสอบทางปัสสาวะในตอนเช้าหลังตื่นนอน ห่างจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 14 วันก็ได้ค่ะ
และในระหว่างที่รอให้ประจำเดือนมา ควรงดมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขออนุญาตสอบถามต่อนะครับ มีเพศสัมพันธ์กับแฟนตอนประมาณตี 1 ของวันที่ 2 (หลั่งใน)อีก 2 ชม. ก็มีอีกรอบ (หลั่งใน) อีก 1 ชม. ก็มีอีกรอบ แล้วแฟนกินยาคุมฉุกเฉิน(เม็ดแรก)ในวันที่ 2 ตอน บาย 1 โมงเย็น แล้วมีเพศสัมพันธ์อีกทีตอน บาย 3 (หลั่งใน)ของวันที่ 2 แล้วแฟนก็กินยาต่อ(เม็ดที่สอง)ในวันที่ 2 ตอน ตี 1 อยากทราบว่าผลของยาคุมจะยังมีผลคุมช่วยตอนมีเพศสัมพันธ์ในครั้งที่สองหรือป่าวครับ ? และจะท้องมั้ยครับ ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)