January 04, 2019 23:51
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
ในกรณีทั่วไป ถ้าเป็นยาคุมเข็มแรก และฉีดภายใน 7 วันแรกของการมีประจำเดือน ก็จะถือว่ามีผลคุมกำเนิดได้เลยหลังฉีดยาค่ะ จึงมีเพศสัมพันธ์หลั่งในได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย
แต่ถ้าไม่ได้ฉีดภายใน 7 วันแรกของการมีประจำเดือน จะต้องงดมีเพศสัมพันธ์ หรือต้องใช้ถุงยางร่วมด้วยไปอีก 7 วันหลังฉีดยานะคะ และถ้ามีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะต้องรับประทานยาคุมฉุกเฉินโดยเร็วค่ะ ยิ่งเร็วยิ่งดี อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
..
..
แต่ถ้าเป็นกรณีอื่น ๆ เช่น หลังคลอดบุตร, หลังแท้งบุตร หรือการเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด ต้องขอรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาให้คำแนะนำที่เหมาะสมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ไม่ทราบว่าได้ฉีดยาคุมภายใน 7 วะนแรกของการมีประจำเดือนหรือไม่ครับ
ถ้าหากได้ฉีดยาคุมภายใน 7 วันแรกของการมีประจำเดือนก็จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย โดยมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้เพียง 0.3-3% เท่านั้น
แต่ถ้าหากไม่ได้ฉีดยาคุมภายใน 7 วันแรกของการมีประจำเดือน ก็จะต้องเว้นการมีเพศสัมพันธ์ไป 7 วันหลังฉีดยาก่อนจึงจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยได้ครับ ถ้าหากเป็นแบบในกรณีนี้หมอก็แนะนำให้รับประทานยาคุมฉุกเฉินให้เร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์เพื่อที่จะลดโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ลง 75-85% หรืออย่างช้าที่สุดก็อนุโลมให้รับประทานภายในเวลาไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
วันนี้พึ่งฉีดยาคุมมาค้ะแต่มีอะไรกับแฟนแล้วปล่อยในทำไงดีค้ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)