June 17, 2019 15:43
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการเบื่อหน่าย เบื่ออาหาร ไม่มีสมาธิ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะความเครียด หรือ อาจเป็นอาการของโรคซึมเศร้าก็เป็นได้
เบื้องต้นลองทำแบบเมินความเครียดด้วยตนเองดูก่อนนะคะ
โดยสำรวจจากอาการภายใน 1-2 เดือน ว่ามีอาการเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน โดยให้คะแนนตามระดับความรุนแรงของอาการดังนี้
ไม่เคยเลย 0 คะแนน
ครั้งคราว 1 คะแนน
บ่อยๆ 2 คะแนน
ประจำ 3 คะแนน
1. นอนไม่หลับ เพราะมีเรื่องกังวลใจหรือคิดมาก
2. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
3. ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะประสาทตึงเครียด
4. รู้สึกวุ่นวายใจ
5. ไม่อยากพบปะผู้คน
6. ไม่มีความสุข รู้สึกเศร้าหมอง
7. ปวดหัวข้างเดียวหรือปวดขมับ 2 ข้าง
8. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
9. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไร้คุณค่า
10. กระวนกระวายตลอดเวลา
11. ขาดสมาธิ
12. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะทำอะไร
13. เหนื่อยหน่ายไม่อยากทำอะไร
14. ใจเต้นแรง
15. เสียงสั่น ปากสั่น มือสั่นเมื่อรู้สึกไม่พอใจ
16. กลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
17. ปวดเกร็งบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่
18. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
19. มึนงง วิงเวียนศีรษะ
20. ความสุขทางเพศลดลง ขาดความใส่ใจในการดูแลตัวเอง
หากรวมคะแนนได้มากกว่า 17 คะแนน หมายความว่ามีความเครียดในระดับที่สูงกว่าปกติ ควรหาเวลาผ่อนคลายความเครียด ด้วยการออกกำลังกาย การออกไปพักผ่อนหย่อนใจ การหาที่ปรึกษาพูดคุยระบายความรู้สึกออกมา
หากอาการไม่ดีขึ้น และมีอาการผิดปกติอื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น นอนไม่หลับ เศร้า รู้สึกไร้ค่า อยากตาย แบบนี้ควรไปพบแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัดแล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไปนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ไม่อยากอาหารเลย ไม่อยากกินอะไร กินก็จะอ้วก บางวันไม่อยากทำอะไรอยากนอนเฉยๆ ไม่มีสมาธิกับอะไรได้นานๆบางวันก็อยากทำนู่นทำนี่ อยู่กับที่บ้านอีกคน อยู่กับเพื่อนอีกคน อยากรู้ค่ะว่าตัวเองเป็นอะไร อยากหาหมอแต่ไม่กล้าบอกแม่ ไม่กล้าบอกที่บ้าน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)