May 14, 2018 23:25
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ก่อนอื่นต้องแยกก่อนครับว่าเป็นอารมณืที่เกิดขึ้นตามปกติหรือไม่
กรณีที่มีปัจจัยกระตุ้นชัดเจน เช่น เมื่อเกิดความผิดหวังไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ สูญเสียสิ่งของหรือบุคคลอันเป็นที่รักไป แล้วมีอารมณ์เศร้า ร้องไห้ แบบนี้ก็ปกติครับ
แต่ถ้าอารมณ์เศร้านั้นเกิดขึ้นนานเกินไป ยังคงมีอารมณืเศร้าอยู่แบบต่อเนื่องแม้ปัจจัยที่มากระตุ้นจะหายไปแล้ว บางคนมีปัญหาเรื่องการกินการนอน ไม่มีสมาธิในการทำงาน รู้สึกเพลียๆไม่มีแรงทั้งวัน บางครั้งมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง รวมถึงถ้าอารมณ์ที่ว่านั้นส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การใช้ชีวิตในสังคม แบบนี้ก็ถือว่าไม่ปกติครับ
ในทำนองเดียวกับอารมณ์ร่าเริง ใช้วิธีพิจารณาแบบเดียวกันครับ หากอารมณ์ร่าเริง มีความสุขเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสมกับสิ่งที่มากระตุ้น ก็ถือว่าปกติครับ
หากสงสัยว่าอารมณ์ของตัวเองมีความผิดปกติ มีการแสดงออกมาเกินกว่าระดับที่เหมาะสม หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการโดยละเอียดอีกครั้งครับ เพื่อพิจารณาว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่ และควรแก้ไขอย่างไรต่อไป
อีกทางเลือกหนึ่งคือให้ลองทำแบบทดสอบ 2Q 9Q ตามlinkที่แนบไว้ให้ดูครับ น่าจะช่วยให้ตัดสินใจเรื่องการไปพบแพทย์ได้ง่ายขึ้น
https://www.dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ตอนนี้อายุเท่าไหร่คะ..มีอาการมานานเท่าไหร่แล้วคะ..อาศัยอยู่กับใคร..มีเรื่องขัดแย้งกับคนใกล้ชิดหรือไม่ มีประวัติใช้สารกระตุ้นหรือสารเสพติดด้วยมั้ย ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้จิตแพทย์วินิจฉัยโรคได้แน่ชัดนะคะ
ก่อนที่หนูจะไปพบจิตแพทย์ ให้สำรวจว่าอาการที่เป็นอยู่ส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตด้านอื่นๆหรือไม่ หากอาการที่เป็นอยู่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตก็ควรไปพบจิตแพทย์ ให้คุณหมอตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ไม่มีค่ะคุณหมอเกียวข้องสิ่งเสพติดอายุ25ปีบริบุณ์ค่ะแต่ตอนนี้หนูกับกำลังเลี้ยงลุกอ่อนค่ะคุณหมอ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ในกรณีที่เป็นแม่หลังคลอด ไม่มีประวัติใช้สารเสพติด อารมณ์เศร้าอาจเกิดขึ้นได้ค่ะ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของฮอร์โมน จากการปรับตัวต่อปัญหาและการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการเวลา ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง มีปัญหากับสามี วิตกกังวลกับวิธีการเลี้ยงดูลูกอ่อน บางรายปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ไม่ได้ก็ป่วยเป็นซึมเศร้าหลังคลอดได้ค่ะ ดังนั้นลองทำแบบประเมินซึมเศร้าด้วยตัวเองดูก่อนนะคะ
ให้สำรวจอาการภายในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนแต่อาการดังนี้
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7วัน 1 คะแนน
มากกว่า 7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
ลักษณะอาการในช่วง 2 สัปดาห์
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวต้องผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
รวมคะแนน หากคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ก็อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้ค่ะ ควรไปพบจิตแพทย์รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สวัสดีค่ะคุณหมอหนูอยากทราบว่าทำไมหนูรุ้สึกว่าบางเวลาก้อรุ้สึกเศร้าคิดมากบางครั้งหัวเราะมีความสุขและบางครั้งก้อร้องให้คนเดียวและน้อยใจคนเดียวพอเวลาคนอื่นทำไมถุกใจน่ะค่ะอาการแบบนี้มันคือไรค่ะคุณหมอ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)