December 11, 2017 01:11
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ถ้าติดอินเทอร์เน็ตมาก เล่นมาเป็นเวลานาน วันละหลายๆชั่วโมง แนะนำเวลาจะเลิกให้ค่อยๆลดจำนวนการเล่นค่ะ การหักดิบเล่นไปเลยจะทำให้คิดถึงอยากเล่นมากกว่าเก่า สุดท้ายก็กลับไปเล่นใหม่ การลดเวลาการเล่นจะเป็นการปรับสารเคมีในสมองค่ะ ตัวอย่างเช่น จากเดิมเล่นวันละ5ชั่วโมง ก็ค่อยๆลดเหลือวันละ4ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 2 ชั่วโมง จนเหลือเท่าที่น้อยที่สุดที่ตนคิดว่าพึงพอใจแล้ว ยังไงลองปฏิบัติวิธีนี้ดูนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
สารินทร์ สีหมากสุก (นพ.)
ขออนุญาตตอบเพิ่มเติมนะครับ อันนี้หมอเองก็เคยเป็นเหมือนกัน อาจจะลองหากิจกรรมหรือชวนเพื่อนอ่านหนังสือด้วยกันให้มากขึ้นก็ได้ คือหากิจกรรมอย่างอื่นทำแทน เราะจได้ไม่มัวมาหมกมุ่นเกี่ยวกับ internet อาจจะไม่ถึงกับต้องเลิกเล่นไปเลย เพียงแต่ต้องลดระยะเวลาลงเท่านั้นเองครับ หรือเล่นได้ เพียงแต่ว่าเราควรทำการบ้านหรืออ่านหนังสือให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เท่านั้นเองครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
แนะนำให้ปรับพฤติกรรมด้วยตัวเองก่อนนะคะ
1.จัดตารางเวลา ให้เหมาะสม งานหรือกิจกรรมที่รับผิดชอบต้องเสร็จเรียบร้อยก่อน ให้เวลา 1 ชม./วัน สำหรับการใช้สมาร์โฟน
2.หากมีเวลาว่างมากก็หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ อ่านนิยาย
3.ให้รู้เท่าทันกระบวนการเกิดพฤติกรรม เริ่มจาก ตัวกระตุ้น-ความคิด-อารมณ์-พฤติกรรม หากจะหยุดหรือลดพฤติกรรมใดๆที่เกิดขึ้นก็ต้องเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงจากตัวกระตุ้น กรณีนี้มือถือ เป็นตัวกระตุ้นเราก็ควรฝากมือถือไว้กับคุณแม่ หรือแล้วแต่วิธีที่สะดวก เทื่อถึงเวลาใช้งานก็ขอมาใช้งานตามเวลาที่จำกัด หากหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นไม่ได้ก็ต้องใช้เทคนิคการหยุดความคิด ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใช้จินตนาการโดยคิดว่าในสมองมีปุ่มเปิดปิด เมื่อใดที่คิดถึงสมาร์โฟนให้กดปุ่มปิดนั้นแล้วเบี่ยงเบนไปทำอย่างอื่นซะ หากตัดวงจร2ตัวนี้ไม่ได้ ปล่อยให้อารมณ์อยากใช้ อยากเล่นเกิดขึ้น พฤติกรรมการเล่นหรือใช้สมาร์โฟนก็เกิดขึ้นโดยที่เราจะควบคุมไม่ได้เลยค่ะ หลักการปรับพฤติกรรมจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทำแรกๆอาจจะรู้สึกไม่เป็นสุขบ้างก็ขอให้รู้ไว้ว่ามันเป็นภาวะปกติและพยายามควบคุมจิตใจให้มั่นคงไม่เกิน1เดือนคาดว่าหนูจะปรับตัวได้ค่ะ ก่อนปรับตัวเองควรชี้แจงกับคนในบ้านให้ทราบด้วยเพราะบุคคลรอบข้างเหล่านี้จะมีอิทธิพลช่วยส่งเสริมกำลังใจให้การปรับพฤติกรรมของหนูสำเร็จได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณหมอค่ะ ถ้าหนูสงสัยว่าหนูเป็นโรคเสพติดอินเทอร์เน็ตหนูควรทำยังไงค่ะ ให้หนูเลิกติดได้ค่ะ คือตอนนี้แม่หนูยึดโทรศัพท์หนูไปแล้ว ตอนแรกหนูคิดว่าไม่เป็นไร แต่พอสักพักหนูก็เริ่มรู้สึกอยากเล่นเกมออนไลน์ ดูyoutube จนหนูไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ มันรู้สึกหงุดหงิด และโมโหมาก (ตอนนี้หนูแอบมาใช้คอมพิวเตอร์) เวลาอยู่บ้านคนเดียวหนูก็ชอบเล่นมือถือนานหลายชั่วโมง จะกินข้าวก็ต้องเปิดโทรศัพน์ดู พอจะอ่านหนังสือเรียนก็ไม่มีสมาธิ มือก็ไปหยิบโทรศัพท์หรือไม่ก็ไปนั่งหน้าคอมเพื่อเล่นอินเตอร์เน็ตทุกที หนูบังคับให้ตัวเองไม่ให้คิดถึงเกมส์ ถึงyoutubeไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องอ่านหนังสือเรียน หรือทำการบ้าน หนูควรทำยังไงดี
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)