August 23, 2018 13:51
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการดังกล่าว อาจเข้าได้กับ ภาวะการปรับตัวผิดปกติค่ะ (adjustment disorder) ซึ่งสามารถเกิดได้ค่
>>เนื่องจากคนไข้อาจมีอาการเครียด จากการที่ต้องสอบ หรืออาจมีเรื่องกดดันอื่นๆ ที่เมื่อรวมๆกันแล้ว ทำให้เกิดมีอาการเครียด ท้อ เศร้า ไม่มีสมาธิ เหม่อลอย หรือบางคนนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เป็นต้นค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่อาการเหล่านี้ จะเกิดไม่นานเกิน 6 เดือนค่ะ
การแก้ไข หรือรักษาภาวะนี้ ได้แก่ การรู้ตักผ่อนคลาย อาจเริ่มจากการกำหนดปัญหาของเราให้ชัดเจน แล้วค่อยๆแก้ไปทีละปัญหา ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ อาจปรึกษาคนอื่นๆช่วยเหลือ เช่น ช่วยกันติวหนังสือ หรือ อย่างน้อย ให้เราได้ระบายความคับข้องใจ หรือความเครียดของเราค่ะ อาจเป็นเพื่อนสนิท หรือคนในครอบครัวเราก็ได้ค่ะ
นอกจากนี้ การหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลงเบาๆ ออกกำลังกายทเหล่านี้จะช่วยเราได้มากค่ะ
>>ส่วนใหญ่โรคนี้ เมื่อปัญหาของเราหมดไป เช่น สอบเสร็จ คนไข้ ก็มักจะอาการดีขึ้นค่ะ
นอกจากนี้ หมอเห็นว่า ปัญหานี้ อาจจะรบกวนคนไข้พอสมควร และการเริ่มมีความรู้สึกทำร้ายตนเอง อาจจะต้องรีบแก้ไข แนะนำว่า หากเป็นมาก ไปพบจิตแพทย์ช่วยได้นะคะ
หมอเป็นกำลังใจให้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขอบคุณมากๆนะคะ วันหยุดนี้จะลองไปพบจิตเเพทย์ดูนะคะ:)
คือช่วงนี้รู้สึกเหม่อลอยบ่อยๆน่ะค่ะ บางทีกำลังฟังเพลงกำลังเรียนอยู่จู่ๆก็เหม่อขึ้นมา แถมชอบยังรู้สึกดาวน์ตอนเช้าแทบทุกเช้า แล้วช่วงนี้ก็เครียดๆเพราะสอบต่อ เลยร้องไห้บ่อยๆ แถมบางครั้งยังมีความคิดว่าถ้าเราไม่อยู่ทุกอย่างคงจะดี เราตายไปก็ไม่มีผลกระทบต่อชีวิตคนอื่นน่ะค่ะแถมมีความคิดทำร้ายตัวเองด้วยน่ะค่ะ แถมบางครั้งก็มีความคิดเหมือนคนอื่นจ้องเราอยู่กำลังหัวเราะเราอยู่ทั้งๆที่ไม่เลย คือมีวิธีที่จะหายจากอาการพวกนี้มั้ยคะ คือจะสอบต่อแล้วแต่อาการพวกนี้มันกวนมากเลยค่ะ แค่หน้าเดียวบางครั้งก็ต้องอ่านหลายรอบ เพราะเหม่อไม่มีสมาธิค่ะ อยากหายจากอาการนี้ค่ะ._. ควรทำไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)