February 01, 2017 20:52
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
แนวทางการรักษาอาการท้องผูกที่สำคัญคือ การเพิ่มมวลอุจจาระและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มเคลื่อนที่ได้ง่าย ซึ่งคือ การกินอาหารมีใยอาหารสูง (ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วต่างๆ) และดื่มน้ำสะ อาดวันละมากๆเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) อย่างน้อยวันละ 8 - 10 แก้ว และเคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกายเสมอ
ถ้าอาการท้องผูกยังคงมีอยู่ไม่ดีขึ้นหลังปรับเปลี่ยนอาหาร ดื่มน้ำ และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย อาจใช้ยาแก้ท้องผูกโดยปรึกษาเภสัชกรก่อนเสมอ ถ้าซื้อยากินเอง
เมื่อใช้ยาแก้ท้องผูกนานเกิน 5 - 7 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพราะการใช้ยาแก้ท้องผูกบ่อยๆจะยิ่งกลับมาท้องผูกมากขึ้นและต้องเพิ่มปริมาณใช้ยามากขึ้นจนอาจก่ออันตรายได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน มวนท้อง ปวดท้อง
นอกจากนั้นคือ การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น รักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อเป็นสาเหตุของท้องผูก เป็นต้น
การดูแลตนเองเมื่อท้องผูก เช่นเดียวกับการป้องกันท้องผูกคือ
* กินอาหารมีใยอาหารสูงในทุกมื้ออาหาร
* ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม
* เคลื่อนไหวร่างกายออกกำลังกายเสมอไม่นั่งๆนอนๆ
* ผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเครียด ลดความกังวล
* ฝึกขับถ่ายเป็นเวลา ควรเริ่มตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก และมีเวลาให้ในการขับถ่ายไม่รีบเร่ง
* ไม่กลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย เมื่อปวดถ่ายควรรีบเข้าห้องน้ำเสมอ
* ควรปรึกษาแพทย์เรื่องท้องผูกโดยไม่ควรใช้ยาแก้ท้องผูกเอง แต่ถ้าจะใช้ยาแก้ท้องผูกเอง ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา
* ควรพบแพทย์ เมื่อ
* ดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วยังท้องผูก
* ใช้ยาแก้ท้องผูก ประมาณ 5 - 7 วันแล้วท้องผูกยังไม่ดีขึ้น
* ท้องผูกเกิดโดยไม่เคยมีอาการมาก่อน
* มีอาการท้องผูกเรื้อรังนานเกิน 1 สัปดาห์
* ท้องผูกสลับท้องเสียโดยไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะเป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
* อุจจาระมีลักษณะเล็กแบนเหมือนริบบิ้น เพราะเป็นตัวบ่งชี้ว่า อาจมีลำไส้ใหญ่ตีบ ซึ่งอาจจากมีก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่
* มีเลือดออกหลังอุจจาระบ่อย เพราะอาจเป็นอาการของโรคริดสีดวงทวาร หรือมีก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
* กังวลในอาการ
* ควรรีบพบแพทย์หรือพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เมื่อท้องผูกร่วมกับ
* ปวดเบ่งมากเมื่อถ่าย
* ปวดท้องมาก และ/หรือคลื่นไส้ อาเจียน เพราะอาจเป็นอาการของ ลำไส้อุดตัน
* อุจจาระเป็นเลือด
Reference:
หาหมอ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
• -การรักษาผู้ที่มีภาวะท้องผูก
--การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย1.5 ถึง 2.0 ลิตรต่อวัน การออกกำลังกายทุกวันในระดับน้อยถึงปานกลางอาจทำให้มีการเคลื่อนไหวของลำไสเพิ่มขึ้นได้ ไม่ควรละเลยหรือยับยั้งความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก และหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบายต่อเนื่องยาวนานโดยไม่จำเป็น
--การฝึกให้มีนิสัยการขับถ่ายที่ดี
--ท่านั่งที่เหมาะสมกับการขับถ่ายอุจจาระ
--อาหาร การรับประทานอาหารสม่ำเสมอและดื่มน้ำเพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ
--การรักษาด้วยการใช้ยา ให้ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์
• -การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น ไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback) และการผ่าตัด
• -ข้อควรจำ เมื่อใดที่นิสัยการขับถ่ายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือเกิดต่อเนื่องยาวนาน ควรปรึกษาแพทย์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฐิติพร ตั้งวิวัฒนาพานิช (พญ.)
การรับประทานผักผลไม้ให้มีกากใยอาหารเพียงพอควรรับประทานมากกว่าหรือเท่ากับ 400 กรัมต่อวันค่ะ คือประมาณ ผัก 3 ทัพพีต่อวัน บวกกับผลไม้ 2 ส่วนต่อวัน (ผลไม้หนึ่งส่วน เท่ากับ กล้วย ส้ม ชมพู่ ประมาณ 1-2 ผล นอกนั้นก็ลองเทียบตามขนาดผลเอาค่ะ) และควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 1.5 - 2 ลิตรต่อวัน ที่สำคัญคือออกกำลังกายเป็นประจำสัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพื่อให้ลำไส้ มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้นค่ะ หากปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแต่ยังมีอาการท้องผูกอยู่ อาจต้องสังเกตอาการอื่นด้วย เช่น ถ่ายปนมูกเลือด ท้องผูกสลับท้องเสียประจำ อุจจาระลำเล็กลง น้ำหนักลดลงผิดปกติ รับประทานแคลเซียมเสริมมากเกินไป อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ท้องผูกหากเกิดจากสาเหตุทางกาย แพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุ แต่กรณีหาสาเหตุไม่พบจะมีแนวทางการดูแลรักษาต่อไปนี้
การดูแลรักษาทั่วไป
1. การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วย ผู่ป่วยบางคนสามารถถ่ายอุจจาระได้ปกติแต่เข้าใจว่าตัวเองมีอาการท้องผูก ผู้ป่วย กลุ่มนี้มักให้ความสําคัญกับสุขภาพตนเองมากและเชื่อว่าการถ่ายปกติต้องถ่ายได้ทุกวันทําให้เกิดความกังวลเมื่อตนเองไม่
สามารถถ่ายได้อย่างสม่ําเสมอการให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าถ้าสามารถถ่ายได้มากกว่าสองครั้งตอสัปดาหและ
การถ่ายนั้นไม่ได้ยากลําบากหรือเจ็บปวดก็ถือว่าเป็นการถ่ายที่ปกติ
2.การถ่ายให้เป็นเวลาและตอบสนองต่อความรู้สึกอยากถ่าย โดยปกติความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดหลังจากผู้ป่วยตื่นนอนในตอนเช้าและช่วงเวลาหลังอาหารในทางปฏิบัติหลังตื่นนอนตอนเช้าจะเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดสําหรับการถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยที่มีอาการที่องผูกควรตื่นแต่เช่าให้มีเวลาเพียงพอที่จะดื่มนมสักหนึ่งแก้วเพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากถ่าย
3.อาหาร น้ําดื่มและเกลือแร่อาหารที่มีกากหรือไฟเบอร์มากจะทําให้ปริมาณอุจจาระมากขึ้นและเคลื่อนตัวภายในลําไส้ใหญ่เร็วขึ้นแต่การรับประทานอาหารที่มีกากมากขึ้นจะได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกไม่รุนแรงในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องผูกรุนแรงการเพิ่มปริมาณกากอาหารหรือไฟเบอร์ในอาหารที่รับประทานอาจทําให้มีอาการท้องอืดหรือปวดเกร็งท้องได้
4.การออกกําลังกายและการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวและออกกําลังกายจะทําให้การเคลื่อนไหวของลําไส้ดีขึ้นทําให้ถ่ายได้บ่อยขึ้น ผู้ป่วยที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวนอนอยู่กับเตียงตลอดเวลาจะทําให้เกิดอาการท้องผูกได้
การใช้ยาระบาย มีหลากหลายประเภท แนะนำให้ปรึกษาแพทย์และนอกจากนั้นยังมีการรักษาด้วยการผ่าตัดลำไส้ใหญ่อีกด้วยโดยผู้ป่วยที่ท้องผูกจากลําไส้เคลื่อนไหวช้าและรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลยังมีลําไส้ใหญ่เคลื่อนไหวช้าอยู่
การตัดลําไส้ใหญ้ออกไปอาจทําให้อาการดีขึ้นได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คุณหมอคะ เป็นคนขับถ่ายยากมากคะ กินปกตินะคะ ผัก ผลไม้ อะไรที่เป็นกากใย แต่ทำไม 3-4วันถ่ายคะ แต่ก่อน ปจดจะมา1วัน จะถ่ายดีมากคะ กลับวันที่ ปจด หมด ก็ถ่ายดี แล้วอีกวันก็กลับโหมด ปกติ ไม่อยากกินยาถ่ายกลัวติดคะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
คุณหมอค่ะเป็นคนขับถ่ายยากมากๆค่ะ จะถ่ายทีนึงยังต้องกินยาระบายตลอด พยายามกินของที่จะทำให้ถ่ายยังยากที่จะถ่ายเลยค่ะ บางบางครั้งกินยาระบายไปเเล้วก็ยังไม่ถ่ายเลย 6-7 วันก็ยังไม่ถ่ายเลยค่ะ นานกว่านี้ยังมีเลยค่ะคุณณหมอ เเบบนี้นี่เกิดจากอะไรค่ะ เเล้วควรไปหาหมอดีกว่าไหมค้ะ
ถ่าย ไม่ นานๆ ถ่าย ครั้ง
3-4ครั้ง
เดี๋ยวนี้ออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายทุกวัน1ชม เเล้วไม่ถ่าย ต้องกินยาถ่ายตลอด บางทีกินไปยังรู้สึกเฉยๆ เเละประจำเดือนไม่มา เป็นเพราะอะไรคะ
เป้นคนไม่อุจระมา1อาทิตด
กว่าๆแล้วทำไงให้อุจระ
ทาน ไฟโบรติกค่ะ ช่วยได้ http://deepbeauty.lnwshop.com/p/6
ปวดท้องถ่ายไม่ออก
ปวดท้องถ่ายไม่ออก
เป็นคนขี้ยากมาก บางที 6 - 7 วันขี้ครั้งนึง ทำไงดีคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)