February 07, 2017 16:28
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ขี้ลืม (Forgetfulness) ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งที่คนเราอาจจำอะไรไม่ได้ เช่น จำชื่อคนที่เคยรู้จักมานานไม่ได้, จำไม่ได้ว่าตนเองวางสิ่งของไว้ตรงไหน, จำไม่ได้ว่าก่อนออกจากบ้านปิดไฟในห้องนอนหรือยัง ซึ่งเป็นการลืมในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และมักเป็นเรื่องปัจจุบัน ซึ่งเป็นความจำในระยะสั้น (Recent memory, ความสามารถจำในสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้) โดยทั่วไปมักไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
ขี้ลืม เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สมาธิไม่ดี ไม่ได้ใส่ใจ ภาวะรีบเร่ง ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน นอนไม่พอ หรือแม้การทานยานอนหลับ ยาลดน้ำมูก ก็อาจทำให้ลืมได้ง่าย
อยากแรกต้องแยกก่อนค่ะว่ามีอาการขี้ลืมหรือหลงลืม เพราะมันจะคล้ายๆกัน แต่จริงๆมันต่างกันดังนี้
“หลงลืม” หมายถึง ลืมบางสิ่งบางอย่าง บางกิจกรรมที่อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งการลืมเรื่องทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง (Remote memory, ความสามารถในการจำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาในระยะไม่นานนัก)
ซึ่ง “ขี้ลืม” จะไม่มีการลืมความจำระยะกลาง หรืออีกนัยหนึ่งคือ “หลงลืม” มีระดับความสำคัญหรือรุนแรงมากกว่า “ขี้ลืม” เช่น ต้มน้ำไว้แล้วลืมปิดแก๊ส พอนึกออกก็รีบวิ่งไปปิดแก๊ส แต่น้ำก็แห้งหมดแล้ว เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าคำว่า “หลงลืม”นั้น เราอาจใช้บรรยายคนที่มีอาการ “ขี้ลืมเป็นประจำ” และเริ่มมีอาการลืมที่รุนแรงขึ้น เริ่มส่งผลต่อการดำรงชีวิต เราจึงอาจเรียกว่า “ขี้หลงขี้ลืม” หรือ “หลงๆลืมๆ”
หลงลืม มีสาเหตุหลากหลาย เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลอย่างแรง ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยากันชักบางชนิด ยานอนหลับบางชนิด ยารักษาทางจิตเวชบางชนิด อาการลืมตามวัย (Aging process) หรือจากโรคสมองเสื่อม (Dementia)
การวินิจฉัยภาวะ ขี้ลืม หลงลืม ภาวะเสียความจำ อาการเพ้อ หรือสมองเสื่อม ทำได้โดยการพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์ และอาการที่ผู้ป่วยหรือญาติให้ข้อมูลเป็นหลัก ร่วมกับการตรวจร่างกาย, การตรวจร่างกายทางระบบประสาท, และการตรวจทางจิตเวชด้วยแบบทด สอบที่เรียกว่า Mini-mental state examination
การรักษา แก้ไข อาการ ขี้ลืม หลงลืม คือ การหาสาเหตุให้พบแล้ว รักษา แก้ไขสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าเกิดจากผลข้างเคียงของยาก็หยุดยา, ไม่มีสมาธิหรือมีความกังวล ก็แก้ไขตรงนั้น, การฝึกให้มีการบันทึก จดงานที่ต้องทำ, การทำงานให้เป็นระเบียบ ก็ช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้นได้
อาการขี้ลืมนั้นแก้ไขโดยการมีสมาธิกับงานนั้นๆ ไม่รีบเร่ง ไม่กังวล ไม่ทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกันก็เพียงพอ แต่ถ้ามีอาการของหลงลืม อาจต้องปรับพฤติกรรมเหล่านั้นมากขึ้น เช่น การฝึกสมองให้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันการเสื่อมของสมอง ส่วนอาหารที่ทานนั้น ไม่มีข้อมูลที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่า อาหารชนิดใดที่จะบำรุงสมองให้ดีขึ้นได้ชัดเจน การทานอาหารก็ทานตามข้อปฏิบัติของโรคประจำตัวที่มีอยู่ ร่วมกับกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกๆวัน โดยจำกัดอาหารไขมัน แป้ง น้ำตาล และเค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ ควบคุมไม่ให้มีน้ำหนักตัวเกิน/โรคอ้วน ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การป้องกันไม่ให้มีอาการขี้ลืม หรืออาการหลงลืมนั้น ทำได้โดยการฝึกทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันให้เป็นระเบียบ มีการจดบันทึก ผ่อนคลาย ไม่เครียด หรือวิตกกังวลเกินไป มีการฝึกสมอง/ออกกำลังสมองอย่างต่อเนื่อง เช่น การเล่นเกม การท่องจำ การแก้โจทย์ทางคณิตศาสตร์ การร้องเพลง เป็นต้น และถ้ามีโรคประจำตัว ก็ต้องรักษาควบคุมโรคให้ดีที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ต่อสมอง อาการขี้ลืม และหลงลืมก็จะไม่เกิดขึ้น
ดังนั้น เราต้องรู้จักรักสมอง รักร่างกายตนเอง โดยการป้องกันไม่ให้เป็นโรคต่างๆ หรือเมื่อเป็นแล้วก็ต้องรักษาควบคุมให้ดี ถ้าสงสัยว่าตนเองมีปัญหาด้านความจำ หรือมีความผิดปกติทางสมอง ควรรีบปรึกษาแพทย์
ที่มา:
หาหมอ โดย รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผมอายุ17มีอาการหลงๆลืมๆเป็นบางครั้งมันเกิดจากอะไรหรอครับถ้านานๆไปอาการจะเป็นหนักกว่าเดิมหรือป่าว
มีอาการย้ำคิดย้ำทำ เช่นปิดประตูไม่ถึง2นาทีก็เดินออกไปเช็คดูอีกว่าปิดแล้วยังเป็น10รอบเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างคะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หนูไม่ค่อยมีสมาธิเลยค่ะ ลืมไวมากๆๆ
ชอบหลงๆลืมๆ ถ้าแก่ตัวไปจะเป็นอัลไซเมอร์ไหมและควรทานอะไรบำรุงดีเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)