กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

เลือดออกใต้ผิวหนัง (Red dots on skin)

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเลือดออกใต้ผิวหนัง สังเกตได้จากจุดสีแดงเล็กๆ ที่เรียกว่า "จุดเลือดออก (Petechiae)" หรือ เป็นปื้นสีแดงแบนๆ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "จ้ำเลือด (Purpura)" 
  • จุดสีแดงที่เกิดขึ้นบนผิวหนังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักจะเกิดจากการกระแทก การได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ปฏิกิริยาการแพ้ การติดเชื้อ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท ผลข้างเคียงจากกระบวนการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดและรังสีบำบัด
  • หากมีอาการเจ็บปวดบริเวณที่มีเลือดออกใต้ผิวหนัง มีก้อนเกิดขึ้นบนตำแหน่งที่เลือดออกใต้ผิวหนัง ผิวหนังที่มีเลือดออกมีสีคล้ำขึ้น มีอาการการบวมที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า มีเลือดออกจากเหงือก จมูก ปัสสาวะ หรือในอุจจาระให้รีบไปพบแพทย์ 
  • การรักษาอาการเลือดออกใต้ผิวหนังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ บางรายอาจสามารถรักษาด้วยตนเองที่บ้านได้ แต่หากมีภาวะติดเชื้อ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อหยุดการไหลของเลือด และฆ่าเชื้อ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

อาการเลือดออกใต้ผิวหนัง สังเกตได้จากจุดสีแดงเล็กๆ ที่เรียกว่า "จุดเลือดออก (Petechiae)" หรือ เป็นปื้นสีแดงแบนๆ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "จ้ำเลือด (Purpura)" 

จุดสีแดงที่เกิดขึ้นบนผิวหนังนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากมักจะเกิดจากการกระทบกระแทก หรือการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยปกติแล้วหากกดลงบนผิวหนังตนเอง จะพบว่า ผิวหนังบริเวณที่กดมีสีซีดขึ้นชั่วขณะ แต่ถ้ามีเลือดออกใต้ชั้นผิวหนัง เมื่อกดลงบริเวณที่มีจ้ำเลือด ผิวหนังจะไม่เปลี่ยนสี

สาเหตุของภาวะเลือดออกใต้ผิวหนัง

สาเหตุทั่วไปของอาการเลือดออกใต้ชั้นผิวหนัง อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ การบาดเจ็บ การติดเชื้อ โรคไม่ติดเชื้อ ซึ่งได้แก่

  • การบาดเจ็บ
  • ปฏิกิริยาแพ้
  • การติดเชื้อของเลือด
  • ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
  • ได้รับการกระแทกจนมีอาการฟกช้ำ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท
  • ผลข้างเคียงจากกระบวนการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด
  • ผลข้างเคียงจากกระบวนการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีบำบัด
  • กระบวนการแก่ตัวตามธรรมชาติ
  • โรคขาดวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเค

นอกจากนี้ภาวะทางการแพทย์บางชนิดก็สามารถทำให้เกิดเลือดออกใต้ชั้นผิวหนังได้ ดังนี้

  • ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) การอักเสบของชั้นเยื่อหุ้มที่ปกคลุมสมองกับไขสันหลัง
  • ลูคีเมีย (Leukemia) มะเร็งเซลล์เม็ดเลือด
  • คออักเสบ (Strep Throat) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้มีอาการเจ็บคอ
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) เป็นการอักเสบทั่วร่างกายที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

  • รู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่มีเลือดออกใต้ผิวหนัง
  • มีเลือดออกจากแผลเปิดค่อนข้างมาก
  • มีก้อนเกิดขึ้นบนตำแหน่งที่เลือดออกใต้ผิวหนัง
  • ผิวหนังที่มีเลือดออกมีสีคล้ำขึ้น
  • มีอาการการบวมที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า
  • มีเลือดออกจากเหงือก จมูก ปัสสาวะ หรือในอุจจาระ

การวินิจฉัยอาการเลือดออกใต้ผิวหนัง

แพทย์จะสอบถามว่า มีภาวะทางการแพทย์ หรือกำลังรักษาภาวะใดอยู่ หรือไม่ และอาจสอบถามเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริม สมุนไพร หรือยาต่างๆ ในปัจจุบัน 

เนื่องจากยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ แอสไพริน หรือยาลดความข้นของเลือด สามารถทำให้เกิดอาการเลือดออกใต้ผิวหนังได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการตรวจเลือด หรือปัสสาวะ เพื่อหาร่องรอยของการติดเชื้อ หรือภาวะทางการแพทย์ต่างๆ 

หากจำเป็นอาจจะต้องมีการเอ็กซเรย์ร่างกาย หรืออัลตราซาวด์บริเวณที่มีอาการเพื่อตรวจสอบการแตกหัก หรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ

การรักษาอาการเลือดออกใต้ผิวหนัง

การรักษาอาการเลือดออกใต้ผิวหนังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ หากมีภาวะติดเชื้อ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อหยุดการไหลของเลือด และฆ่าเชื้อ

แต่สำหรับอาการเลือดออกใต้ผิวหนังที่มีสาเหตุมาจากการใช้ยา แพทย์อาจแนะนำให้หยุดยาที่กำลังใช้อยู่ หรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นแทน

หากอาการเลือดออกใต้ผิวหนังมาจากการบาดเจ็บ สามารถรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ยกอวัยวะที่บาดเจ็บให้สูง (หากทำได้)
  • ประคบน้ำแข็งบริเวณที่บาดเจ็บเป็นเวลา 10 นาทีต่อครั้ง
  • บรรเทาอาการปวดด้วยยา Acetaminophen หรือ Ibuprofen

หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น อาการเลือดออกใต้ผิวหนัง แต่หากอาการมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ควรนิ่งเฉยเด็ดขาด แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD.com, Weird Things That Happen to Your Skin as You Age (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-age-related-growths), 12 June 2020.
Tim Newman, What is causing my rash? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317999.php), 12 June 2020.
Schlesinger, SL; Borbotsina, J; O'Neill, L (September 1975). "Petechial hemorrhages of the soft palate secondary to fellatio". Oral Surgery, Oral Medicine, and Oral Pathology. 40 (3): 376–78. doi:10.1016/0030-4220(75)90422-3. PMID 1080847.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)