February 24, 2017 15:14
ตอบโดย
รัตน์พล อ่ำอำไพ (แพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช)
หากคุณได้รับการตรวจภายในและอัลตร้าซาวน์ และวินิจฉัยแล้วว่าเป็นก้อนเนื้องอกในมดลูกอาจจะรักษาด้วยการตรวจตรวจติดตามเป็นระยะๆ ด้วยการตรวจภายใน เพื่อดูขนาดก้อนว่าใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกราย จะผ่าตัดหากมีข้อบ่งชี้ครับเช่น ทำให้มีเลือดประจำเดือนออกมากจนซีด การที่ก้อนโตเร็ว หรือไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียง กรณีสงสัยก้อนเนื้อร้าย ฯลฯ
ซึ่งก้อนเนื้องอกมดลูกพบได้ทั่วไปในผู้หญิงซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงนะครับโอกาสที่จะเปลี่ยนไปเป็นมะเร็งน้อยกว่า 1%
โดยปกติแล้วก้อนเนื้องอกมดลูกชนิดนี้มักจะสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจนโดยเฉพาะในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ยังมีประจำเดือนอยู่โอกาสที่ก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆก็มี แต่สำหรับคนที่หมดประจำเดือนไปแล้วและในคนที่ไม่ได้รับฮอร์โมนรักษาอาการวัยทองในกรณีนี้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายก็จะต่ำลง หรืออีกนัยยะหนึ่งก็คือไม่มีตัวไปกระตุ้นให้ก้อนเนื้องอกมดลูกใหญ่ขึ้น
คุณควรที่จะสังเกตอาการหากว่าตรวจภายในเป็นระยะๆแล้วก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือโตเร็วมาก อาจจะสงสัยเป็นก้อนมะเร็งมากขึ้น หรือมีอาการจากก้อนเช่นมีปัสสาวะลำบากปัสสาวะบ่อยหรือถ่ายลำบาก หรือมีเลือดออกผิดปกติหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว อาการเหล่านี้ถือว่าผิดปกติควรไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อทำการรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ปกติจะไม่มีอาการ คนที่มีอาการจะเป็นส่วนน้อยได้แก่
1. เลือดออก ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดเลือดประจำเดือนออกมากและนาน มีลิ่มเลือดปนเป็นก้อน เนื่องมาจากพื้นที่ผิวของมดลูกมีมากกว่าปกติจากการที่มีก้อนเนื้องอกไปเพิ่มพื้นที่ผิวภายในของเยื่อบุโพรงมดลูก บางครั้งเลือดอาจออกไม่ตรงกับรอบระดู อาจออกนานติดต่อกัน หรือออกๆ หยุดๆ สลับกับอาการตกขาว อาจเกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้าย หรือมีแผลที่ผิวนอกของก้อนเนื้องอกชนิด submucous myoma มีครรภ์ร่วมด้วย มีมะเร็งของเยื่อบุมดลูก หรือมี endometrial polyp ร่วมด้วย
2. อาการถูกกดเบียดจากเนื้องอก ก้อนเนื้องอกที่กดเบียดกระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้รู้สึกไม่สบายที่บริเวณหัวหน่าว ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะค้างหรือไหลโดยไม่รู้สึกตัว ท้องผูก บางครั้งขาบวมหรือมีอาการหลอดเลือดขอดได้ถ้าก้อนใหญ่พอ บางครั้งมีการกดที่เส้นประสาทภายในอุ้งเชิงกราน อาจจะเจ็บปวดมากซึ่งส่วนใหญ่พบในกลุ่มที่เป็นเนื้อร้าย ถ้าเนื้องอกโตออกไปทางด้านข้างของอุ้งเชิงกรานก็อาจจะกดเบียดท่อไต ทำให้เกิดไตบวม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังข้างที่มีสภาพ
3. ก้อนในท้อง อาจจะไม่มีอาการอะไรเลยนอกจากคลำได้ก้อนบริเวณท้องน้อยโดยบังเอิญ หรือรู้สึกว่าท้องโตขึ้น
4. การเจ็บปวด โดยทั่วไปก้อนเนื้องอกนี้มักไม่มีอาการปวด ถ้ามีอาการปวดมักเกิดจาก
- การบิดของก้อนชนิด subserous
- มีการเสื่อมสภาพของก้อน มีเลือดออกในก้อน หรือมีการอักเสบ
- มีการเปลี่ยนแปลงของก้อนไปเป็นมะเร็ง
- มีการบีบตัวของมดลูกเพื่อขับเอาก้อนเนื้องอกชนิด submucous
5. หายใจลำบาก เป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดจากการที่มีการแพร่กระจายของตัวเนื้องอกไปที่ปอด
6. ตกขาว เกิดจากมีการคั่งของเลือดในอุ้งเชิงกรานพร้อมๆกับมีการหนาตัวของเยื่อบุคอมดลูก ทำให้มีตกขาวเป็นมูก รายที่มีการเสื่อมสภาพของก้อนที่ยื่นเข้าในโพรงมดลูก ตกขาวจะมีลักษณะมูกปนหนองหรืออาจจะเป็นเลือดจางๆ ถ้ามีการอักเสบหรือเนื้อตาย จะมีตกขาวเป็นสีน้ำตาลและมีกลิ่นเหม็นคาวจัด
7. การตกเลือดในช่องท้อง เป็นภาวะที่พบน้อยเกิดจากมีการแตกหรือฉีกขาดของหลอดเลือดที่ผิวนอกของก้อน จะมีอาการตกเลือดในช่องท้องคล้ายการตกเลือดในการตั้งครรภ์นอกมดลูก
การรักษา
การรักษาจะต้องพิจารณาหลายอย่าง เช่น
1. อายุของผู้ป่วย ความต้องการมีระดูในคนอายุน้อย
2. ชนิดของเนื้องอก
3. ขนาดของก้อนเนื้องอก
4. ความต้องการมีบุตร
5. มีภาวะแทรกซ้อนร่วมหรือไม่
6. สภาพของผู้ป่วยเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเพียงใด
7. ตั้งครรภ์ร่วมด้วยหรือไม่
ก. รายที่ไม่ต้องรักษา
เนื้องอกก้อนเล็ก ไม่มีอาการ โดยเฉพาะที่พบในวัยจะหมดระดู เพียงแต่นัดมาตรวจติดตามทุก 3-6-12 เดือน เป็นรายๆไป อย่างไรก็ตามก้อนเนื้องอกที่ไม่มีอาการนี้อาจจะต้องทำการผ่าตัดเมื่อ
1. ก้อนโตเท่ากับหรือเกินกว่าขนาดครรภ์อายุ 12 สัปดาห์
2. มีการบิดของขั้ว เจ็บปวดมาก
3. ไม่แน่ใจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่
4. ก้อนโตเร็ว
5. มีน้ำในท้องร่วมด้วย
ในรายที่ต้องรักษายังแบ่งเป็น
1. การรักษาด้วยยา
1.1 ฮอร์โมนเพศชาย เช่น Danazol และ Gestrinone หรือการให้โปรเจสเตอโรน ช่วยรักษาการมีภาวะประจำเดือนออกมาก แต่ผลของการลดขนาดของก้อนยังไม่แน่นอน
1.2 GnRH agonists เป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ทำให้ระดับ Estrogen ลดลงชั่วคราว
มีผลให้ขนาดก้อนเนื้องอกลดลง และเลือดที่ออกผิดปกติก็ลดลง ภายใน
2. Myomectomy (การตัดเฉพาะตัวก้อนเนื้องอกออก) ควรเลือกทำในสตรีที่แต่งงานแล้ว
ต้องการมีบุตร และอายุไม่ควรเกิน 35 ปี มีโอกาสเกิดซ้ำของตัวเนื้องอกหลังผ่าตัดชนิดนี้ได้อีก จึงจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ
และสุดท้ายคือการตัดมดลูกครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เป็นเนื้องอกมดลูก ต้องรักษาด้วยวิธีไหนถึวจะหายค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)