March 14, 2017 20:16
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ต้องถามก่อนว่า ลักษณะการปวดเป็นยังไงค่ะ ปวดมานานแล้วหรือยัง มีอาการอื่นร่วมด้วยไหม เพราะปวดหัวเกิดได้จากสาเหตุมากมายค่ะ ตั้งแต่ไม่อะนตรายจนถึงกระทั่งรุนแรงมากค่ะ
ปวดศีรษะมีสาเหตุดังต่อไปนี้ค่ะ
1.อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ (Primary headache) คือ อาการปวดศีรษะซึ่งเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้เกิดจากโรค ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดศีรษะปฐมภูมิยังไม่แน่ชัด อาการปวดศีรษะในกลุ่มนี้เช่น
* โรคปวดศีรษะไมเกรน (Migraine), ปวดตุ๊บๆข้างเดียว มักทนแสงจ้าไม่ได้ อาจมีคลื่นไส้อาเจียน
* โรคปวดศีรษะจากเครียด (Tension-type headache ซึ่งอาการเช่น การปวดศีรษะทั้งสองข้าง โดยอาการปวดมักไม่รุนแรง เป็นอา การปวดศีรษะที่พบบ่อยที่สุดถึงประมาณ 90% ของการปวดศีรษะทั้งหมด เพราะเป็นอาการปวดศีรษะที่สัมพันธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันเช่น จากนอนไม่หลับ หิว เครียด ใช้สายตา ขาดน้ำ หรือ อดกาแฟ ทั้งนี้จัดเป็นอาการปวดศีรษะที่รุนแรงน้อยถึงรุนแรงปานกลาง)
* ปวดศีรษะคลัสเตอร์(Cluster headache ซึ่งอาการเช่น ปวดศีรษะด้านเดียวร่วมกับปวดตาตาแดง น้ำตาไหล และคัดจมูก มักเป็นอาการปวดรุนแรง แต่เป็นโรคพบได้น้อยประมาณ 0.1% ของอาการปวดศีรษะในผู้ใหญ่)
2.อาการปวดศีรษะทุติยภูมิ (Secondary headache) ได้แก่ อาการปวดศีรษะที่มีสาเหตุจากโรคต่างๆ เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อย เป็นอาการปวดศีรษะที่รุนแรงปานกลางถึงรุน แรงมาก โดยความรุนแรงของอาการขึ้นกับสาเหตุเช่น ปวดศีรษะจากการติดเชื้อทั้งจากภาย นอกและภายในสมอง ปวดศีรษะจากมีไข้ ปวดศีรษะจากหลอดเลือดบริเวณศีรษะอักเสบ ปวดศีรษะจากดื่มสุรา ปวดศีรษะจากความดันในสมองสูงเช่น ในโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคเนื้องอกสมอง และโรคมะเร็งสมอง ปวดศีรษะจากสายตาผิดปกติเช่น สายตาสั้น ปวดศีรษะจากโรคต้อหิน ปวดศีรษะจากโรคทางจิตเวช และปวดศีรษะจากอุบัติเหตุต่อศีรษะและสมอง
3.อาการปวดศีรษะจากเส้นประสาทสมองและอื่นๆ (Cranial neuralgias, central and primary facial pain and other headaches) เช่น อาการปวดศีรษะที่เกิดจากประสาทสมองเส้นที่ 5 ที่กำกับดูแลใบหน้า (Trigeminal neuralgia หรือ โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า)ที่มักเป็นอาการปวดศีรษะปานกลางเรื้อรัง และมีการปวดใบหน้าร่วมกับอาการปวดศีรษะด้วย ส่วนใหญ่มักเกิดด้านเดียว แต่ประมาณ 10% พบเกิดทั้งสองข้าง ทั้งนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยคือ จากมีหลอดเลือดกดทับประสาทเส้นนี้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
อาการปวดศีรษะ ที่มีสาเหตุทางด้านร่างกาย (organic cause) มักเป็นสาเหตุส่วนน้อย
ส่วนใหญ่ เป็น สาเหตุที่มีต้นกำเนิดมาจากทางจิตใจ (psychological cause) และ อื่น ๆ จิปาถะ
จึงเหมือนกับว่า ไม่สามารถบอกสาเหตุ ได้ชัด ๆ ไม่อาจระบุได้ชัดเจน
ปวดศีรษะ ไม่ว่าจะมีลักษณะการปวดเป็นเช่นไร เช่น ปวดเป็นจุด ๆ ปวดบริเวณท้ายทอย หรือ บริเวณขมับ หรือ ปวดศีรษะข้างเดียว เป็นอาการ ที่มีคำถาม พบบ่อยมากที่สุดประการหนึ่ง และเป็นอาการที่นำมาพบแพทย์มากที่สุดอาการหนึ่ง
อาจมีสาเหตุ เป็นผลมาจากโรคร้ายแรง อันตราย เช่น เนื้องอกในสมอง ความดันในสมองสูงขึ้น แต่พบได้น้อยกว่า และมักจะมีอาการทางระบบประสาทอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นแขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว ลานประสาทตาแคบลงทำให้เดินชนสิ่งต่าง ๆ
แต่ที่พบบ่อยมากกว่า จะเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เป็นเป็น หายหาย ไม่ว่าจะ ลักษณะการปวดเป็นเช่นไร เช่นปวดตุ้บ ๆ ปวดต้นคอ (ท้ายทอย) ปวดขมับ ปวดเบ้าตา ปวดศีรษะข้างเดียว เหล่านี้พบได้มากกว่า มากกว่า 80%
ถ้ามีอาการปวดตา หรืออาการเกี่ยวกับสายตาด้วย ควรตรวจสายตาว่า มี สายตาสั้น ยาว หรือเอียง หรือไม่
ถ้าใช้สายตาอ่านหนังสือหรือเพ่งจอคอมพิวเตอร์ ก็ควรพักสายตาทุก ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ด้วยการมองไปไกล ๆ หรือ หลับตา
อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย ซึ่งมักจะเป็นจากความเครียด หรือ วิตกกังวล ซึ่ง ถ้าเครียดมาก ๆ อาจมีอาการผะอืดผะอม เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก(หายใจไม่อิ่ม) ใจสั่น หน้ามืด วูบได้
หรือจากพักผ่อนไม่เพียงพอ เช่นนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท(ไม่ลึกพอ) นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนดึก เปลี่ยนเวลาทำงาน(กะ)จากกลางวันมาเป็นทำงานกลางคืน หรือทำงานไม่เป็นเวลา เปลี่ยนกะทำงานบ่อย
วิธีรักษาก็สามารถ กินยาแก้ปวดศีรษะที่ไม่อันตราย เช่นพาราเซตามอล ตามขนาด
และในระยะยาว ควรหาวิธีจัดการกับความเครียด ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การทำสมาธิ การทำไบโอฟีดแบค ฯลฯ
การออกกำลังกาย อย่างหนักพอเพียง ทำประจำสม่ำเสมอ ก็สามารถทำให้สุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น จัดการกับความเครียดได้ อาการปวดศีรษะก็จะดีขึ้น หรือหายไปได้
ถ้าใช้วิธีต่างๆแล้ว อาการปวดศีรษะไม่ดีขึ้น หรือเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุอย่างจริงจัง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปวดหัวมาก จนรู้สึกหงุดหงิดระงับอารมณ์ไม่ได้ บางครั้งรุ้สึกเหมือนตัวเองเป็นโรคประสาท เป็นเพราะอะไรคะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดหัวมา2อาทิตย์แล้วครับ บางทีย้ายไปทางซ้าย บางทีไปทางขวาบางทีทั้งหัว กินยาแก้ปวดไม่หาย
สวัสดีค้ะ หนูปวดหัวมากๆปวดจนทำงานม่ไหว ปวดหลัง เมื่อยไปทั้งตัวปวดตา ปวดหัวเหมือนกับมีสายมารัดที่ขมับ2ข้าง
หนุอยากรุ้ว่าเป้นอะไร
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดหัวแรงมากเป็นแต่เช้ายังไม่หายเหมือนหัวจะแตก
ปวดหัวแรงเหมือนหัวจะแตกคับ
หนูปวดหัวมากกินยาพาราก้อไม่ช่วยอะรัยปวดหัวตลอดมันเป้นรัยไหมคร้าปวดมา2-3วันแร้วคร้า
หนูปวดหัวมากกินยาพาราก้อไม่ช่วยอะรัยปวดหัวตลอดมันเป้นรัยไหมคร้าปวดมา2-3วันแร้วคร้า
รุ้สึกปวดหัวมากจนจนบางครั้งทนไม่ไหวอยากรุ้ว่าเปนอะไรค้ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)