August 12, 2019 20:13
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
โดยปกติแล้วลักษณะอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นจะเป็นการที่มีอาการย้ำคิดเข้ามาในหัวอบ่างห้มไม่ได้และก่อให้เกิดพฤติกรรมบางอย่างที่ทำเพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายใจต่อความคิดนั้นเป็นอาการย้ำทำตามมาครับ ซึ่งความคิดเหล่านั้นมักเป็นความคิดเกี่ยวกับเรื่องสภาการในปัจจุบันหรือในอนาคตอันใกล้มากกว่าที่จะเป็นความคิดถึงเรื่องในอดีตครับ
จากอาการตามที่เล่ามานี้หมอคิดว่ายังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าเป็นอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำนะครับ แต่อาการเหล่านี้ก็อาจเกิดจากการมีปมมีเรื่องราวในอดีตที่ฝังใจบางอย่างทำให้มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจในปัจจุบันได้และอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตใจอื่นๆตามมาได้ครับ
ในเบื้องต้นนั้นหมอแนะนำว่าควรไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อน รวมถึงเพื่อช่วยทำความเข้าใจกับเรื่องราวในอดีตที่คุณคิดถึงว่าเพราะเหตุใดจึงมีผลกับสภาพจิตใจคุณมากในตอนนี้ เพื่อที่จะได้ช่วยให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปได้ครับ
สำหรับในกรณีที่อาการไม่ได้รุนแรงมากและไม่ต้องการมช้ยาในการรักษา การรักษาด้วยการทำจิตบำบัดก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การที่มีความวิตกกังวล ในเรื่องเดิมซ้ำๆ ผุดขึ้นมา โดยที่ควบคุมไม่ได้ และอาการดังกล่าวส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ใจกับความคิดนั้น หากมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือน อาการดังกล่าวอาจเข้าข่ายกลุ่มโรควิตกกังวลก็เป็นไปได้นะคะ
สาเหตุของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ
การรักษาจำเป็นต้องใช้ยา ร่วมกับการฝึกผ่อนคลายหรือการปรับความคิดนะคะ
การรักษาอาการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่ต่อเนื่อง และในกรณีที่ทานยาไม่ต่อเนื่อง หรือ รักษาหายดีแล้ว ตัวโรคมีโอกาสกำเริบซ้ำได้ค่ะ
ในกรณีที่เคยทานยามาแล้วเกือบ 2 ปี แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ ก่อนนัด ประเมินอาการปรับยาให้เหมาะสม หรือปรับแผนการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมค่ะ
กาย-จิตใจ ทำงานประสานกัน หากเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับส่วนใด ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หากกายป่วยเราก้ต้องพบแพทย์ และเช่นเดียวกันหากจิตใจ(ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่าง)เราป่วยหรือผิดปกติไปจากเดิม เราก็ต้องพบจิตแพทย์ นะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
อันนี้เข้าใจเลยนะครับว่าด้วยสภาพแวดล้อม และคำพูดของคนในครอบครัวที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้ป่วย ซึ่งมันทำให้รู้สึกแย่กับทัศนคติเหล่านี้ และคุณเองก็อยากที่จะมีการควบคุมชีวิตตนเองได้มากขึ้น ไม่ใช่พึงพาเพียงแค่ยาอย่างเดียวในการที่จะทำให้ความคิดของคุณลดน้อยลงหรือว่าหายไป
ในเบื้องต้นเราอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงครอบครัวได้โดยการแค่ไปพูดคุยว่าให้เปลี่ยนแปลงวิธีการพูดกับเรา แต่เราอาจจะเริ่มจากการที่เราเองดูแลตนเองให้ดี และมีการรับมือกับการพูดของครอบครัวให้ได้ดีขึ้น เมื่อเราสามารถทำให้คนในครอบครัวเห็นว่าเรามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อนั้นก็อาจจะลองพูดคุยกับครอบครัวได้นะครับในเรื่องของความอึดอัดใจของเราที่เกิดขึ้นจากการพูดจาของเขา
การมีความคิดเข้ามาเยอะตรงนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคนหลายๆคนดังนั้นการเรียนรู้ว่าคุณจะรับมือกับความคิดเหล่านี้ยังไง ฝึกเทคนิคการตัดความคิดหรือการเบี่ยงเบนความคิดก็เป็นสิ่งที่น่าจะช่วยให้คุณรับมือกับความคิดตรงนี้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายในการที่สามารถควบคุมชีวิต และยอมรับกับความคิดที่เกิดขึ้นของตนเองได้ง่ายขึ้นครับ
สุดท้ายนี้หากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สวัสดีค่ะคุณหมอ ชื่อจันทร์จิรานะคะ เป็นคนย้ำคิดย้ำทำ ความคิดไหลตลอดไม่หยุดเป็นบางครั้ง. นึกถึงเรื่องอดีตที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ คนรอบข้างมักพูดย้ำให้กลัวกับทุกเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น คนในครอบครัวมองว่าป่วยต้องทานยาลอร่าซีแพมมาตลอดระยะเวลา2ปี ครอบครัวมักจะบอกอยู่เสมอว่าเราป่วยๆและต้องกินยาๆ จุดประสงค์คือไม่ต้องการทานยาอยากเป็นคนปกติ บางทีบางอย่างเราต้องพึ่งตัวเองจะพึ่งแต่ยาก็ยังไงอยู่ และเปลี่ยนวิธีดูแลรักษาตนเองหันมาออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร เปลี่ยนทัศนคติ พักผ่อนไปด้วยทำงานไปด้วย งานที่เครียดก็ไม่รับ เราต้องเชื่อครอบครัวทุกอย่างหรือเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคำพูดคนในครอบครัววนอยู่ในหัวตลอดมันรู้สึกอึดอัดเป็นกังวล รู้สึกอยากจะรับฟังเรื่องที่ควรฟัง และถ้าหากฟังแต่ผู้อื่นเราจะไม่ได้ยินเสียงหัวใจรู้ความคิดของตัวเองจะไม่มีวันตัดสอนใจอะไรได้เพราะฟังแต่คนอื่น หากครอบครัวโฟกัสคำถามอื่นนอกจากพูดว่าเราป่วยป่วยป่วย พูดในสิ่งที่มีประโยชน์ มันคงจะดี ขอบคุณที่เสียเวลาอ่านและรับฟังนะคะ🙏🏻
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)