ทำไมต้องมีการดูแลผู้ป่วยที่หมดหวัง (Palliative Care)

การรักษาในปัจจุบันอาจจะยังมี ปัญหา บางอย่างจึงจำเป็นที่จะต้องมีการ ดูแลแบบ Palliative Care เข้าไปช่วยแก้ไขใน จุดต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำไมต้องมีการดูแลผู้ป่วยที่หมดหวัง (Palliative Care)

>1) แพทย์เฉพาะทางทั่วไปมักจะมุ่งเน้นที่จะรักษาเฉพาะโรคอย่างเดียว

เมื่อวินิจฉัยโรคที่รักษาไม่หายขาดหรือร้ายแรงถึงกับชีวิต แพทย์อาจมีแนวโน้มจะรักษามุ่งเน้นไปที่โรคอย่างเดียว โดยอาจจะ ละเลยการดูแลด้านอื่นๆ เช่น ด้านจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ไม่ใช่ เพราะแพทย์ไม่อยากดูแลผู้ป่วยให้ครบถ้วนทั้งร่างกายและจิตใจ แต่การดูแลผู้ป่วยดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกด้านต้องการเวลา มาก และแพทย์ส่วนใหญ่มีภาระงานที่ต้องดูแลเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นแพทย์อาจมีแนวคิดว่าการรักษาแต่โรคที่กำลังมีความ รุนแรง มีความสำคัญมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ  
การดูแลแบบ Palliative Care จึงหมายถึงการมีทีมบุคลากร ทางการแพทย์หลากหลายสาขาเข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยทั้ง ร่างกายและจิตใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2) ปัญหาการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว

แพทย์บางคนมักจะไม่บอกการวินิจฉัยโรคกับผู้ป่วยตั้งแต่ต้น เนื่องจากบางครั้งไม่รู้จะบอกอย่างไร รวมทั้งมีญาติขอร้องไว้ไม่ให้บอกผู้ป่วย ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยากทราบความจริงจากแพทย์หากตัวเองเป็นโรคมะเร็ง จากข้อมูลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเมื่อป่วยด้วยโรคมะเร็ง แสดงให้เห็นถึงช่องว่างของ “การแจ้งข่าวร้าย” ในผู้ป่วยชาวไทยอยู่มาก เมื่อความต้องการของผู้ป่วย ความต้องการของญาติ และความ ต้องการของแพทย์ไม่ตรงกัน การสร้างการสื่อสารที่ดีระหว่าง บุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยและครอบครัวจะช่วยให้สามารถช่วยเหลือให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ทำสิ่งที่ติดค้าง (Unfinished business) ได้สำเร็จในช่วงเวลาที่จำกัด และตั้งเป้าหมายการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายหนึ่งๆ ได้
การดูแลแบบ Palliative Care จึงหมายถึงการที่แพทย์มี โอกาสพูดคุยสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย

3) ความทุกข์ทรมานจากอาการปวดและอาการอื่นๆ    ของโรคระยะสุดท้าย

ในกลุ่มอาการต่างๆ ที่พบในผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคระยะสุดท้ายอาการปวดเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด การใช้ยาแก้ปวดที่เพียงพอเป็นสิ่งที่จำเป็นในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมาน และเพิ่มคุณภาพชีวิต นอกจากอาการปวดแล้วผู้ป่วย Palliative Care ยังต้องการการดูแลอาการอื่นๆ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยหอบ ซึมเศร้า เบื่ออาหาร รวมทั้งอาการในระยะสุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะเสียชีวิต
การดูแลแบบ Palliative Care จึงรวมถึงการดูแลให้ผู้ป่วย สุขสบายมากขึ้นจากอาการต่างๆ ที่เข้ามารบกวนอย่างต่อเนื่องด้วย

4) ไม่มีแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย 

หลังจากเข้ารับการบำบัดโรคมะเร็งในหอผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยมักจะถูกส่งตัวกลับบ้าน แต่เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนนัด ผู้ป่วยจะถูกญาติพามาที่ห้องฉุกเฉิน ภาพที่เห็นบ่อยๆ คือผู้ป่วยที่เป็นโรคในระยะสุดท้ายมักจะไม่ได้ถูกรับตัวเข้านอนโรงพยาบาล แม้ว่าจะมีอาการทางร่างกายหลายอย่างก็ตาม เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่สามารถรักษาโรคผู้ป่วยให้หายได้ การมานอนโรงพยาบาลอาจจะไม่ได้แตกต่างจากการให้การรักษาที่บ้าน ในขณะที่ครอบครัวของผู้ป่วยอาจจะเกิดความสับสน ไม่แน่ใจว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างไรจึงอยากพาผู้ป่วยมานอนโรงพยาบาล  

ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก (ห้องไอซียู) ปัญหาที่พบอาจกลับกลายเป็นตรงกันข้าม โดยมีเสียงสะท้อนมาจากญาติว่าผู้ป่วยถูกทรมานมากเกินไปในรูปแบบที่เรียกว่า“การยื้อชีวิต” เนื่องจากแพทย์มักไม่กล้าที่จะหยุดการรักษาบางอย่างเช่น  การให้ยาฉีดปฏิชีวนะไปเรื่อยๆ การ ให้เลือดการใส่ท่อช่วยหายใจ การใส่ท่อระโยงระยาง การเจาะรู ตำแหน่งต่างๆ บนตัวผู้ป่วย การรักษาเหล่านั้นในผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจจะเป็นไปเพื่อยืดระยะเวลาของการตายออกไปมากกว่าการช่วยชีวิตให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีคุณภาพ ญาติของผู้ป่วยหลายๆ คน ต้องกู้หนี้ยืมสินมารักษาผู้ป่วยเนื่องจากเข้าใจผิดว่าการรักษาด้วยยาและอุปกรณ์ราคาแพงต่างๆ จะเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
เพราะฉะนั้นการดูแลแบบ Palliative Care จึงเกิดขึ้นเพื่อให้แพทย์และครอบครัวผู้ป่วยเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของตัวผู้ป่วยเองว่าต้องการให้การรักษาไปในรูปแบบใด
หากผู้ป่วย ครอบครัวของผู้ป่วย แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ มีความเข้าใจเรื่องการดูแลแบบ Palliative Care มากขึ้น น่าจะช่วยลดช่องว่างความไม่เข้าใจกันในการดูแลผู้ป่วย ในการสื่อสาร และในการตั้งเป้าหมายการรักษาผู้ป่วย และทุกคนจะได้มีโอกาส “ให้” ในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุด
 


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is palliative care?. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000536.htm)
What end of life care involves. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/end-of-life-care/what-it-involves-and-when-it-starts/)
What Is the Palliative Care Treatment?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-is-palliative-care-1132354)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)