October 15, 2019 15:39
ตอบโดย
วชิรวิทย์ สุทธิศักดิ์ (แพทย์ทั่วไป) (นพ.)
เลือดปนกับตกขาว หลังรอบประจำเดือนเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ
เช่น เนื้องอกในมดลูก ติ่งเนื้อปากมดลูก การหนาตัวผิดปกติของมดลูก ความผิดปกติของการเเข็งตัวของเลือด เป็นต้นครับ
อาจลองสังเกตอาการก่อนได้ถ้าเลือดไหลไม่มากเเล้ว ก็อาจจะเป็นเลือดที่ค้างอยู่ในมดลูกมีเยอะ
หรืออื่นๆ
- เป็นเลือดจากเเผลในช่องคลอด ที่มีการเสียดสีขณะมีเพศสัมพันธ์
- เลือดเก่าๆในมดลูก ที่ค้างจากรอบประจำเดือน สีน่าจะคล้ำหน่อย
ยกเว้นออกมากชุ่มผ้าอนามัย4-5ผืน ปวดท้องน้อยมากๆ ควรพบสูตินรีเเพทย์โดยเร็วครับ
สาเหตุอื่น เช่น
กรณีกินยาคุมฉุกเฉิน หลังกินประมาณภายใน1สัปดาห์ จะมีเลือดที่เป็นผลจากยาออกมาได้ครับ
การฝังยาคุมหรือฉีดยาคุมกำเนิด กินยาคุมหลังคลอด ปกติจะมีประจำเดือนออกกระปริบกระปรอย มาติดๆกันหลายๆวัน เป็นผลข้างเคียงจากยาฝัง\ยาฉีดคุมกำเนิดได้ครับ
เเละถ้าฝังนานๆ ก็จะมีช่วงที่ประจำเดือนขาดได้
หรือกินยาคุมเเผงรายเดือนที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ เช่น Minidoz Yaz minoz ถ้ากินไม่ตรงเวลาก็อาจมีเลือดออกกระปริบกระปรอยได้ครับ
ส่วนเรื่องสงสัยมะเร็งปากมดลูก
ปกติถ้าอายุน้อยความเสี่ยงต่ำมากครับ เเต่ถ้ากังวลเเนะนำปรึกษาสูตินรีเเพทย์ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกครับ ส่วนใหญ่ตรวจปีละครั้งครับ เเละมะเร็งชนิดนี้ โตช้าครับ หมายความว่าต่อให้เป็นจริงๆใช้เวลาเป็นปีปีกว่าจะลุกลาม ถ้าตรวจทุกปีไม่ต้องกังวลครับ
กรณีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งเเต่อายุน้อยก็ให้พิจารณาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ครับ
(ทำในผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ขึ้นกับว่าเวลาใดถึงก่อน ควรเริ่มทำการตรวจแปปสเมียร์ หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี)
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกควรเริ่มเมื่ออายุ21ปี โดยแบ่งตามกลุ่มอายุ ดังนี้
อายุน้อยกว่า 21 ปี ไม่ว่าจะเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุเท่าไร หรือมีปัจจัยเสียงมาก ก็ยังไม่ควรตรวจคัดกรอง เนื่องจากเชื้อมะเร็งปากมดลูกพบได้น้อย และยังสามารถหายได้เองภายใน1-2ปีครับ
อายุ 21-29 ปี แนะนำให้ตรวจคัดกรองโดยวิธี cytology เพียงอย่างเดียวทุก3ปี โดยไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ HPV testing
อายุ 30-65 ปีสามารถตรวจคัดกรองได้ 2 วิธี คือ
pap smear ร่วมกับ HPV testing หรือ ตรวจร่วมกันทุก5ปี
ถ้าpap smear อย่างเดียว ทุก3ปี
อายุ 65 ปีขึ้นไป สามารถหยุดการตรวจคัดกรองได้ ในกรณีที่ ผลPap smear ปกติ 3ครั้งติดต่อกัน แต่ในกรณีที่เคยมีประวัติมีความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองมาก่อน(CIN2,CIN3,AIS) ควรทำการตรวจคัดกรองต่ออย่างน้อย20ปีครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แล้วมีสาเหตุไหนบ้างคะ มีกี่%ที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกตอนนี้อายุ 18 คะ
คุนหมอค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
สาเหตุของการมีเลือดออกผิดปกติในระหว่างรอบเดือนนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ เช่น
- การมีระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- การอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- การมีเนื้องอกหรือมะเร็งบางชนิด
ซึ่งการที่จะทราบสาเหตุของอาการเหล่านั้นก็จะต้องอาศัยการตรวจภายในเพื่อประเมินอาการเพิ่มเติมดูก่อน
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ แต่ในระหว่างนี้หมอก็แนะนำว่ายังไม่ควรต้องกังวลล่วงหน้าไปก่อนครับ เพราะการมีเลือดออกใาเพียงเล็กน้อยครั้งเดียวก็ยังไม่ได้เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการเป็นมะเร็งอย่างชัดเจนครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มีเรื่องจะปรึกษาค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ประจำเดือนครั้งที่แล้วหมดไปประมาณ13วัน แล้ววันนี้มีตกขาวผสมเลือดสีแดงเข้ม คิดว่าไม่ใช่เลือดก่อนเป็นประจำเดือนแน่นอน อาการแบบนี้จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมั้ยคะ หรือมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)