January 25, 2017 01:14
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูก ?
ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับมะเร็งปากมดลูกก่อนคะ มะเร็งปากมดลูกนั้นพบได้บ่อยที่สุดของมะเร็งในผู้หญิงไทย
- มักพบในช่วงอายุ 30-70 ปี (พบได้สูงในช่วงอายุ 45-55 ปี) แต่ก็อาจพบได้ในคนที่มีอายุน้อย ๆ เช่น 20 ปี และในผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปก็ได้
- โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 17 ปี) มีคู่นอนหรือมีสามีหลายคน หรือมีสามีที่มีความสำส่อนทางเพศ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก (หรือประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคนี้) มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilloma virus – HPV) ชนิด 16 และ 18 ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับชนิดที่ทำให้เกิดหูดและหงอนไก่ ที่ส่วนใหญ่มาจากเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิด 6 และ 11 โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุในอวัยวะสืบพันธุ์ จึงทำให้เชื้อไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของปากมดลูก จนกลายเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่ออักเสบเรื้อรัง (ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก) และเป็นมะเร็งในที่สุด (เชื้อชนิดนี้ยังเป็นปัจจัยของการเกิดมะเร็งช่องปากและองคชาตได้ด้วย)
โดยระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีการติดเชื้อไวรัสจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งนั้นจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี (อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ก็ได้) อาการแสดงมีระยะต่างๆ อาการโรคมะเร็งปากมดลูก
ในระยะแรกโรคมะเร็งปากมดลูกมักจะไม่ปรากฏอาการ จนกว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อ และอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งหากแสดงอาการจะมีสัญญาณเหล่านี้
– มีเลือดออกทางช่องคลอดหลัง หรือระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
– มีอาการตกขาวมากผิดปกติ บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาด้วย หรือบางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็น
– มีอาการปวดกระดูกเชิงกราน หรือปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
– น้ำหนักลด
– มีปัญหาในการปัสสาวะ
– ในช่วงที่มีประจำเดือนจะเลือดออกมากผิดปกติ และช่วงเวลาในการเป็นประจำเดือนนานขึ้น
วิธีป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
– ฉีดวัคซีน ป้องกันไวรัส HPV ป้องกันสายพันธุ์ที่เฉพาะเจาะจง
– ยืดเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก คือช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือมากกว่า
– การจำกัดจำนวนคู่นอน
– หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีคู่นอนเป็นจำนวนมาก
– หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีการติดเชื้อหูดที่อวัยวะเพศ หรือมีการแสดงอาการอื่นๆ
-มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HPVและยังช่วยป้องกัน โรคเอดส์ โรคเริมที่อวัยวะเพศ
– เลิกสูบบุหรี่
– เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ โดยผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย 2-3 ปีต่อครั้ง สำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65-70 ปีสามารถหยุดการตรวจคัดกรองหากใน 10 ปีที่ผ่านมามีผลการตรวจคัดกรองเป็นปกติ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มะเร็งปากมดลูกมีวิธีการป้องกันอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)