กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การปฏิบัติตัว เมื่อไปถึงโรงพยาบาลเพื่อคลอดบุตร

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การปฏิบัติตัว เมื่อไปถึงโรงพยาบาลเพื่อคลอดบุตร

การคลอดลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ามีขั้นตอนอย่างไร แพทย์จะทำอะไรบ้าง จึงทำให้เกิดความกังวลสงสัย เพราะฉะนั้นหากทราบขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับการทำคลอดก่อน ก็อาจทำให้คุณแม่หลายคนคลายกังวลได้

เมื่อถึงกำหนดคลอดควรทำอย่างไร?

หากถึงกำหนดคลอด คุณแม่ควรพาญาติหรือสามีไปด้วย จากนั้นเมื่อถึงโรงพยาบาลให้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะมาคลอด เจ้าหน้าที่ก็จะเตรียมรถเข็นให้คุณแม่นั่ง เพื่อนำส่งห้องคลอด ส่วนญาติหรือสามีก็แยกไปทำหลักฐานการอยู่โรงพยาบาลให้

คุณแม่จะถูกนำไปเข้าห้องคลอดที่เรียกว่า "ห้องรับ" ในห้องนี้จะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำอยู่ จะซักประวัติและสาเหตุที่ทำให้แม่มาคลอด เช่น มีเลือดออก เสียงการเต้นของหัวใจลูก ว่าผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีเหตุผลผิดปกติก็จะมีสูติแพทย์มาดูแลฉุกเฉิน 

 เจ้าหน้าที่จะให้คุณแม่เปลี่ยนชุดของโรงพยาบาล ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดอุณหภูมิร่างกาย ชีพจร อัตราการหายใจวัดความดันโลหิต โกนขนบริเวณอวัยวะเพศ หรือ โกนขนบริเวณหน้าท้อง (ในกรณีที่ผ่าท้องคลอด) จากนั้นก็ตรวจปากมดลูกว่าเปิดมากหรือเปิดน้อยเพียงใด (ตรวจทางทวารหนัก) ตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูก ว่าเจ็บจิรงหรือเจ็บหลอก ถ้าเป็นการเจ็บจริงคลอดแน่นอน ก็จะสวนทวารหนัก เอาอุจจาระออกให้หมด (บางรายปากมดลูกเปิดมาก ๆ จะคลอดก็จะงดการสวน)

เข้าห้องรอคลอด

 หลังถ่ายเสร็จพยาบาลก็จะพาเข้าไปนอนในห้องรอคลอดซึ่งอยู่ใกล้กัน มีเตียงหลายเตียง คุณแม่จะได้ยินเสียงร้องครวญครางของคุณแม่คนอื่น ๆ ก็ไม่ต้องตกใจ บางคนอาจจะมีอาการปวดท้องนานหลายชั่วโมง ในบางคนอาจจะปวดท้องไม่ถึงชั่วโมงก็คลอดเลยได้

ถ้าคุณแม่แข็งแรงสามารถคลอดเองได้ คุณหมอก็จะให้คลอดเอง แต่ถ้ากรณีที่เจ็บท้องถี่แล้ว การเต้นของหัวใจลูกผิดปกติ มีสายรกออกมาทางช่องคลอด เด็กไม่กลับหัวมาอยู่ในช่วงเชิงกราน ลักษณะที่ผิดปกติ คุณหมอก็จะทำการผ่าท้องให้คลอดทางหน้าท้องแทน เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรงดอาหารและน้ำก่อนเดินทางมาคลอดไม่ต้องกลัวหิวคุณหมอจะมีน้ำเกลือทดแทนให้ 

 หลังจากการตรวจภายใน คุณแม่จะรู้สึกว่ามีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด เป็นเหตุการณ์ปกติ เพราะคุณแม่และลูกน้อยแข็งแรง พร้อมคลอดเองตามธรรมชาติ คุณหมอเลยช่วยเจาะน้ำค่ำเพื่อเร่งการคลอด หลังจากนี้แล้ว คุณแม่ก็นอนรอบนเตียงเตรียมคลอดอย่างเดียว คุณหมอจะมาตรวจปากมดลูกเป็นระยะ ๆ ดูการเปิดปากมดลูก คุณแม่จะเจ็บท้องถี่ขึ้น ๆ จนกว่าปากมดลูกจะเปิดหมด ในรายคุณแม่มือใหม่ ต้องนอนรอนานประมาณ 8-10 ชั่วโมง หรือ 6-8 ชั่วโมงในห้องคลอ

 ช่วงนี้หมอและพยาบาลจะคอยดูการรัดตัวของมดลูกโดยการเต้นของหัวใจลูก การเปิดของปากมดลูกเป็นระยะ ๆ เมื่อเจ็บท้องมาก ๆ คุณแม่ต้องผ่อนคลายด้วยการหายใจเข้าออกลึก ๆ เป็นระยะ ไม่ควรกลั้นหายใจ ลูกจะขาดออกซิเจน

เมื่อปากมดลูกเปิดเท่าที่แม่อยากเบ่ง หมอจะย้ายคุณแม่เข้าห้องคลอด ไม่นานเวลารอคอยของทุกคนก็มาถึง โดยเฉพาะคุณแม่ที่จะหายเจ็บ หายปวด หายกังวล มีแต่ความปลื้มปิติมาแทนที่เมื่อเห็นหน้าลูกน้อย


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี ? , (https://hdmall.co.th/c/how-to-healing-cesarean-section).
คลอดธรรมชาติ ทำให้ช่องคลอดหลวมจริงหรือ?, (https://hdmall.co.th/c/is-natural-child-birth-made-vagina-loose).
ข้อดี-ข้อเสียของการผ่าคลอดคืออะไร? , (https://hdmall.co.th/c/what-pros-and-cons-of-cesarean-section).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)