September 07, 2019 11:26
ตอบโดย
อนรรฆวี ฉง (พญ.)
สวัสดีค่ะ จากรูปเห็นไม่ชัดมากแต่คาดว่าหากมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูงอาจจะเกิดการสะสมของแคลเซียมตามผิวหนัง ซึ่งทำให้มีอาการปวดได้หากมีการอักเสบร่วมด้วย โดยมากจะมีอาการอักเสบ คือ ปวดบวมแดงร้อน โดยมากแล้วภาวะแคลเซียมในเลือดสูงที่เกิดจากฮอร์โมนจะมีการรักษาโดยการปรับฮอร์โมนและรับประทานยาเพื่อลดผลจาก ฮอร์โมนที่ผิดปกติ และจะต้องมีการติดตามค่าเกลือแร่แคลเซียม/ฟอสเฟตและแร่ธาตุอื่นๆ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยรักษา หากไม่มีภาวะโรคไตผิดปกติและมีอาการปวด สามารถรับประทานยากลุ่ม nsaid เพื่อช่วยลดอาการปวดอักเสบได้ แต่หากมีภาวะโรคไตร่วมด้วยจะต้องขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำการรักษา เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องลดภาวะผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยาด้วยตนเอง ส่วนมากแล้วจะมียาแก้ปวดตัวอื่นๆที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่นที่สามารถรับประทานได้ในคนที่ไตไม่ดีอายุมากแล้วหากมีอาการปวดมากกว่าที่พาราเซตามอลจะช่วยในการระงับปวดได้
แนะนำขอคำปรึกษาจากแพทย์เจ้าของไข้เพื่อ ทราบแนวทางในการรักษาและดูแลผู้ป่วยต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณพ่อป่วยเป็นโรคไต ตอนนี้ผ่าตัดพาราไทรอยด์แล้ว ประมาณ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา เนื่องจากแคลเซียมสูงประมาณ 4000 ครับ แต่มีแผลทะลุมาที่หน้าแข้ง เนื่องจากแคลเซียมสูงเกินกว่าปกติ แล้วมีอาการปวดเแสบปวดร้อนที่แผลตลอดเวลา จนทำให้พักผ่อนไม่ได้ อยากทราบว่าต้องดูแลแผลอย่างไร และมียาทาภายนอกหรือยาอะไรที่ช่วยนอกจากทานยาพาราบ้างครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)