กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Anti-Müllerian hormone

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ Anti-Müllerian hormone ทางเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยการทำงานของรังไข่ในผู้หญิง และช่วยระบุเพศของทารกที่มีอวัยวะเพศไม่ชัดเจน
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Anti-Müllerian hormone

การตรวจ Anti-Müllerian hormone โดยการเจาะเลือด ทำเพื่อช่วยวินิจฉัยเพศของทารกที่ไม่สามารถระบุได้ด้วยสาเหตุของการมีอวัยวะเพศที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นเพศอะไร หากมีการตรวจในผู้หญิงส่วนมากจะเป็นการประเมินการทำงานของรังไข่ และช่วยพยากรณ์การเข้าสู่วัยทอง 

ชื่ออื่น: AMH, AMH hormone test, Müllerian-inhibiting hormone, MIH, Müllerian inhibiting factor, MIF, Müllerian-Inhibiting substance, MIS

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Anti-Müllerian hormone

จุดประสงค์การตรวจ Anti-Müllerian hormone 

การตรวจ Anti-Müllerian hormone (AMH) หรือฮอร์โมนที่เนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ผลิตขึ้น จะมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไปตามเพศและอายุดังต่อไปนี้ 

การตรวจ AMH ในผู้หญิง

ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์อาจต้องได้รับการตรวจฮอร์โมน AMH ควบคู่กับการตรวจฮอร์โมนประเภทอื่นๆ เช่น ฮอร์โมน Estradiol และฮอร์โมน FSH เพื่อประเมินการทำงานของรังไข่ ประเมินระยะเวลาที่เหลือที่ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ ก่อนจะเข้าสู่ช่วงวัยทอง

ผู้หญิงบางคนที่ต้องพึ่งกระบวนการทางแพทย์ที่ช่วยให้ตั้งครรภ์ได้ เช่น In vitro fertilization (IVF) อาจต้องได้รับการตรวจฮอร์โมน AMH เนื่องจากความเข้มข้นของ AMH เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการรักษา หากมีระดับฮอร์โมน AMH ต่ำ อาจหมายถึงการตอบสนองที่ไม่ดีของรังไข่ ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าจำนวนไข่ที่ลดลงจะกลับมามีจำนวนมากขึ้นหลังจากที่กระตุ้นรังไข่

นอกจากนี้แพทย์อาจใช้การตรวจ AMH เพื่อประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซึ่งฮอร์โมน AMH อาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากมี Follicle มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่อาจมีฮอร์โมน AMH เพิ่มขึ้นเช่นกัน 

การตรวจ AMH ในทารก

หากพบทารกที่มีอวัยวะเพศไม่ชัดเจนว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง แพทย์อาจตรวจฮอร์โมน AMH ควบคู่กับการตรวจโครโมโซมและฮอร์โมน ซึ่งในบางครั้งอาจต้องใช้วิธี Imaging scans เพื่อช่วยตัดสินเพศของทารก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทารกเพศชายที่มีลูกอัณฑะไม่ชัดเจนอาจมีฮอร์โมน AMH ต่ำ แต่หากพบลูกอัณฑะปรากฏอยู่ในช่องท้อง การตรวจระดับของ AMH อาจช่วยตัดสินว่าอัณฑะทำงานได้ตามปกติหรือไม่

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Anti-Müllerian hormone?

แพทย์อาจตรวจฮอร์โมน AMH เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • เมื่อต้องการประเมินการทำงานของรังไข่
  • เมื่อผู้เข้ารับการตรวจต้องใช้กระบวนการที่ช่วยให้ตั้งครรภ์ เช่น In vitro fertilization (IVF)
  • แพทย์ต้องการหาความน่าจะเป็นที่ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยทอง
  • ผู้ที่มีอาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้
    • มดลูกมีเลือดออกผิดปกติ
    • เป็นโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis nigricans)
    • มีสิว
    • ประจำเดือนขาด
    • ขนาดหน้าอกลดลง
    • รังไข่ใหญ่ขึ้น
    • มีขนขึ้นที่ใบหน้าและร่างกายมากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ข้างใบหู คาง ด้านบนริมฝีปาก ท้องน้อย หน้าอก ปานนม หลังส่วนล่าง ก้น และต้นขาด้านใน
    • น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือเป็นโรคอ้วน โดยมีไขมันกระจายอยู่ที่กึ่งกลางของร่างกาย
    • มีติ่งเนื้อใต้รักแร้หรือที่คอ
    • ผมบางและหัวล้านแบบเดียวกับผู้ชาย

ส่วนในเด็กทารก จะมีการตรวจฮอร์โมน AMH เมื่อมีอวัยวะเพศที่ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือเมื่ออัณฑะของทารกเพศชายไม่ได้เคลื่อนลงมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Anti-Müllerian hormone

แพทย์จะตรวจ Anti-Müllerian hormone จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า

รายละเอียดการตรวจ Anti-Müllerian hormone

Anti-Müllerian hormone (AMH) เป็นฮอร์โมนที่เนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น อัณฑะ และรังไข่ผลิตขึ้น โดยทั่วไปแล้วบทบาทของฮอร์โมน AMH และปริมาณ จะผันแปรโดยขึ้นอยู่กับเพศและอายุ 

ฮอร์โมน AMH จะมีผลต่อความสมดุลของ Follicle-stimulating hormone (FSH) และ Luteinizing hormone (LH) และปริมาณของฮอร์โมน AMH สะท้อนถึงการเจริญเติบโตของ Follicle มีหลายงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าระดับของ AMH อาจช่วยระบุจำนวนไข่ที่เหลือและความเป็นไปได้ที่จะตั้งครรภ์อีกด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ประจำเดือนหมด มีอาการวัยทอง ร้อนวูบวาบ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ…Hervita อาจช่วยได้!!!

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลังจากนั้นฮอร์โมน AMH จะลดลงในช่วงวัยที่มีบุตร และจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเข้าสู่วัยทอง อย่างไรก็ตาม การหาระดับของ AMH อาจช่วยประเมินสภาวะเจริญพันธุ์ในปัจจุบันของผู้หญิง และอาจใช้พยากรณ์การเริ่มวัยทองได้

การมีฮอร์โมน AMH เพิ่มขึ้นจะสัมพันธ์กับภาวะที่ส่งผลต่อรังไข่ที่เรียกว่า ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome: PCOS) ซึ่งเป็นภาวะที่ Follicle ส่วนเกินผลิตฮอร์โมน AMH มากผิดปกติ

นอกจากนี้ฮอร์โมน AMH ยังมีส่วนสำคัญต่อการแยกเพศของฟีตัส ในระหว่างสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์ เด็กที่กำลังเจริญเติบโตมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์เป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ทั้งนี้อัณฑะทั้งสองข้างของเด็กผู้ชายจะผลิต AMH และแอนโดรเจนเพื่อยับยั้งไม่ให้พัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง  และกระตุ้นการสร้างอวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ ของเพศชาย หากมีฮอร์โมน AMH ไม่เพียงพอในระหว่างกระบวนการนี้ จะทำให้เด็กมีทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและเพศหญิง หรือที่เรียกว่า  Ambiguous genitalia

ความหมายของผลตรวจ Anti-Müllerian hormone

ในระหว่างที่ผู้หญิงอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ การมีฮอร์โมน AMH ลดลงอาจบ่งชี้ถึงปริมาณและคุณภาพของไข่ที่ต่ำลง ส่งผลให้ตอบสนองต่อการใช้วิธี IVF น้อยลง และยังสามารถบ่งชี้ได้ว่ารังไข่ทำงานผิดปกติ

หากพบว่าฮอร์โมน AMH ลดลงในระดับปกติหรือลดลงมากอาจเป็นสัญญาณของการเข้าสู่วัยทอง การมีระดับของฮอร์โมน AMH ที่ติดลบหรือต่ำ ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับทารกและผู้หญิงหลังวัยทอง

หากมีการใช้ฮอร์โมน AMH เป็นเครื่องมือติดตามโรคมะเร็งรังไข่ชนิด AMH-producing ovarian cancer การลดลงของฮอร์โมน AMH สามารถบ่งชี้ถึงการตอบสนองต่อการรักษาได้ แต่หากมีฮอร์โมน AMH เพิ่มขึ้นอาจบ่งชี้ถึงการกลับมาเป็นโรคมะเร็ง

สำหรับทารกเพศชายที่ไม่มีฮอร์โมน AMH หรือมีฮอร์โมน AMH ต่ำอาจมีปัญหาเกี่ยวกับยีนที่อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 19 ซึ่งควบคุมการผลิตฮอร์โมน AMH ซึ่งอาจทำให้ไม่มีอัณฑะหรืออัณฑะทำงานผิดปกติ ทำให้มีอวัยวะเพศที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย และอาจทำให้โครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ภายในผิดปกติด้วย

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Anti-Müllerian hormone 

ผู้หญิงทุกคนไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจฮอร์โมน AMH เว้นแต่ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ หรือต้องพึ่งพากระบวนทางการแพทย์ในการมีบุตร


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lab Test Online, Anti-Müllerian Hormone (https://labtestsonline.org/tests/anti-mullerian-hormone), 28 February 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป