ยาระงับความรู้สึก (Anesthetics)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาระงับความรู้สึก (Anesthetics)

บทนำ

ยาระงับความรู้สึก (Anesthetics) คือยาที่ทำให้เกิดอาการชาและไม่มีความรู้สึกในบริเวณนั้น โดยจะใช้ในระหว่างการผ่าตัดต่างๆ หรือเป็นตัวช่วยนำสลบ ซึ่งจะเป็นตัวลดความเจ็บปวดในการผ่าตัด โดยมากจะแบ่งยาระงับความรู้สึกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่และยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป

ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่นั้นจะใช้กับการผ่าตัดขนาดเล็ก ไม่รุนแรงหรือในบริเวณเล็ก และผู้ป่วยยังคงมีความู้สึกตัวอยู่แต่จะชาเฉพาะบริเวณเท่านั้น ส่วนยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปนั้นจะเหมาะกับการผ่าตัดที่ขนาดใหญ่ขึ้น และรุนแรงกว่าโดยผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกตัวเลยในขณะใช้ยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาระงับความรู้สึกออกฤทธิ์อย่างไร

ยาระงับความรู้สึกออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการส่งกระแสประสาทซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการรู้สึกตัว ไม่ให้ส่งถึงสมอง ในขณะที่ยาออกฤทธิ์จะทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกตัวและหลังจากยาหมดฤทธิ์ลง กระแสประสาทจะถูกส่งให้สมองได้เช่นเดิมจึงทำให้ความรู้สึกนั้นค่อยๆกลับมา

ประเภทของยาระงับความรู้สึก

สามารถแบ่งยาระงับความรู้สึกได้หลายประเภทดังนี้

  •  Regional anesthesia คือ การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน โดยจะใช้กับส่วนที่ต้องการให้รู้สึกชาหรือไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด เพื่อให้ดำเนินการผ่าตัดเฉพาะส่วนนั้นได้
  • การฉีดยาเข้าช่องนอกน้ำไขสันหลัง (epidural anesthesia) ซึ่งเป็นการระงับความรู้สึกในบริเวณช่วงล่างของร่างกาย เช่น ใช้ในการลดความเจ็บปวดในการคลอดบุตร เป็นต้น
  • การฉีดยาชาเข้าช่องน้ำาไขสันหลัง (spinal anesthesia) จะเป็นการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยจะออกฤทธิ์นานประมาณ 3 ชั่วโมงโดยออกฤทธิ์เพียงกับช่วงล่างของร่างกาย
  • Sedation หรือการให้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสงบทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกังวล จากภาวะการเจ็บป่วยหรือเตรียมผ่าตัด

รูปแบบของยาระงับความรู้สึกที่แตกต่างกันนั้นสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ เพื่อให้การผ่าตัดสำเร็จอย่างปลอดภัยและปราศจากความเจ็บปวด

รูปแบบของการใช้ยาระงับความรู้สึก

  • รูปแบบขี้ผึ้ง สเปรย์ หรือแบบหยด
  • รูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือด
  • รูปแบบแก๊ส ใช้เพื่อสูดดม

วิสัญญีแพทย์ (Anaesthetists)

วิสัญญีแพทย์ คือ แพทย์ผู้ชำนาญการวางยาชาหรือยาระงับความรู้สึก ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลและควบคุมการให้ยาระงับความรู้สึก และตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ป่วยและจะอธิบายถึงประเภทของยาที่ใช้ รูปแบบการใช้และคลายข้อสงสัยทุกอย่างให้ผู้ป่วยได้

ผลข้างเคียงของยาระงับความรู้สึก

ผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • วิงเวียนศรีษะ คล้ายจะเป็นลม
  • หนาวสั่น
  • มีผื่นคันเกิดขึ้น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง
  • ปัสสาวะขัด

อาการข้างเคียงเหล่านี้มักจะเป็นไม่นาน และจะหายไปได้เมื่อยาสิ้นฤทธิ์

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการใช้ยาระงับความรู้สึก

ในปัจจุบันการใช้ยาระงับความรู้สึกนั้นมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากมีนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัย การเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงนั้นจะเกิดได้น้อยมาก ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • เส้นประสาทเสียหายแบบถาวร จะทำให้เกิดอาการชาหรืออัมพาตในบริเวณนั้นได้ โดยโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงนี้นั้นคือน้อยกว่า 1 ใน 1000 ราย
  • อาการแพ้ยาระงับความรู้สึกอย่างรุนแรง (anaphylaxis) ซึ่งหากไม่รีบรักษาจะเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยสถิติในการเกิดการแพ้นั้นอยู่ในช่วง 1 ใน 10,000 ราย ถึง 1 ใน 20,000 ราย
  • อัตราการเสียชีวิตจากการใช้ยาระงับความรู้สึกอยู่ที่ 10 ราย ในทุกๆการใช้ยาหนึ่งล้านราย
  • ปัจจัยด้านต่างๆของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว เป็นต้น
  • รูปแบบการผ่าตัด ส่งผลต่อการเลือกใช้ชนิดของยาระงับความรู้สึก โดยยาระงับความรู้สึกแบบเฉพาะที่นั้นจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
List of General anesthetics. Drugs.com. (https://www.drugs.com/drug-class/general-anesthetics.html)
General anesthesia: Side effects, risks, and stages. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/265592)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป