โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (Abdominal Aortic Aneurysm)

อันตรายจากโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (Abdominal Aortic Aneurysm)

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (Abdominal Aortic Aneurysm (AAA)) คืออาการโป่งพอง (Aneurysm) ของหลอดเลือดแดงใหญ่ aorta หลอดเลือดหลักที่นำเลือดออกจากหัวใจผ่านลงไปยังช่องท้องและจ่ายให้กับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

หลอดเลือด Aorta ส่วนท้องเป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย โดยมีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดพอ ๆ กับสายยางรดน้ำต้นไม้ และสามารถขยายใหญ่ขึ้นได้จนมีขนาดมากกว่า 5.5 เซนติเมตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะโป่งพองขนาดใหญ่ของ Aorta จัดว่าหายากและมีความร้ายแรงมาก เนื่องจากหากหลอดเลือดที่โป่งพองนั้นฉีกตัวออก จะทำให้เกิดภาวะตกเลือดภายในปริมาณมากจนอาจถึงชีวิตได้

ภาวะ AAA มักเกิดขึ้นกับผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และคนในกลุ่มนี้ยังมีสถิติการเสียชีวิตจากการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงประมาณ 1 ใน 50 คนอีกด้วย ด้วยเหตุนี่ทำให้ผู้ชายทุกคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการทดสอบคัดกรองการเกิดภาวะ AAA ด้วยการอัลตราซาวด์

อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง (AAA) ส่วนมากจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนออกมา เว้นแต่หลอดเลือดมีขนาดใหญ่มาก ก็อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บปวด รู้สึกปวดตุบ ๆ ในท้อง หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรังได้

หากภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่จนฉีกขาด ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเจ็บปวดภายในหรือสีข้างของช่องท้องอย่างรุนแรงและกะทันหัน ในผู้ป่วยชายอาจพบความเจ็บปวดในถุงอัณฑะด้วย

อาการอื่น ๆ ของภาวะหลอดเลือดแดงฉีกขาด ได้แก่

การฉีกขาดจากภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เพราะอาจทำให้มีเลือดออกภายในปริมาณมากจนทำให้เสียชีวิต โดยผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงฉีกขาด 80% เสียชีวิตก่อนไปถึงโรงพยาบาล และไม่รอดชีวิตจากการผ่าตัดรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง

ภาวะหลอดเลือดแดงในส่วนท้องโป่งพอง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อผนังหลอดเลือด Aorta บางส่วนเกิดอ่อนตัวลงจนทำให้เลือดปริมาณมากที่ไหลผ่านบริเวณนั้นสร้างแรงดันขึ้นบนจุดอ่อนแอ ทำให้เกิดการบวมหรือโป่งพองออก

ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ผนังหลอดเลือด Aorta เกิดอ่อนตัวลง แต่ก็มีข้อมูลว่าปัจจัยต่อไปนี้ อาจเป็นสิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะนี้ขึ้น

  • การสูบบุหรี่ : จากงานวิจัยพบว่า ผู้สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเกิด AAA มากกว่าคนปกติถึง 7 เท่า ยิ่งสูบบุหรี่มากเท่าใด ความเสี่ยงต่อภาวะนี้จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารอันตรายที่สามารถทำให้ผนังหลอดเลือดแดงอ่อนตัวลงได้
  • ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) : คือภาวะที่มีความร้ายแรงที่ซึ่งหลอดเลือดแดงเกิดการอุดตันจากไขมันจำพวกคอเลสเตอรอลสะสม ทำให้หลอดเลือด Aorta ต้องขยายใหญ่ขึ้นเพื่อทำให้เลือดไหลผ่านไปได้ จึงส่งผลให้หลอดเลือดอ่อนตัวลง
  • ความดันโลหิตสูง (High Blood Pressure (Hypertension)) : ส่งผลต่อทั้งการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง และการเพิ่มขึ้นของแรงดันบนผนังหลอดเลือด Aorta
  • กรรมพันธุ์ : หากคนครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรค AAA อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ขึ้นโดยปริยาย

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง

เนื่องจากภาวะ AAA มักไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ แพทย์จึงมักตรวจพบภาวะนี้จากการตรวจคัดกรองหรือระหว่างการตรวจร่างกายตามปรกติ เว้นแต่แพทย์จะสังเกตเห็นการกระตุกเล็กน้อยตามชีพจรในช่องท้องของคุณ

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง

การรักษาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนท้องโป่งพอง (abdominal aortic aneurysm (AAA)) ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • ขนาดของหลอดเลือดแดงที่โป่งพอง
  • อายุของคนไข้
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

หากมีการตรวจพบ AAA ขนาดใหญ่กว่า 5.5 เซนติเมตรขึ้นไป ก่อนการฉีกขาด ผู้ป่วยส่วนมากจะถูกแนะนำให้รักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนส่วนของหลอดเลือดที่อ่อนตัวออกเป็นท่อสังเคราะห์แทน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัดสอดกล้องหลอดเลือด (Endovascular Surgery) : ศัลยแพทย์จะกรีดเปิดขาหนีบของคุณและสอดท่อโลหะชนิดพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ขาเพื่อไปดามส่วนของ Aorta ที่พองตัวออกก่อนผนึกผนังของ Aorta ที่ปลายทั้งสองด้านการทำเช่นนี้จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้ Aorta และลดความเสี่ยงต่อการฉีกขาดลง
  • การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) : ศัลยแพทย์จะทำการกรีดเปิดหน้าท้องของคุณ และเปลี่ยนหลอดเลือดด้วยการดามหลอดเลือดด้วยท่อที่ผลิตมาจากวัสดุสังเคราะห์ที่สามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต

การผ่าตัดด้วยการสอดกล้องหลอดเลือด อาจมีความมั่นคงไม่เท่าการผ่าตัดแบบเปิด แต่ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า และมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด

แต่ถ้าหากคุณมีภาวะหลอดเลือดโป่งพองขนาดเล็ก (3.0-4.4 เซนติเมตร) หรือปานกลาง (4.5-5.4 เซนติเมตร) แพทย์จะแนะนำให้คุณเข้ารับการสแกนขนาดหลอดเลือดเป็นประจำเพื่อติดตามอาการ

ส่วนการรักษาฉุกเฉินสำหรับภาวะ AAA ที่เกิดการฉีกขาด จะใช้แนวทางเดียวกันกับการรักษาแบบที่ยังไม่ฉีกขาด คือการใช้ท่อดามเข้าไปซ่อมแซมหลอดเลือด ส่วนการตัดสินใจว่าจะดำเนินการผ่าตัดแบบเปิดหรือสอดกล้อง ขึ้นอยู่กับความชำนาญของศัลยแพทย์ที่ดำเนินการผ่าตัด

การป้องกันโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนท้องโป่งพอง

วิธีป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง คือการลดความเสี่ยงที่จะทำให้หลอดเลือดแดงโป่งพองใหญ่ขึ้นกว่าเดิมจนทำให้ฉีกขาดที่ ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • งดสูบบุหรี่
  • งดรับประทานอาหารไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abdominal Aortic Aneurysm Symptoms, Rupture & Survival Rate. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/abdominal_aortic_aneurysm/article.htm)
Abdominal aortic aneurysm. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000162.htm)
Abdominal Aortic Aneurysm: Practice Essentials, Background, Anatomy. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/1979501-overview)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป