กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

8 ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
8 ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว

นิสัยการทานอาหารของทุกคนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำหนัก แต่มันก็ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะฮอร์โมนก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีฮอร์โมนหลายชนิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานของร่างกาย เช่น การเผาผลาญ ความเจริญอาหาร การย่อยอาหาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก ดังนั้นการมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจึงทำให้เกิดโรคอ้วนได้ สำหรับบทความในวันนี้ เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีฮอร์โมนชนิดใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก

1. เลปติน

เซลล์ไขมันมีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งมันจะบอกสมองว่าคุณมีพลังงานเพียงพอ และคุณไม่จำเป็นต้องทานอาหารมากขึ้น ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกขนานนามว่าเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความอยากอาหาร การมีฮอร์โมนชนิดนี้สมดุลมีส่วนสำคัญต่อการมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. อินซูลิน

อินซูลินอาจเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่คนส่วนมากรู้จักกันดี เพราะมันมีหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด นอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว มันก็ยังมีส่วนช่วยในการเผาผลาญโดยไปเพิ่มการใช้พลังงาน เมื่อระดับของอินซูลินเปลี่ยนไปหรือไม่สมดุล ร่างกายก็สะสมน้ำตาลเป็นไขมัน ทำให้ยากต่อการลดน้ำหนัก

3. คอร์ติซอล

คอร์ติซอลเป็นที่รู้จักในชื่อของฮอร์โมนแห่งความเครียด ซึ่งมันมีความเกี่ยวข้องกับการสะสมไขมันที่หน้าท้องเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้คอร์ติซอลมีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และน้ำตาล อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อความดันโลหิตอย่างไรก็ดี เมื่อเราเครียด ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

4. เอสโตรเจนและแอนโดรเจน

เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ในขณะที่แอนโดรเจนคือฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนทั้งสองชนิดมีความเกี่ยวข้องกับการกักเก็บไขมันในร่างกาย นี่จึงสามารถอธิบายได้ว่าทำไมมวลของร่างกายถึงเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละช่วงชีวิต ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์มีแนวโน้มที่จะมีไขมันสะสมในส่วนล่างของร่างกาย แต่เมื่ออยู่ในช่วงวัยทอง ไขมันมีโอกาสที่จะสะสมบริเวณหน้าท้องมากขึ้น

5. โกรทฮอร์โมน

การที่คุณจะลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น คุณจำเป็นต้องมีฮอร์โมนชนิดนี้มากขึ้น ซึ่งมันจะทำงานร่วมกับเซลล์ไขมัน และเปลี่ยนเซลล์เหล่านี้เป็นพลังงาน สำหรับวิธีกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนคือ คุณจะต้องออกกำลังกายอย่างหนัก และนอนให้ได้อย่างน้อยคืนละ 8 ชั่วโมง

6. อิพิเนฟริน

ฮอร์โมนชนิดนี้รู้จักกันในชื่อ “อะดรีนาลีน” มากกว่า ซึ่งมันมีบทบาทต่อการเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน อีกทั้งไปช่วยยับยั้งความอยากอาหาร ป้องกันการสะสมไขมันหน้าท้อง และป้องกันโรคอ้วน ซึ่งวิธีกระตุ้น และรักษาความเสถียรของฮอร์โมนชนิดนี้ที่ดีที่สุดคือ การออกกำลังกายทุกวัน

7. อะดิโพเนกติน

อะดิโนเพกตินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยเนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งมีหน้าที่เผาผลาญกลูโคสและกรดไขมัน นอกจากนี้มันยังช่วยเพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อเพื่อให้ได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต รวมถึงช่วยเร่งร่างกายให้สลายไขมันเร็วขึ้น และควบคุมความอยากอาหาร ทั้งนี้การออกกำลังกาย และทานไขมันไม่อิ่มตัวคือวิธีที่สามารถช่วยควบคุมระดับของฮอร์โมนชนิดนี้

8. คอเลซิสโทไคนิน

ฮอร์โมนคอเลซิสโทไคนินมีหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ทำให้คุณทานอาหารน้อยลง อีกทั้งยังช่วยยืดเวลาที่ทำให้คุณรู้สึกอิ่มหลังจากทานอาหารทุกมื้อ หากฮอร์โมนชนิดนี้ทำงานผิดปกติ มันก็สามารถส่งผลต่อน้ำหนักตัวของคุณได้นั่นเอง

นอกจากการออกกำลังกาย และการควบคุมอาหารจะมีส่วนช่วยให้เราลดน้ำหนักได้แล้ว ฮอร์โมนในร่างกายของเราก็มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งการไปตรวจร่างกายเป็นประจำคือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คุณรู้ว่าฮอร์โมนผิดปกติ หรือเสียสมดุลหรือไม่

ที่มา: https://steptohealth.com/relationship-hormones-weight-control/?utm_medium=post&utm_ source= website &utm_campaign=featured_post


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Estrogen and weight gain: What to know and how to manage it. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321837)
The influence of sex hormones on obesity across the female life span. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9929857)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม