กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

7 วิธีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 วิธีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้น

"แคลเซียม" คือ สารอาหารที่มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง มีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบภาวะขาดแคลเซียม แม้ว่าเราทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นอาจไม่ได้เกิดจากการทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ แต่มันอาจเกิดจากปัญหาการดูดซึมแร่ธาตุชนิดนี้ก็ได้ค่ะ สำหรับวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากขึ้นมีดังนี้

1. อย่ารับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมมากเกินไป

เมื่อพูดถึงแคลเซียม เรามักคิดถึงนมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ทำมาจากนมอย่างชีสและโยเกิร์ต อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาหารเหล่านี้เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี แต่ในบางครั้งร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะหากคุณตกอยู่ในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ ทางที่ดีให้คุณลองทานผักที่มีแคลเซียมสูงควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

2. ทานทาฮีนี (Tahini)

งาเป็นหนึ่งในอาหารจากธรรมชาติที่มีแคลเซียมมากที่สุด ซึ่งเราจะพบน้ำมันที่สกัดจากงาได้มากในอาหารของชาวเอเชีย เพราะมันมีกลิ่นหอมที่ชวนให้อาหารน่าทานมากขึ้น นอกจากนี้เมล็ดงายังถูกนำไปทำเป็นสเปรดที่เรียกว่า ทาฮีนี ซึ่งเหมาะสำหรับใช้ทาขนมปังแผ่นหรือแซนด์วิช

3. ดื่มน้ำผักสีเขียว

ผักใบเขียวนับว่าเป็นสุดยอดแหล่งของแคลเซียม อีกทั้งยังมีสารที่ช่วยทำความสะอาด และสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพ อย่างไรก็ดี เราสามารถตักตวงประโยชน์จากผักใบเขียวให้ได้มากที่สุดโดยทานแบบดิบ ใส่ในสลัด หรือทำเป็นสมูทตี้ หากคุณไม่ชอบรสชาติของผัก คุณก็อาจใส่กล้วย สตรอว์เบอร์รี หรือสับปะรดลงไปด้วย

4. ดื่มนมอัลมอนด์เป็นอาหารเช้า

อัลมอนด์เป็นถั่วที่ดีต่อสุขภาพ และเราสามารถพบแคลเซียมปริมาณมากได้ในถั่วชนิดนี้ หากคุณไม่สามารถทานนมวัวได้ นมอัลมอนด์ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี นอกจากจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว มันก็ยังอุดมไปด้วยสารอาหาร ซึ่งเหมาะกับคนทุกช่วงอายุ

5. เติมแบคทีเรียชนิดดีให้ลำไส้

ลำไส้เล็กเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารมากที่สุด ทุกสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการจะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อกำจัดออกจากร่างกายในภายหลัง ในขณะที่ร่างกายจะส่งสารอาหารที่สามารถใช้ได้ไปตามกระแสเลือด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรรักษาแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้เล็ก ซึ่งคุณสามารถทำโดยทานอาหารที่มีโปรไบโอติก

6. ระวังไม่ให้ร่างกายรับไฟเบอร์มากเกินไป

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไฟเบอร์เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราอยากให้คุณจำไว้ก็คือ การทานไฟเบอร์มากเกินไปสามารถทำให้ลำไส้เล็กดูดซึมแคลเซียมได้ยากขึ้น ดังนั้นคุณควรจำกัดการทานอาหารที่มีไฟเบอร์อย่างเหมาะสม

7. รับประทานวิตามินดีให้มากขึ้น

เมื่อพูดถึงการดูดซึมแคลเซียม วิตามินดีก็มีความสำคัญมากไม่แพ้กัน ซึ่งวิธีธรรมชาติที่จะทำให้คุณได้รับวิตามินดีมากขึ้นคือ การออกไปรับแสงแดดวันละ 10 นาที ซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่เพียงพอแล้ว นอกจากนี้คุณสามารถเติมวิตามินดีให้ร่างกายโดยทานอาหารบางชนิด เช่น น้ำมันตับปลา ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ไข่ขาว ฯลฯ

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า มีหลายวิธีที่ช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากขึ้น หากคุณรู้ตัวว่าสุขภาพกระดูกไม่ดีทั้งๆ ที่ก็ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง นอกจากการไปพบแพทย์แล้ว การนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นมาปรับใช้ก็จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป