7 ผลข้างเคียงของยาลิซิโนพริลที่คุณควรรู้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 ผลข้างเคียงของยาลิซิโนพริลที่คุณควรรู้

ภาวะความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต เพราะมันจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา และสามารถนำไปสู่การเกิดปัญหาที่ร้ายแรงอื่นๆ ทั้งนี้การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะในผู้หญิงมักจำเป็นต้องอาศัยการปรับไลฟ์สไตล์ เช่น อาหาร ออกกำลังกาย การนอน การจัดการกับความเครียด ฯลฯ หากคุณเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้อย่างเต็มที่แล้ว แต่คุณก็ยังมีความดันโลหิตสูง แพทย์ก็อาจจ่ายยาลิซิโนพริลให้ ซึ่งเป็นหนึ่งในยาที่ใช้ควบคุมความดันโลหิตที่นิยมใช้มากที่สุด ยาชนิดนี้จะทำงานโดยช่วยลดความตึงของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลได้สะดวกขึ้น และหัวใจสูบฉีดเลือดได้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แม้ว่ายาจะช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ แต่มันก็อาจมีผลข้างเคียงแปลกๆ ที่คุณต้องระวังดังนี้

1.ไอไม่หยุดทั้งๆ ที่ไม่ได้ป่วย

การไอโดยไม่มีเมือกหรือเลือดถือเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมากที่สุดของยาลิซิโนพริล แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่แปลกและน่ารำคาญ แต่กลับไม่ทำให้เกิดอันตรายค่ะ อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการดังกล่าวรบกวนคุณมากเกินไป คุณก็อาจไปพบแพทย์ ซึ่งเขาอาจเปลี่ยนชนิดยาให้คุณค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2.รู้สึกเหนื่อยมากและเสียวซ่าน

การทานยาลิซิโนพริลสามารถทำให้ระดับของธาตุโพแทสเซียมพุ่งสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นผลข้างเคียงที่อันตรายมาก เพราะคุณจะไม่รู้ตัวเมื่อระดับโพแทสเซียมสูงขึ้นในตอนแรก แต่ถ้าถึงจุดที่สูงมากพอแล้ว มันก็สามารถทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมาก ชา หรือเสียวซ่าน ทั้งนี้แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อเช็กระดับของธาตุโพแทสเซียม 1-2 สัปดาห์หลังจากเริ่มทานยาเพื่อดูว่าร่างกายสามารถรับมือกับยาได้

3.ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่หากคุณปวดศีรษะต่อเนื่อง มันก็อาจเป็นเพราะยาลิซิโนพริล ทั้งนี้อาการปวดศีรษะถือเป็นอาการข้างเคียงของยาที่พบได้ทั่วไป หากมันมีระดับเบาหรือหายไปเอง คุณก็ไม่ต้องกังวลค่ะ แต่หากอาการยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันก็ถึงเวลาที่คุณต้องไปพบแพทย์

4.เข้าห้องน้ำบ่อย

ยาลิซิโนพริลทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัว แต่มันสามารถส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกายนอกจากหัวใจโดยเฉพาะไต หากไตของคุณมีปัญหาอยู่แล้ว หรือมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา การทานยาชนิดนี้สามารถทำให้อาการแย่ลงได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกคุณมีแนวโน้มที่จะไม่พบอาการ แต่หากสังเกตว่าคุณปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือมีลักษณะของปัสสาวะเปลี่ยนไปประกอบกับรู้สึกเจ็บเมื่อเข้าห้องน้ำ ปวดหลังส่วนล่าง หรือมีสัญญาณอื่นๆ ของโรคไต คุณควรรีบไปพบแพทย์ในทันที

5.มีปัญหากับการไปถึงจุดสุดยอด

การมีความสามารถทางเพศที่ลดลงถือเป็นหนึ่งในห้าผลข้างเคียงของการทานยาลิซิโนฟริลที่พบได้บ่อยมากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการตอบสนองทางเพศขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ไหลไปยังอวัยวะเพศเสียเป็นส่วนมาก ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดก็จะทำให้คุณไม่ได้สัมผัสกับจุดสุดยอด อย่างไรก็ตาม การไปพบแพทย์และเปลี่ยนชนิดของยาก็สามารถช่วยบรรเทาปัญหาได้

6.รู้สึกเวียนศีรษะเมื่อลุกขึ้น

คุณเคยมีอาการบ้านหมุนเมื่อลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็วหรือไม่? ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากการที่ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากที่ยืน ทำให้คุณรู้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือแม้แต่หน้ามืด อย่างไรก็ตาม ยาลิซิโนพริลสามารถทำให้เกิดอาการอย่างที่ว่า หรือทำให้อาการแย่ลง ถ้าคุณเวียนศีรษะ ให้คุณฝึกยืนช้าๆ จนกว่าร่างกายจะสมดุล และอย่าลืมดื่มน้ำ

7.ใบหน้าบวมขึ้น

การมีใบหน้าและริมฝีปากบวมอาจเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงของการทานยาลิซิโนพริลที่พบได้ไม่บ่อย ถ้าอาการบวมแย่ถึงจุดหนึ่ง มันก็สามารถทำให้คอหรือลิ้นปิดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งอาการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้าหลังจากที่คุณทานยาครั้งแรก แต่มันก็สามารถเกิดขึ้นหลังจากที่คุณทานยาหลายสัปดาห์ หากอาการบวมทำให้คุณหายใจได้ยาก คุณควรรีบไปโรงพยาบาลทันที

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาลิพิโนพริลสามารถช่วยให้ความดันโลหิตของเรากลับมาอยู่ในระดับปกติ แต่มันก็อาจมีผลข้างเคียงในผู้ใช้บางราย ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรง หากคุณมีอาการตามที่เรากล่าวไป การปรึกษาแพทย์เพื่อขอเปลี่ยนยาก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นค่ะ

ที่มา: https://www.womenshealthmag.co...20957109/lisinopril-side-effects/

 


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lisinopril: medicine to treat high blood pressure. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/lisinopril/)
Lisinopril (Zestoretic): Side Effects, Dosages, Treatment, Interactions, Warnings. RxList. (https://www.rxlist.com/consumer_lisinopril_zestoretic/drugs-condition.htm)
Lisinopril: Uses, Dosage, Side Effects & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/lisinopril.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป