กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

7 ผลข้างเคียงของการดื่มน้ำมากเกินไป

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
7 ผลข้างเคียงของการดื่มน้ำมากเกินไป

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การดื่มน้ำมากเกินไปไม่ได้ช่วยทำให้สุขภาพดีเสมอไป และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หากคุณมีอาการปวดศีรษะ มีอาการชัก และดื่มน้ำเยอะมาก่อน มีโอกาสที่อาการนี้จะเกิดจากน้ำเข้าไปในเลือดมากเกินไป ทำให้เซลล์ในร่างกายบวม
  • ผู้ที่ต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติอย่างนักกีฬา ก็ยังอาจต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติ และอาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่มากกว่าปกติด้วย แต่ต้องระมัดระวังระดับอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายที่ลดจนส่งผลให้เป็นตะคริว
  • การดื่มน้ำที่เหมาะสมควรเป็นการดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอทีละน้อย ไม่ใช่ดื่มมากๆ ในครั้งเดียว มิฉะนั้นไตอาจทำงานหนัก จนเกิดโรคไตเรื้อรังได้
  • การดื่มน้ำมากเกินไป และเร็วเกินไป อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการเหนื่อยได้ จากร่างกายที่ต้องบริหาร และกำจัดสารน้ำส่วนเกินออกไป รวมถึงอิเล็กโทรไลด์ร่างกายที่เจือจางลงไปด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

ตลอดชีวิตที่ผ่านมา คุณน่าจะเคยได้ยินมาว่า เราจำเป็นต้องดื่มน้ำวันละประมาณ 8 แก้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ 

แล้วคุณเคยสงสัยไหมว่า ถ้าเราดื่มน้ำมากเกินไป มันจะเกิดอะไรขึ้น? หากร่างกายได้รับน้ำมากเกินไป มันก็สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ (Water Intoxication) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่นอกจากผลข้างเคียงที่ได้รับ คือ การปวดปัสสาวะมากกว่าปกติแล้ว มันก็ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจอันตรายมากกว่าที่คุณคิด แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกัน

1.ทำให้เซลล์บวม

ร่างกายของเราทุกคนต่างมีโซเดียม และโพแทสเซียมไอออนที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย และรักษาสมดุลของๆ เหลวระหว่างเซลล์ และเลือด 

แต่เมื่อไรที่มีสารมีน้ำเข้ามาอยู่ในเลือดมากเกินไป และมีเกลือ หรือไอออนในเซลล์สูง น้ำก็จะเข้าไปในเซลล์ ทำให้เซลล์บวมมากขึ้น และนั่นจะยิ่งเป็นอันตรายสำหรับเซลล์ประสาทในสมอง สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ คุณจะมีอาการปวดศีรษะ ชัก สมองได้รับบาดเจ็บ ไม่รู้สึกตัว และแม้แต่เสียชีวิต

2.มีโซเดียมต่ำกว่าปกติ

การดื่มน้ำมากเกินไปสามารถทำให้โซเดียมในร่างกายเสียสมดุล ซึ่งแร่ธาตุที่สำคัญชนิดนี้ควรมีค่าระหว่าง 135-145 mEg/L. แต่หากมีค่าต่ำกว่า 135 mEq/L มันก็จะทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia)  

อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับนักกีฬาที่สูญเสียโซเดียมเป็นจำนวนมากในระหว่างที่เหงื่อออกมากกว่า และการดื่มน้ำในเวลานี้จะยิ่งทำให้ความหนาแน่นของโซเดียมลดลงไปกันใหญ่ ซึ่งสามารถทำให้นักกีฬาถึงกับเสียชีวิตได้ 

ทั้งนี้หากโซเดียมต่ำกว่า 120 mmol/liter คุณก็จะเริ่มเห็นอาการเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้อาการสับสน หรือการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อจะเด่นชัดเมื่อโซเดียมน้อยกว่า 110 mmol/liter 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่ถ้ามันลดจนไปอยู่ที่ 90-105 mmol/liter อาการของคุณจะเริ่มรุนแรงมากขึ้น ในช่วงแรก คุณอาจรู้สึกง่วงนอน หรือคุณอาจไม่รู้สึกตัว

3.มีระดับของโพแทสเซียมต่ำกว่าปกติ

หากร่างกายได้รับน้ำมากเกินไป มันยังทำให้ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายต่ำลง และนั่นก็อาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypokalemia) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียน มีความดันโลหิตต่ำ เป็นอัมพาต คลื่นไส้ และท้องเสีย 

และผลของมันจะยิ่งเด่นชัดถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงรับประทานยาลดปัสสาวะอย่างวาโซเพรสซิน (Vasopressin) ทั้งนี้ยาดังกล่าวจะทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมนวาโซเพรสซิน ซึ่งรักษาน้ำให้คงอยู่ในร่างกาย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ร่างกายตึงเครียดอย่างตอนออกกำลังกาย 

ดังนั้นถ้าร่างกายของคุณอยู่ในภาวะคั่งน้ำอยู่แล้ว การดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้นก็จะยิ่งทำให้เกิดอันตราย

4.ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า การดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้ระดับของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายลดลง เมื่อของเหลวเสียสมดุล มันก็สามารถส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และนำไปสู่การเกิดกล้ามเนื้อหดเกร็ง และตะคริวได้ในที่สุด 

หากคุณต้องทำกิจกรรมที่ใช้แรง และพลังงานมาก มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรเติมอิเล็กโทรไลต์ให้ร่างกายโดยดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่เพิ่มนอกเหนือจากน้ำเปล่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5.ทำให้ไตทำงานหนักเกินไป

อย่างที่คุณทราบดีว่า ไตมีหน้าที่กรองสารพิษออกจากเลือด ทั้งนี้การดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้นเพื่อกรองน้ำส่วนเกินออกจากเลือด 

ดังนั้นถ้าคุณดื่มน้ำหลายลิตรในหนึ่งชั่วโมง ไตของคุณก็จะทำงานหนัก และมันจะยิ่งเป็นอันตรายถ้าคุณมีปัญหากับไตมาก่อนแล้ว ซึ่งนักวิจัยพบว่า มันสามารถทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และอาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดเพิ่มขึ้น

6.หัวใจทำงานหนัก

ร่างกายมีกลไกดูดซึมน้ำที่มีประสิทธิผล ซึ่งของเหลวที่คุณดื่มเกือบ 80% จะถูกดูดซึมโดยลำไส้เล็กผ่านกระบวนการที่เรียกว่า "ออสโมซิส (Osmosis)" น้ำจะเข้าไปในกระแสเลือด และสุดท้ายก็จะทำให้เลือดมีปริมาตรเพิ่มขึ้น 

การดื่มน้ำมากเกินไปสามารถทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เพราะปริมาตรเลือดเพิ่มขึ้น และในบางกรณีก็อาจทำให้มีอาการชักได้ และการทำงานของไตกับสุขภาพหัวใจต่างก็มีความความเกี่ยวข้องกัน 

ดังนั้นผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเลือดคั่งจากหัวใจล้มเหลว หรือเป็นโรคหัวใจชนิดอื่นๆ ที่ส่งผลต่อไต มีแนวโน้มที่จะกักเก็บน้ำในร่างกายมากขึ้น ในกรณีนี้ การดื่มน้ำมากเกินไปสามารถทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจขยายตัว และทำให้หัวใจวายได้ในที่สุด

ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจบ่อยๆ และสอบถามแพทย์ว่า จะต้องดื่มน้ำอย่างไรไม่ให้โรคประจำตัวกำเริบออกมาอีกครั้ง 

7.ทำให้รู้สึกเหนื่อย

การขับของเหลว คือ หน้าที่หลักของไต เมื่อคุณดื่มน้ำมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ไตจำเป็นต้องกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ส่งให้คุณรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย ยิ่งไปกว่านั้น การเจือจางของอิเล็กโทรไลต์ก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าได้เช่นกัน

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า การดื่มน้ำมากเกินไปก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา สำหรับปริมาณของน้ำที่คุณควรดื่มนั้นก็ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนักตัว ระดับกิจกรรม โรคประจำตัว ยา และสภาพแวดล้อม 

ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่อากาศหนาว และทำกิจกรรมทางกายเพียงเล็กน้อยก็อาจไม่ต้องการน้ำมากถึง 8 แก้วต่อวัน แต่โดยทั่วไปแล้ว ทาง The National Health Services แนะนำให้จำกัดการดื่มน้ำอยู่ที่ประมาณ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 1.2 ลิตรต่อวัน  

แต่หากวันไหนที่อากาศร้อนชื้น ต้องออกกำลังกาย ใช้พลังงานมากกว่าปกติ ให้คุณดื่มน้ำเพิ่มขึ้น 1.5-2.5 แก้ว หากเป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ที่เสริมอิเล็กโทรไลต์ให้กับร่างกายด้วยก็จะยิ่งดีขึ้นไปีอก 

เพราะมันจะไปช่วยรักษาสมดุลของเกลือในร่างกาย แต่ทั้งนี้คุณควรดื่มน้ำแบบทีละน้อยไปตลอดวันแทนการดื่มน้ำมากๆ ในครั้งเดียว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Much Water Is too Much?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-much-water-is-too-much-3145922)
Hyponatremia: Symptoms, Causes, and Treatments. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-hyponatremia#1)
Overhydration: Types, Symptoms, and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/overhydration)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป