กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

7 เหตุผลว่าทำไมคุณควรทานผลไม้ตระกูลซิตรัส

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
7 เหตุผลว่าทำไมคุณควรทานผลไม้ตระกูลซิตรัส

เมื่อพูดถึงผลไม้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกและดีต่อสุขภาพ เชื่อได้เลยว่า “ผลไม้ตระกูลซิตรัส”จะต้องติดอันดับด้วยอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี ตัวอย่างของผลไม้ตระกูลซิตรัสที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดีนั้น เช่น เลมอน มะนาว ส้ม เกรปฟรุต เป็นต้น นอกจากผลไม้ตระกูลนี้มีรสเปรี้ยวอมหวานชวนให้รู้สึกสดชื่นขณะทานแล้ว มันก็ยังอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย สำหรับเหตุผลว่าทำไมคุณควรทานผลไม้ตระกูลซิตรัสมีดังนี้

ทำไมคุณควรทานผลไม้ตระกูลซิตรัส

1. อุดมไปด้วยวิตามินและสารประกอบ

ผลไม้ตระกูลซิตรัสเป็นสุดยอดแหล่งของวิตามินซี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ผิวเรียบเนียนและยืดหยุ่น การทานส้มขนาดกลางเพียงหนึ่งผลก็ทำให้คุณได้รับวิตามินซีตามปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน นอกจากนี้ผลไม้ตระกูลซิตรัสยังมีวิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เช่น วิตามินบี โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมคนีเซียม คอปเปอร์ ฯลฯ อีกทั้งยังมีสารต้านการอักเสบ และสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ ซึ่งประกอบไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ และน้ำมันหอมระเหยมากกว่า 60 ชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. เป็นแหล่งของไฟเบอร์

ผลไม้ตระกูลซิตรัสเป็นแหล่งของไฟเบอร์ที่ดี ส้ม 1 ถ้วย มีไฟเบอร์มากถึง 4 กรัม ซึ่งไฟเบอร์มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยสามารถช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้นและช่วยลดน้ำหนัก ทั้งนี้ส้มมีไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้สูง ซึ่งไฟเบอร์ชนิดนี้ช่วยให้ระดับของคอเลสเตอรอลต่ำลง เมื่อเทียบกับผลไม้และผักชนิดอื่นๆ ผลไม้ตระกูลซิตรัสมีความเป็นเอกลักษณ์ตรงที่มันมีสัดส่วนของไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้มากกว่าไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำไม่ได้

3. มีแคลอรีต่ำ

หากคุณกำลังอยู่ในช่วงควบคุมแคลอรี ผลไม้ตระกูลซิตรัสก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะมันมีแคลอรีต่ำ อีกทั้งยังมีน้ำและไฟเบอร์ที่ทำให้คุณรู้สึกอิ่ม สำหรับจำนวนแคลอรีโดยประมาณของผลไม้ตระกูลนี้ เช่น

  • ส้มคลีเมนไทน์ 1 ลูกเล็ก: 35 แคลอรี
  • ส้มขนาดกลาง 1 ลูก: 62 แคลอรี
  • เกรปฟรุตสีชมพู ½ ลูก: 52 แคลอรี
  • เกรปฟรุตสีขาว ½ ลูก: 39 แคลอรี
  • น้ำเลมอนที่ได้จากเลมอน 1 ลูก: 12 แคลอรี

ยิ่งไปกว่านั้น มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2015 ได้สังเกตพฤติกรรมการทานอาหาร และน้ำหนักของคนที่มีอายุ 24 ปีขึ้นไป โดยพบว่า การทานผลไม้ตระกูลซิตรัสมีความเชื่อมโยงกับการลดน้ำหนัก

4. อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนิ่วในไต

ก้อนนิ่วสามารถก่อตัวขึ้นเมื่อปัสสาวะมีความเข้มข้น หรือเมื่อร่างกายมีปริมาณธาตุที่ทำให้เกิดก้อนนิ่วในปัสสาวะมากกว่าปกติ อย่างไรก็ดี มีนิ่วในไตประเภทหนึ่งที่เกิดจากการมีระดับของซิเตรตในปัสสาวะน้อยเกินไป แต่มีผลไม้และผักหลายชนิด โดยเฉพาะผลไม้ตระกูลซิตรัสที่สามารถเพิ่มระดับของซิเตรตในปัสสาวะ ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไตลดลง นอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า เราสามารถพบนิ่วในไตได้ทั่วไปในคนที่ทานผลไม้ตระกูลซิตรัสน้อย

5. ช่วยต่อสู้หรือป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

มีงานวิจัยพบว่า ผลไม้ตระกูลซิตรัสสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งตับอ่อน ฯลฯ อย่างไรก็ดี ผลไม้ตระกูลนี้มีสารประกอบฟลาโวนอยด์ ซึ่งอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ฟลาโวนอยด์บางชนิดทำหน้าที่เป็นสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ และอาจไปยับยั้งการปรากฏของยีนส์บางชนิดที่ทำให้เกิดโรคเสื่อมของร่างกาย (Degenerative diseases) อย่างโรคมะเร็ง ผลไม้ตระกูลซิตรัสอาจช่วยต่อสู้กับมะเร็งโดยไปยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็งใหม่ และทำให้สารที่ก่อมะเร็งไม่ทำงาน

6. มีสารอาหารที่ดีต่อหัวใจ

การทานผลไม้ตระกูลซิตรัสช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี มีงานวิจัยของชาวญี่ปุ่นพบว่า คนที่ทานผลไม้ตระกูลนี้สูงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้น ยังมี Review ของปี ค.ศ.2017 พบว่า เกรปฟรุตมีความเชื่อมโยงกับการลดลงของความดันโลหิตแบบซิสโตลิก และมีหลายสารประกอบในผลไม้ตระกูลซิตรัสที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ  ตัวอย่างเช่น ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ และสารฟลาโวนอยด์อาจช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลดีขึ้น โดยไปเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี ลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้สารฟลาโวนอยด์ที่ชื่อว่า นารินจิน ยังเป็นสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่ทรงพลังที่ดีต่อหัวใจในหลายแง่มุม

7. ปกป้องสมอง

สารฟลาโวนอยด์ในผลไม้ตระกูลซิตรัสอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท อย่างโรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นผลมาจากความเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท และโรคเหล่านี้ล้วนแต่เกิดจากการอักเสบ อย่างไรก็ดี สารฟลาโวนอยด์ที่พบได้ในผลไม้ตระกูลซิตรัสสามารถช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งมีการทดลองที่ทำในสัตว์พบว่า สารฟลาโวนอยด์อย่างเฮสเพอริดินและอาพิจินิน ช่วยปกป้องเซลล์สมอง และทำให้สมองของหนูทำงานดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายงานวิจัยในผู้ใหญ่พบว่า น้ำผลไม้ตระกูลซิตรัสอาจช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง

อย่างไรก็ดี แม้ว่าผลไม้ตระกูลซิตรัสมีประโยชน์ตามที่เรากล่าวไป แต่มันก็มีข้อเสียเช่นกัน เพราะด้วยความที่มันมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้ผลไม้เหล่านี้สามารถทำร้ายเคลือบฟันได้ นอกจากนี้การทานเกรปฟรุตยังไปทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด  ดังนั้นคุณควรจำกัดการทานผลไม้ตระกูลซิตรัสให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการทานร่วมกับยา  


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Get More Citrus in Your Diet. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/eat-citrus-fruits-after-breakfast-too-2507464)
Oranges: Health benefits, nutrition, diet, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/272782)
7 Health Benefits of Citrus Fruits. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/citrus-fruit-benefits)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม