6 นิสัยที่ทำให้คุณไม่มีความสุขกับชีวิต

เผยแพร่ครั้งแรก 28 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 นิสัยที่ทำให้คุณไม่มีความสุขกับชีวิต

เห็นด้วยไหมคะว่า เรามักมองเห็นด้านลบของสิ่งต่างๆ ได้มากกว่าด้านบวก ซึ่งหลายคนมัวแต่โฟกัสไปยังสิ่งที่ผิดพลาด อุปสรรค และความยากลำบาก ทำให้เราไม่มีความสุขกับชีวิต หรือจมอยู่กับความเศร้าหมอง อย่างไรก็ตาม ความจริงแล้ว เราคือคนที่สามารถกำหนดความสุขหรือความทุกข์ด้วยตัวเอง สำหรับนิสัยที่ทำให้ชีวิตของคุณมืดมัวหรือขมขื่นมีดังนี้

1เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

เราทุกคนล้วนมีความพิเศษและเอกลักษณ์เฉพาะตัว  การใช้เวลาเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นส่วนสูง น้ำหนัก ความฉลาด หรือฐานะ ก็ล้วนแต่บั่นทอนจิตใจของคุณ อย่างไรก็ตาม คนอื่นอาจมีบางทักษะที่คุณไม่มี แต่คุณก็อย่าลืมว่าคุณก็อาจมีความสามารถที่คนอื่นไม่มีเช่นกัน นอกจากนี้คุณควรเลิกคิดว่าตัวเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น อย่าดูถูกความสำเร็จของตัวเอง หรือคิดว่าปัญหาของตัวเองใหญ่กว่าคนอื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. คิดว่าชีวิตเป็นเรื่องยาก

ชีวิตอาจไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนต้องทำงานหนักเพื่อเลี้ยงปากท้อง การต้องเผชิญหน้ากับความจริงที่ว่าไม่มีของฟรีในโลก หรือการต้องเจออุปสรรคมากมาย แม้ว่าชีวิตจะไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิดไว้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราต้องทุกข์กับมันค่ะ บางคนที่เจอเรื่องแย่ๆ ในชีวิตก็ยังสามารถลุกขึ้นเดินต่อได้ และมีความสุขกับสิ่งที่มีแม้ว่ามันจะเล็กน้อยก็ตาม ทั้งนี้การมองว่าชีวิตเป็นเรื่องยากนั้นก็เท่ากับว่าคุณกำลังหาข้ออ้างให้กับตัวเองเมื่อบางสิ่งไม่ได้เป็นไปตามที่ใจหวัง คุณก็อาจเป็นแค่เหยื่อที่ได้แต่นิ่งเฉยแทนที่จะคิดหาทางแก้ปัญหา

3. ต้องการความสมบูรณ์แบบ

หากคุณเป็นคนที่กังวลเมื่อมีบางสิ่งไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง หรือคุณไม่ยอมรับความท้าทายเพราะรู้สึกกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีพอ นั่นก็แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นมนุษย์ที่รักความสมบูรณ์แบบ ซึ่งนิสัยดังกล่าวสามารถทำให้ชีวิตขมขื่นได้เพราะคุณจะไม่รู้สึกสนุกเมื่อทำบางสิ่ง คุณไม่ยอมรับความผิดพลาด และมองว่าทุกสิ่งต้องอยู่ภายใต้การควบคุม รวมถึงผลักดันตัวเองหรือคนอื่นมากเกินไป อย่างไรก็ตาม การเป็นคนที่มองหาแต่ความสมบูรณ์แบบหรือพยายามทำทุกสิ่งให้ดีนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่ปัญหาคือวิธีที่คุณใช้รับมือกับสถานการณ์ต่างหาก  ซึ่งข้อเสียของการเป็นคนเช่นนี้คือ คุณอาจกังวลจนไม่สามารถข่มตานอนได้ อารมณ์ไม่ดี หรือกลัวที่จะทำผิดพลาด

4. ไม่ให้อภัย

เมื่อคุณไม่ให้อภัยตัวเองหรือคนอื่น นั่นเท่ากับว่าคุณได้สะสมความไม่พอใจ ความเจ็บปวด และความรวดร้าวไว้กับตัวเอง ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะแปรเปลี่ยนเป็นความขมขื่นและความทุกข์ นอกจากนี้สิ่งที่คุณยังคงโกรธเคือง หรือทำให้รู้สึกทรมานจะตามมาหลอกหลอน ณ ช่วงเวลาใดๆ และทำให้คุณไม่มีความสุข อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการให้อภัยจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณถูกทำร้าย หรือคุณคิดว่าคนอื่นจะทำร้ายคุณอีกครั้ง แต่คุณควรให้อภัยเพื่อเยียวยาตัวเอง และเพื่อเข้าใจว่าคนอื่นสามารถทำผิดพลาด หากคุณสามารถให้อภัยได้ คุณจะรู้สึกโล่งอกอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

5. ผัดวันประกันพรุ่ง

การเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งก็นับว่าเป็นนิสัยที่ทำให้ชีวิตของคุณขมขื่นเช่นกัน เพราะมันทำให้คุณทำงานใดๆ ก็ตามไม่เสร็จ หรือคุณอาจต้องใช้เวลาช่วงสุดสัปดาห์เพื่อทำงาน เมื่องานสะสมเป็นจำนวนมาก คุณก็จะรู้สึกเครียด วิตกกังวล และอารมณ์ไม่ดี การเลิกเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งได้นั้น สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ การเข้าใจถึงต้นเหตุ คุณอาจเป็นคนเช่นนี้เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มทำงานอย่างไร เพราะงานยากหรือคุณรู้สึกว่างานเยอะ คุณอาจไม่มีอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ หรือคุณไม่ชอบสิ่งที่ต้องทำ

6. รู้สึกผิด

การรู้สึกผิดคือหนึ่งในศัตรูตัวฉกาจ และสามารถทำให้คุณไม่มีความสุขกับชีวิต การคิดว่าตัวเองไม่คู่ควรกับสิ่งใดๆ ก็ตาม คิดว่าไม่สามารถทำตามเป้าหมาย หรือไม่ควรพูดหรือทำสิ่งใด ล้วนแต่เป็นสิ่งที่บั่นทอนจิตใจ คุณควรปลดปล่อยตัวเองออกจากความรู้สึกผิดเพื่อให้คุณรู้สึกเป็นอิสระและมีความสุข อย่ารู้สึกแย่ถ้าสิ่งต่างๆ ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด หรือเจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมากเกินไป

แม้ว่าความสุขและความทุกข์จะเป็นของคู่กัน แต่การทำนิสัยที่เรากล่าวไปจะยิ่งทำให้ชีวิตของคุณขมขื่นมากขึ้น หากคุณสามารถเลิกนิสัยที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ รับรองว่าคุณจะมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น

ที่มา: https://steptohealth.com/these...


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล

คุณสามารถควบคุมโรคนี้ได้หากได้รับความช่วยเหลือ

อ่านเพิ่ม
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5

อาการของโรคนี้คืออะไรแล้วจะใช้การประเมินอย่างไร?

อ่านเพิ่ม
การใช้ Paxil สำหรับโรควิตกกังวล
การใช้ Paxil สำหรับโรควิตกกังวล

Paxil ทำงานอย่างไร ผลข้างเคียง และข้อมูลอื่นๆ

อ่านเพิ่ม