6 อาหารช่วยเพิ่มเซโรโทนินให้ร่างกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 อาหารช่วยเพิ่มเซโรโทนินให้ร่างกาย

เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทที่ร่างกายของเราผลิตได้เองตามธรรมชาติ ซึ่ง 95% ของสารสื่อประสาทชนิดนี้พบได้ในลำไส้เล็ก ส่วน 5% ที่เหลือนั้นพบได้ในสมอง ทั้งนี้เซโรโทนินเป็นหนึ่งในสารเคมีที่ช่วยลดความเครียดและอาการซึมเศร้า เมื่อร่างกายมีสารชนิดนี้สูง คุณก็จะรู้สึกมีความสุข ทำให้เกิดประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้เซโรโทนินยังมีหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ควบคุมวงจรการนอนหลับ ส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคม ความต้องการทางเพศ และความจำ สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูว่ามีอาหารชนิดใดบ้างที่ช่วยเพิ่มเซโรโทนินให้ร่างกาย ซึ่งมันจะยิ่งมีประโยชน์สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือกำลังเผชิญกับความเครียด มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. ขมิ้น

ขมิ้นโด่งดังในแง่ที่มันมีสารแอนตี้ออกซิเด้นท์และสารต้านการอักเสบ ทั้งนี้ขมิ้นถูกยกให้เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าตามธรรมชาติ เพราะมันมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเอื้อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขอย่างเซโรโทนินและเอนโดรฟิน ดังนั้นมันจึงช่วยขัดขวางกิจกรรมของเอนไซม์ Monoamine Oxidase ซึ่งนำไปสู่การมีอารมณ์ที่ผันผวน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ปลาทูน่า

ปลาทูน่าถือเป็นหนึ่งในปลาที่มีประโยชนต่อสุขภาพจิตมากที่สุด อันดับแรกคือ ปลาทูน่าอุดมไปด้วยวิตามินบี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการควบคุมกิจกรรมในระบบประสาท นอกจากนี้มันยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีความสามารถในการกำจัดไขมันที่ทำให้เกิดอันตรายและลดการอักเสบ ยิ่งไปกว่านั้น แร่ธาตุชนิดที่จำเป็นที่พบได้ในปลาทูน่ายังช่วยปรับปรุงการผลิตเซโรโทนิน  ในกรณีที่เป็นโรคซึมเศร้า อาหารชนิดนี้จะช่วยให้คุณมีพลังงานมากขึ้น

3. บริเวอร์ยีสต์

บริเวอร์ยีสต์เป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะมันช่วยทำให้เราผ่อนคลายและเปี่ยมไปด้วยพลัง ทำให้มันช่วยบรรเทาปัญหาอารมณ์แปรปรวนได้ อย่างไรก็ดี บริเวอร์ยีสต์เป็นแหล่งของวิตามินบี ซึ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างการทำงานของสมองและระบบประสาท ยิ่งไปกว่านั้น มันยังช่วยกระตุ้นการผลิตเซโรโทนินและเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรามีความสุข

4. อะโวคาโด

อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่อร่อยและนำไปทำอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งช่วยในการผลิตฮอร์โมนแห่งความสุข ทั้งนี้อะโวคาโดเป็นแหล่งของแมคนีเซียมและไพริดอกซีน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารประกอบที่จำเป็นต่อการผลิตเซโรโทนิน ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจะไปเพิ่มระดับพลังงาน และทำให้ร่างกายและจิตใจทำงานดีขึ้น

5. เมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันมีแคลอรีต่ำและมีกรดไขมันจำเป็น อีกทั้งยังเป็นสุดยอดแหล่งของธาตุแมคนีเซียมและซิงก์ ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยให้ฮอร์โมนแห่งความสุขมีความสมดุล ยิ่งไปกว่านั้น กรดไขมันชนิดที่ดีต่อสุขภาพยังช่วยทำให้สุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด และระบบเผาผลาญดีขึ้น

6. กล้วย

เมื่อพูดถึงการมีอารมณ์ดีขึ้น กล้วยนับว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่เราอยากแนะนำมากที่สุด น้ำตาลธรรมชาติที่พบได้ในกล้วยสามารถทำให้เรามีระดับพลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น กล้วยยังมีสาร ทริปโตเฟนสูง ทำให้มันกลายเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีที่สุดที่ช่วยให้ร่างกายผลิตสารเซโรโทนินอย่างเพียงพอ ส่วนวิตามินบีและสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ในกล้วยจะช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท

ตอนนี้คุณกำลังรู้สึกแย่ หรือกำลังอยู่ในช่วงซึมเศร้าหรือไม่? หากคำตอบคือใช่ การทานอาหารเหล่านี้ก็อาจมีส่วนช่วยให้การผลิตฮอร์โมนในร่างกายสมดุล และช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น

 

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, How to increase serotonin in the human brain without drugs (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2077351/)
Natalie Olsen, How to boost serotonin and improve mood (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322416.php) 10 July 2018
Natalie Butler, RD, LD , 7 Foods That Could Boost Your Serotonin: The Serotonin Diet (https://www.healthline.com/health/healthy-sleep/foods-that-could-boost-your-serotonin), August 29, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป