6 ประโยชน์ของการฝึกพิลาทิส (Pilates) ทุกสัปดาห์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 ประโยชน์ของการฝึกพิลาทิส (Pilates) ทุกสัปดาห์

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่รักการออกกำลังกาย คุณก็น่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ “พิลาทิส (Pilates)” มาบ้าง ทั้งนี้พิลาทิสเป็นวิธีออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้โครงสร้างภายในของร่างกาย โดยได้รับความนิยมไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ฝึกพิลาทิสทุกสัปดาห์ เพราะมันเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต หากคุณฝึกพิลาทิสเป็นประจำ คุณจะพบการเปลี่ยนแปลงดังนี้

1. น้ำหนักค่อยๆ ลดลง

การฝึกพิลาทิสจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ เมื่อระบบนี้ทำงานได้เร็วขึ้น อุณหภูมิของร่างกายก็จะสูงขึ้น ส่งผลให้เหงื่อถูกขับออกมา และร่างกายก็จะเผาผลาญแคลอรี ด้วยเหตุนี้มันจึงทำให้น้ำหนักของคุณค่อยๆ ลดลง นอกจากนี้ พิลาทิสยังเป็นวิธีออกกำลังกายที่เหมาะแก่การนำมาผสมผสานกับการออกกำลังกายชนิดแอโรบิก เช่น เดิน เต้น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย อีกทั้งยังเป็นวิธีลดน้ำหนักที่มีประสิทธิผล และไม่ทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. เพิ่มความตึงตัวให้ร่างกายโดยไม่ทำให้บาดเจ็บ

การฝึกพิลาทิสทุกสัปดาห์เป็นวิธีที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อตึงตัว เพิ่มความแข็งแรง และความทนทานของร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังช่วยสร้างความสมดุลระหว่างร่างกายช่วงบนและร่างกายช่วงล่าง ซึ่งแตกต่างจากกีฬาชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ พิลาทิสยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บ เพราะมันเป็นการออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักของตัวเราเอง หรือใช้เครื่องมือที่มีน้ำหนักเบาอย่างยางยืด และลูกบอลขนาดต่างๆ

3. ทำให้รูปร่างได้สัดส่วน

จากที่เรากล่าวไปข้างต้นว่า การฝึกพิลาทิสสามารถทำให้น้ำหนักลดลง และทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวอย่างช้าๆ ส่งผลให้คุณมีรูปร่าง หรือโครงร่างที่ดูดีขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าคุณจะมีความมั่นใจมากขึ้นตามไปด้วย หากคุณเป็นผู้หญิง คุณก็จะมีส่วนโค้งส่วนเว้าที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นหญิง ส่วนผู้ชายก็จะมีกล้ามเนื้อที่ชัดเจน และทำให้เกิดความสมดุลระหว่างหน้าอกและขา

4. มีท่าทางที่ดีขึ้น

ประโยชน์ที่เราได้กล่าวไปนั้นยังนำไปสู่การมีท่าทางที่ดีขึ้น การมีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ตึงจะช่วยพยุงให้แผ่นหลังตั้งตรง การมีหลังส่วนล่าง หรือแผ่นหลังที่แข็งแรงจะช่วยรักษาความแข็งแรงให้หน้าท้อง นอกจากนี้การมีขา และก้นที่แข็งแรงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพยุงร่างกาย หากพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การฝึกพิลาทิสจะช่วยให้การทำงานของทั้งร่างกายเป็นไปอย่างสมดุล

5. เพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกาย

การฝึกพิลาทิสมักมีการเหยียดส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งทำในตอนเริ่มต้นและตอนจบ รวมถึงตอนฝึกความตึงตัวของกล้ามเนื้อบางเทคนิค อย่างไรก็ดี เมื่อคุณเหยียดตัว คุณจะพบว่าร่างกายมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งมันจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ และปัญหาที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมถึงยังทำให้คุณมีท่าทางที่ดีขึ้น และมีร่างกายที่พร้อมสำหรับเล่นกีฬาชนิดอื่นๆ

6. ลดความเครียด

พิลาทิสไม่เพียงแต่ช่วยลดน้ำหนัก ทำให้กล้ามเนื้อตึง และทำให้รูปร่างได้สัดส่วนเท่านั้น แต่การออกกำลังกายประเภทนี้เป็นประจำสามารถมอบประโยชน์มากมายให้แก่ระบบประสาท โดยช่วยต่อสู้กับความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ด้วยความที่การฝึกพิลาทิสจำเป็นต้องใช้สมาธิและการทำงานประสานกันของอวัยวะต่างๆ คุณต้องโฟกัสไปที่การเคลื่อนไหวของร่างกาย การออกแรง การทรงตัว และการหายใจ ทำให้คุณลืมปัญหาชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือครอบครัวไปได้ชั่วขณะหนึ่ง 

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า พิลาทิสเป็นการออกกำลังกายที่ดีทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หากคุณกำลังมองหาวิธีออกกำลังกายที่ทั้งช่วยลดน้ำหนัก ทำให้รูปร่างดี มีร่างกายที่ยืดหยุ่น และช่วยคลายเครียด เราก็อยากให้คุณนำพิลาทิสไปลองพิจารณาค่ะ



12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
A guide to pilates. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/guide-to-pilates/)
Top 10 Benefits of Pilates Method of Exercise. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/the-many-benefits-of-pilates-exercise-2704865)
Pilates for Weight Loss: Does It Work?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/fitness-exercise/pilates-for-weight-loss)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม