ถั่วแอลมอนด์คั่วพร้อมเปลือก
ถั่วแอลมอนด์เพียง 1 ห่อนั้นมีไขมันแบบไม่อิ่มตัวชนิด monosaturated fat ถึง 9 กรัม ซึ่งจะช่วยลด cholesterol ชนิดที่ไม่ดีและเพิ่มไขมันชนิดดี ลองเปลี่ยนมารับประทานถั่วแอลมอนด์เป็นของว่างแทนโดนัท มันฝรั่งทอด หรือเพรทเซล จะช่วยลดไขมัน cholesterol ชนิดไม่ดีได้เกือบ 10% นอกจากนั้นแอลมอนด์ยังมีวิตามินอีและสาร flavonoids ตามธรรมชาติซึ่งจะช่วยลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง
อะโวคาโด
งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานอะโวคาโดสัปดาห์ละ 1 ลูกนั้นมีระดับ cholesterol น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน 17% ยิ่งไปกว่านั้นอะโวคาโดจะช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดีแต่เพิ่มไขมันชนิดที่ดีแทน อะโวคาโดยังเป็นแหล่งของสาร beta-sitosterol ซึ่งสามารถช่วยลดระดับ cholesterol ได้อีกด้วย
มะเขือเทศ
งานวิจัยพบว่าการรับประทานมะเขือเทศอย่างน้อย 7 ครั้งต่อสัปดาห์นั้นสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้ถึง 30% เชื่อว่าน่าจะเป็นผลจากสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ lycopene หรือวิตามินซี, โพแทสเซียมและเส้นใยอาหารที่อยู่ในมะเขือเทศ การนำมะเขือเทศมาปรุงให้สุกเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีนั้นจะช่วยเพิ่มระดับ lycopene ได้ และหากรับประทานมะเขือเทศตากแห้ง ¼ ถ้วยนั้นจะทำให้ได้รับโพแทสเซียมได้มากกว่าการรับประทานกล้วยขนาดกลาง 1 ใบ
แซลมอน
แซลมอนเป็นปลาที่อุดมไปด้วยโอเมกา 3 โดยปลาแซลมอน 1 ที่นั้นจะมีโอเมกา 3 ชนิด eicosapentaenoic acid (EPA) และ decosahexaenoic acid (DHA) ประมาณ 1.8 กรัมซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลดระดับ cholesterol ชนิดไม่ดี ลดการอักเสบ และอาจจะช่วยลดการสะสมไขมันที่ผลังหลอดเลือดรวมถึงการเกิดลิ่มเลือดได้อีกด้วย
ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตมีสาร betaglucan ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ ทำหน้าที่กักและกำจัดกรดน้ำดีซึ่งมี cholesterol เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ช่วยลดระดับ cholesterol ชนิดที่ไม่ดีจากการที่ทำให้มี cholesterol ในเลือดให้ดูดซึมน้อยลง มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานข้าวโอ๊ต 1 ชามใหญ่ต่อวัน (ประมาณ 1-1/2 ถ้วย) นั้นจะช่วยลดระดับ cholesterol ได้เพิ่มขึ้น 2-3%