10 ข้อสงสัยที่พบบ่อยกับสุขอนามัยช่องปาก

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
10 ข้อสงสัยที่พบบ่อยกับสุขอนามัยช่องปาก

นี่คือคำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับสุขอนามัยช่องปาก

เนื่องจากความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ นั้นเกิดขึ้นมาจากเรื่องของฟัน อ็อกเดนแนส กวีชาวอเมริกันได้เขียนไว้ ผู้คนจำนวนมากมักจะเพิกเฉยต่อสุขภาพฟันโดยคิดว่าเป็นสิ่งไม่สำคัญ จนกว่าพวกเขาจะมีปัญหา ผู้คนจำนวนน้อยที่จะตระหนักถึงการเอาใจใส่ช่องปากและฟันของเขา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นหากเราเจ็บปวดจากปัญหาทันตกรรม หรือไม่ต้องการที่จะเจ็บปวดในอนาคต นี่เป็นคำตอบของคำถาม ที่จะนำคุณไปสู่หนทาง ของการมีสุขอนามัยช่องปากที่ดี

1. ฟันของฉันมีคราบหินปูน ฉันควรจัดการอย่างไร?

การมีคราบหินปูนบนฟัน อาจเป็นเรื่องใหญ่ คราบหินปูนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี,การสูบบุหรี่ หรือการกินอาหารที่เป็นสาเหตุของฟันเหลือง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องเปลี่ยนแปลงอุปนิสัย เพื่อที่จะมีรอยยิ้มที่สวยงาม สิ่งง่ายๆที่ทุกๆคนทำได้ เพื่อให้ฟันขาวง่ายๆคือ การกินอาหารสด เช่นโยเกิร์ตและชีส ผักและผลไม้ ฯลฯ รวมถึงการเปลี่ยนไปใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มความสะอาดช่องปากได้ดี และช่วยให้ฟันของคุณขาวขึ้น

2. อะไรคือเทคนิคที่ถูกต้องในการแปรงฟัน?

ทุกๆคนแปรงฟัน แต่การแปรงฟันด้วยวิธีที่ถูกต้องไม่ใช่สิ่งที่ทุกๆคนทำ ในการที่จะแปรงฟันให้ถูกต้องนั้น คุณต้องแบ่งช่องปากออกเป็น 4 ส่วนและใช้เวลาอย่างน้อย 30 วินาทีต่อ 1 ส่วน การที่คุณบ้วนปากอย่างถูกวิธีด้วยน้ำภายหลังการแปรงฟัน ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ และก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะแปรงฟันวันละ 2ครั้ง เนื่องจากยาสีฟันสามารถต่อสู้เชื้อโรคได้เพียง 12 ชั่วโมงต่อการแปรงหนึ่งครั้ง

3. ผมมีลมหายใจที่มีกลิ่น ผมควรทำอย่างไร?

ลมหายใจมีกลิ่น ไม่ได้ส่งผลเสียเฉพาะคุณเท่านั้น แต่มันส่งผลเสียต่อบุคคลรอบข้างเช่นกัน ในขณะที่มีวิธีการต่อสู้กลิ่นปากหลายวิธี คุณก็ควรที่จะทราบว่า สาเหตุนั้นเกิดจากอะไร อาหารเช่นหัวหอมและกระเทียม ถูกกล่าวขานว่าเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก ผลิตภัณฑ์อย่างอื่นก็มีส่วน เช่น กาแฟ,เหล้า และบุหรี่ มีหลายวิธีที่จะทำให้คุณอยู่ห่างอาการมีกลิ่นปากได้ การกินอาหารที่ดี การดื่มน้ำมากๆ การบ้วนปากเป็นประจำ การแปรงฟันที่ถูกวิธี และการเลิกสูบบุหรี่ ก็มีส่วนช่วยได้อย่างมาก หรือวิธีการอื่นเช่นการเคี้ยวหมากฝรั่ง ภายหลังอาหาร 20  นาทีจะช่วยให้น้ำลายขจัดคราบอาหาร และทำให้ลมหายใจสดชื่น

4. ฉันมีอาการปวดฟันอย่างรุนแรง ฉันควรทำอย่างไร?

9 ใน 10 ของคนที่ปวดฟันมักจะมีปัญหาฟันผุ อย่างไรก็ตามก็อาจเกิดจากปัญหาอื่น เช่น การหกล้มหรือการเกิดอุบัติเหตุ,ฟันเกหรือฟันคุด,โรคเหงือก ฯลฯ

หากคุณปวดฟัน ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะพบทันตแพทย์ เพื่อหาทางการรักษาที่ถูกต้อง และคุณก็ควรที่จะดูแลสุขอนามัยช่องปาก อย่างเป็นประจำ เพื่อป้องกันปัญหาการปวดฟันในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5. ฉันควรเปลี่ยนแปรงสีฟันบ่อยแค่ไหน?

ควรเปลี่ยนแปรงสีฟัน เมื่อขนแปรงเริ่มที่จะบานหรือโค้งงอ หรือเปลี่ยนทุกๆ 3 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพของขนแปรงจะมีประสิทธิภาพ ในการขจัดสิ่งสกปรกออกจากฟัน ควรที่จะเปลี่ยนแปรงสีฟัน ภายหลังจากคุณหายไข้ เนื่องจากขนแปรง เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และอาจนำไปสู่การติดเชื้ออีกครั้ง ควรเก็บแปรงสีฟันไว้ในที่ที่จะทำให้แปรงแห้งเร็ว ไม่ควรเก็บแปรงสีฟันไว้ในกล่องหรือในน้ำ ภายหลังการแปรงฟัน

การเลือกแปรงสีฟันที่ถูกต้อง ถือเป็นขั้นแรกของการดูแลช่องปาก ทุกคนทราบดีว่า การแปรงฟันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่มี สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี เนื่องจากการแปรงฟันที่ไม่เหมาะสม

6. น้ำยาบ้วนปาก เป็นสิ่งที่จำเป็นหรือไม่?

จำเป็นสำหรับสุขอนามัยช่องปากที่ดี เนื่องจากแปรงสีฟัน ไม่สามารถเข้าถึงทุกซอกทุกมุม ซึ่งน้ำยาบ้วนปากสามารถทำได้ จากการวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่า น้ำยาบ้วนปากสามารถเอาชนะแปรงสีฟันได้ ในการขจัดคราบสกปรก ดังนั้นมันสามารถที่จะช่วยลดกลิ่นปาก และทำให้ลมหายใจสดชื่นได้ยาวนานถึง 30 นาทีภายหลังจากการบ้วนปาก

7. ทำไมการสูบบุหรี่จึงส่งผลเสียต่อฟัน?

พวกเราทราบดีว่ายาสูบนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังส่งผลให้รอยยิ้มของคุณหมองอีกด้วย การสูบบุหรี่หรือการเคี้ยวยาสูบ จะทำให้เกิดคราบบนเคลือบฟัน ยาสูบมีสารที่ทำให้เกิดคราบ และสามารถขจัดได้ยาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ฟันเหลือง และทำให้ฟันของคุณดูหม่นหมอง ยิ่งไปกว่านั้นนอกจากจะทำให้ลมหายใจมีกลิ่นแล้วยังทำให้มีกลิ่นตัวเหมือนบุหรี่

8. ปากแห้งบ่อย เกิดจากอะไร?

อาการปากแห้งนั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการของโรคอื่น เช่นโรคเบาหวาน,ความเครียด,พาร์กินสัน ฯลฯซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ปากแห้งทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อฟันผุ และการติดเชื้อราของช่องปาก และก็ทำให้การเคี้ยวและการกลืนนั้น เป็นไปอย่างยากลำบาก

9. ควรเลือกใช้ยาสีฟันอย่างไร?

แปรงสีฟันสำคัญฉันใด ยาสีฟันก็สำคัญฉันนั้น การเลือกยาสีฟันนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีอาการเสียวฟัน คุณก็ควรที่จะเลือกยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟัน หากคุณมีกลิ่นปาก คุณก็ควรที่จะเลือกยาสีฟันที่มีส่วนผสมของมิ้นท์ นอกจากนี้ยาสีฟันยังมีสูตรช่วยแก้ปัญหาโรคเหงือกและช่วยให้ฟันขาว

10. ฉันควรแปรงฟันวันละกี่ครั้ง?

ในทางอุดมคตินั้นควรแปรงฟันวันละ 3 ครั้งแต่การแปรงฟันวันละ 2 ครั้งครั้งละ 2 นาทีก็เพียงพอแล้วในการป้องกันเชื้อโรคและเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดี


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oral Health Tips | Adult Oral Health | Basics | Oral Health. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/oralhealth/basics/adult-oral-health/tips.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความรู้เรื่องโรคปริทันต์ฉบับสมบูรณ์
ความรู้เรื่องโรคปริทันต์ฉบับสมบูรณ์

ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับปริทันต์ ปริทันต์อักเสบ หรือโรครำมะนาด ปัญหาเกี่ยวกับฟันซึ่งพัฒนามาจากโรคเหงือกอักเสบ

อ่านเพิ่ม