ห้ามละเลยปัญหาเลือดออกตามไรฟันเป็นอันขาด!
ความคิดเห็นต่อสัญญาณฉุกเฉินในช่องปากของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ผู้ป่วยหลายคนเลือกที่จะเพิกเฉยต่อสัญญาณฉุกเฉินในช่องปาก โดยคิดเอาเองว่าอาการปวดฟันนี้จะหายไปเอง ในขณะที่อีกหลายคนที่ทำฟันปลอมหาย มีกลิ่นปาก หรือแตกหัก ก็กระวีกระวาดทำเป็นเรื่องฉุกเฉินอย่างมากแม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ เนื่องจากห่วงเรื่องความสวยความงามมากกว่า
อะไรที่นับว่าเป็นภาวะฉุกเฉินในช่องปากบ้าง?
ตัวอย่างภาวะฉุกเฉินในช่องปากมีดังนี้:
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- อาการปวดฟัน
- ฟันหักหรือบิ่น
- ฟันหลุด
- ฟันเคลื่อน
- มีบางสิ่งติดอยู่ระหว่างฟัน
- เคลือบฟันหลุด
- วัสดุอุดฟันหลุด
- เหล็กดัดฟันเสียหาย
- ฝีฟัน
- การบาดเจ็บบนเนื้อเยื่ออ่อน
ต่อไปคือตัวอย่างภาวะฉุกเฉินในช่องปากที่คุณจำต้องไปพบแพทย์:
วัสดุอุดฟันหลุด หรือฟันแตก: การหลุดออกของวัสดุอุดฟัน หรือการแตกหักของฟันจัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตทั่วไปอย่างการรับประทานอาหาร การพูดคุย และอื่น ๆ ซึ่งหากเพิกเฉยปัญหานี้ จะนำไปสู่การสูญเสียเนื้อเยื่อฟัน การติดเชื้อ และความเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่ทำให้ผู้ป่วยทรมานอย่างมาก
อาการปวดฟัน: สามารถเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะสร้างอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง อาการปวดฟันนั้นเกิดมาจากการบาดเจ็บที่ฟันหรือเหงือกบวม แต่ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม ก็ควรต้องเข้ารับการรักษาในทันที หากยังคงเพิกเฉยปัญหานี้ต่อไปจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ความเสียหายที่เกิดคงอยู่ถาวรได้ อีกทั้งการรักษาฟันและเหงือกก็ยังคงต้องมีการดูแลต่อเนื่องไปอีกระยะเวลาหนึ่ง หากปล่อยให้ฟันผุหรือการสะสมกันของเศษอาหารบนฟันคงอยู่เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาดูแล มันจะนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดฟันแบบเฉียบพลัน และอาจทำให้เกิดอาการบวมออกมาที่เหงือกบริเวณใกล้เคียง
ฝีหนองฟัน: ก็คือการติดเชื้อที่รากฟัน หรือช่องว่างระหว่างฟันและเหงือก โดยฝีหนองนั้นจัดเป็นสภาวะรุนแรงที่ทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบฟัน และการติดเชื้อสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ได้อีกหากถูกปล่อยเอาไว้โดยไม่ได้รับการรักษา
หากอยู่ที่บ้าน คุณจะรับมือกับภาวะฉุกเฉินของฟันได้อย่างไร?
แม้ว่าทางเราจะแนะนำให้คุณรีบไปหาทันตแพทย์ในทันทีที่คุณประสบกับภาวะฉุกเฉินในช่องปาก อย่ารอให้ฟันเหลืองหรือมีปัญหาก่อน อย่างไรก็ตามคุณก็สามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ ตามข้อปฏิบัติต่อไปนี้ได้
บ้วนปากให้สะอาด: โดยการใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรือสูงกว่าเล็กน้อย ใช้ไหมขัดฟันเพื่อขจัดเศษอาหารออก และหากคุณมีอาการปากบวม ให้ใช้วิธีประคบความเย็นภายนอก หรือบนแก้มของคุณ ห้ามใช้ยาแอสไพรินหรือยาแก้ปวดใด ๆ กับเหงือกหรือบริเวณใกล้เคียงฟันที่ปวด เนื่องจากมันอาจไปสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อเหงือกได้ และหากเป็นไปได้ ให้รีบพบแพทย์ทันที
ใช้ยาแก้ปวด: ทานยาแก้ปวดจะช่วยบรรเทาอาการไปได้บ้าง แต่กระนั้นคุณก็ควรเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุดอยู่ดี
การดูแลบาดแผลเลือดออกที่เหงือก: หมายถึงการที่มีเลือดออกบนเนื้อเยื่ออ่อนอย่างบนลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือก และริมฝีปาก วิธีการห้ามเลือด มีดังนี้:
- ล้างปากของคุณด้วยน้ำเกลืออ่อน ๆ
- ใช้ผ้าตาข่ายหรือถุงชาที่ชุบน้ำหมาด ๆ กดไว้ที่ตำแหน่งที่มีเลือดออก ให้กดอยู่อย่างนั้น 15 ถึง 20 นาที
- การจัดการกับแผลเลือดออกที่สร้างความเจ็บปวด ให้ประคบเย็นภายนอกช่องปาก หรือประคบเย็นที่แก้ม ณ จุดที่ใกล้เคียงกับบาดแผลที่สุดเป็นเวลา 15 ถึง 20 นาที
- หากเลือดยังคงออกไม่หยุด ให้ไปพบแพทย์ทันที โดยกดผ้าตาข่ายหรือถุงชาที่ใช้ปิดปากแผลไว้ตลอด หรือจนกว่าจะได้รับการรักษา