กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Yaz vs Yasmin

แนะนำยาคุมสำหรับคนกลัวอ้วน กลัวบวมน้ำ เปรียบเทียบวิธีใช้ ราคา จุดเด่น จุดด้อย เพื่อเลือกสิ่งที่เหมาะกับตัวคุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Yaz vs Yasmin

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาคุมยาส และยาสมิน เป็นยาคุมที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินรุ่นดรอสไพริโนน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการบวมน้ำ และต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย ลดการเกิดสิว ผิวมัน และขนดก จึงเหมาะสำหรับผู้หญิงที่กลัวอ้วน แต่มีราคาสูงกว่ายาคุมทั่วไปมาก
  • ยาคุมยาส เป็นยาคุมชนิด 28 เม็ด เป็นเม็ดยาฮอร์โมน 24 เม็ด และเม็ดแป้ง 4 เม็ด ทำให้สามารถรับประทานติดต่อกันได้ โดยไม่ต้องเว้นว่าง 7 วัน
  • ยาคุมยาสมิน เป็นยาคุมชนิด 21 เม็ด ทั้ง 21 เม็ด เป็นเม็ดยาฮอร์โมนทั้งหมด ไม่มีเม็ดยาหลอก หรือเม็ดแป้ง ทำให้หลังจากรับประทานหมดแผง จะต้องเว้นว่าง 7 วันก่อนเริ่มรับประทานแผงใหม่
  • หากใช้ยาคุมอย่างถูกต้อง มีวินัย และตรงต่อเวลา ไม่ว่าจะเป็นยาคุมยี่ห้อใดก็มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ต่างกัน หากไม่กลัวอ้วน หรือบวมน้ำ ก็สามารถใช้ยาคุมที่มีราคาถูกกว่าได้
  • ยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรใช้ถุงยางอนามัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่นี่)

การบวมน้ำ เป็นหนึ่งในข้อเสียที่พบได้จากการใช้ยาคุมหลายๆ ยี่ห้อ ซึ่งแม้จะไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวของผู้ใช้เพิ่มขึ้นมากมาย แต่สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องความอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่รู้ตัวว่า กำลังอวบระยะสุดท้าย ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่ต้องการทนกับผลข้างเคียงนี้

ยาคุม "ยาสมิน (Yasmin)" และ "ยาส (Yas)" ที่นำมาเปรียบเทียบกันในวันนี้ ใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินรุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า ดรอสไพรีโนน (Drospirenone) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการคั่งของน้ำในร่างกาย (Antimineralocorticoid) จึงไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดปัญหาบวมน้ำจากยาคุม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ ยังมีผลต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย (Antiandrogenic effect) จึงช่วยลดการเกิดสิว ผิวมัน ขนดก และนำมาใช้รักษาสิวที่มีความรุนแรงในระดับปานกลางได้

นอกจากจะขึ้นชื่อว่า เป็นยาคุมที่ต้านการบวมน้ำ และรักษาสิวได้ทั้งคู่แล้ว ยาสและยาสมินยังมีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไรอีกบ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้ 

ความแตกต่างกันด้านรูปแบบและวิธีใช้

1. วิธีใช้ยาส (Yas)

ใน 1 แผงของยาสจะมีเม็ดยาทั้งหมด 28 เม็ด แบ่งเป็นเม็ดยาฮอร์โมน 24 เม็ด และเม็ดแป้ง 4 เม็ด

ยาส เป็นยาคุมในรูปแบบ 28 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผงแล้ว ให้ต่อแผงใหม่ในวันถัดมา โดยไม่ต้องเว้นว่างเพิ่มเติมอีก

ซึ่งประจำเดือนจะมาในช่วงที่รับประทานเม็ดแป้ง โดยมักจะมาหลังใช้เม็ดยาฮอร์โมนหมดไปแล้ว 2–3 วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เนื่องจากยาสเป็นยาคุมสูตร 24/4 (นั่นก็คือ มีเม็ดยาฮอร์โมน 24 เม็ดและเม็ดแป้ง 4 เม็ด) ดังนั้น ผู้ที่ใช้ยาคุมยาสจึงมักจะมีประจำเดือนมาเมื่อใช้เม็ดที่ 27 – 28 ของแผง หรือคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

2. วิธีใช้ยาสมิน (Yasmin)

ใน 1 แผงของยาสมินจะไม่มีเม็ดแป้ง และจะมีเม็ดยา 21 เม็ด ซึ่งเป็นเม็ดยาฮอร์โมนทั้งหมด

ยาสมิน เป็นยาคุมในรูปแบบ 21 เม็ด เมื่อรับประทานหมดแผง จะต้องเว้นว่าง 7 วันก่อนต่อยาคุมแผงใหม่ ซึ่งประจำเดือนจะมาในช่วงที่เว้นว่าง โดยมักจะมาหลังใช้ยาหมดไปแล้ว 2–3 วัน หรือคลาดเคลื่อนเล็กน้อย

จากภาพจะเห็นได้ว่าด้านหลังของแผงยาคุมยาส จะมีตัวเลข 1–28 กำกับที่เม็ดยา เพื่อแทนลำดับการใช้ ในขณะที่ด้านหลังของแผงยาคุมยาสมิน จะมีตัวอักษรย่อระบุวันในสัปดาห์ กำกับที่เม็ดยา เพื่อให้สะดวกในการตรวจสอบ และแกะเม็ดยามาใช้

อย่างไรก็ตาม ในกล่องของยาคุมยาสจะมีสติ๊กเกอร์ที่ระบุวันในสัปดาห์ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกติดตรงตามวันที่เริ่มรับประทานเช่นกัน

ตามภาพตัวอย่างนี้ เนื่องจากผู้ใช้เริ่มรับประทานเม็ดแรกของแผงตรงกับวันอังคาร จึงเลือกแถบที่เริ่มจากวันอังคารมาติดไว้ที่แผงยา เช่นนี้แล้ว ผู้ใช้ยาคุมยาสจึงสามารถตรวจสอบ และแกะเม็ดยามาใช้ให้ตรงกับวันได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซึ่งถือเป็นการแก้ไขจุดอ่อนของยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมแบบ 28 เม็ดยี่ห้ออื่น ๆ ที่มักพบปัญหาว่า ตรวจสอบการใช้ยาประจำวันได้ยาก และเสี่ยงที่จะลืมรับประทานหรืออาจรับประทานซ้ำซ้อนนั่นเอง

ส่วนจุดเด่นเดิมของยาคุมแบบ 28 เม็ด ที่ให้รับประทานยาทุกวัน ไม่ต้องเว้นว่าง ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม จึงไม่ต้องกังวลว่าจะลืมต่อยาคุมแผงใหม่ตามกำหนดด้วย

เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบและวิธีการใช้ จึงถือว่ายาสใช้งานได้สะดวก ตรวจสอบการใช้ได้ง่าย และป้องกันการลืม หรือการรับประทานซ้ำซ้อนได้ดีกว่ายาสมิน

ความแตกต่างด้านตัวยาสำคัญ ประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง

1. ตัวยาของยาส

เม็ดยาลำดับที่ 1–24 ของ ยาสประกอบด้วย

  • Drospirenone 3 มิลลิกรัม
  • Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม

เม็ดยาลำดับที่ 25 – 28 เป็นเม็ดแป้ง ไม่มีตัวยา

2. ตัวยาของยาสมิน

เม็ดยาลำดับที่ 1–21 ของ ยาสมินประกอบด้วย

  • Drospirenone 3 มิลลิกรัม
  • Ethinylestradiol 0.030 มิลลิกรัม

ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของยาสและยาสมินไม่แตกต่างกัน หากรับประทานถูกต้อง และตรงเวลาสม่ำเสมอ ผู้ใช้จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.3% เท่านั้น

แม้ว่าจะมีตัวยาฮอร์โมนเดียวกัน แต่เนื่องจากปริมาณเอสโตรเจนในยาสมีน้อยกว่า จึงทำให้ผลข้างเคียงอย่างเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และฝ้า ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของเอสโตรเจน พบได้น้อยกว่ายาสมิน 

อีกทั้งการที่ยาสมีช่วงปลอดฮอร์โมนสั้นกว่า (ยาสมินมีช่วงปลอดฮอร์โมน 7 วัน ในขณะที่ยาสมีเพียง 4 วัน) จึงลดกลุ่มอาการที่เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงก่อนมีประจำเดือน เช่น อารมณ์แปรปรวน ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม ท้องอืด ได้ดีกว่ายาสมินนั่นเอง

ผลการเปรียบเทียบชี้ว่า แม้ประสิทธิภาพจะไม่แตกต่างกัน แต่ผลข้างเคียงของยาสพบได้น้อยกว่ายาสมิน

3. ราคา

  • ยาคุมยาสมิน ราคาแผงละ 659 บาท
  • ยาคุมยาส ราคาแผงละ 539 บาท

เมื่อพิจารณาราคาของทั้ง 2 ยี่ห้อ เห็นได้ชัดว่ายาสมินมีราคาสูงกว่ายาสมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นยาส หรือยาสมิน เมื่อเปรียบเทียบกับยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ดรอสไพรีโนนก็ถือว่า มีราคาสูงกว่ามากอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นยาคุมกำเนิดยี่ห้อใด หากใช้อย่างถูกต้อง ตรเวลา และมีวินัย ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดก็ไม่ต่างกัน หากไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาคุมที่มีผลต้านการบวมน้ำ ก็สามารถใช้ยาคุมยี่ห้ออื่นๆ แทนยาสและยาสมินได้

สิ่งสำคัญก็คือ ยาคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ 

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Yasmin vs Yaz Comparison. Drugs.com. (https://www.drugs.com/compare/yasmin-vs-yaz)
Yasmin, Yaz (drospirenone-ethinyl-estradiol) dosing, indications, interactions, adverse effects, and more. Medscape. (https://reference.medscape.com/drug/yasmin-yaz-drospirenone-ethinyl-estradiol-342768)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด
วิธีหาอุปกรณ์คลุมศีรษะโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการทำเคมีบำบัด

วิกผม หมวกมีปีก หมวกไหมพรม และผ้าพันคอที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม
ฉันสามารถทำ CPR ได้หรือไม่หากฉันยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรผ่านการอบรม

มันไม่เหมือนการขับรถหรอกนะ : คุณไม่จำเป็นต้องได้รับใบรับรองหรอก

อ่านเพิ่ม