ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับผลกระทบจากการวิ่งออกกำลังกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับผลกระทบจากการวิ่งออกกำลังกาย

การวิ่งกำลังเป็นเทรนสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการออกกำลังที่ทำได้ง่ายไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์ใดๆมากมาย และยังสามารถออกกำลังกายได้ในแทบทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ หรือแม้แต่ในหมู่บ้านก็ตาม แต่ก็ยังมีความกลัวของใครหลายๆคนเกี่ยวกับการวิ่งที่ไม่เป็นจริงแต่อย่างใด จึงได้รวบรวมมาให้ได้ทราบกัน การวิ่งจะได้ไม่น่ากลัวอีกต่อไป...

วิ่งแล้วจะปวดหลัง?

การวิ่งแล้วปวดหลังนั้นไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด แต่อาการปวดหลังที่เกิดจากการวิ่ง เกิดจากท่าทางการวิ่งที่ไม่ถูกหลักจึงมีอาการปวดหลังตามมา โดยส่วนใหญ่เกิดจากหลังไม่ได้เหยียดตรงในขณะวิ่ง และไม่ได้แกว่งแขนแบบเป็นธรรมชาติ จึงมีการฝืนของกล้ามเนื้อส่งผลให้ปวดหลังได้ ใครที่มักจะถือโทรศัพท์หรือขวดน้ำวิ่งอาจเกิดอาการนี้ได้ เพราะเราจะไม่แกว่งแขน และอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญมากๆคือการไม่อบอุ่นร่างร่างกายก่อนวิ่ง อันนี้อาจจะไม่ได้ปวดแค่หลังก็เป็นไปได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิ่งแล้วขาใหญ่ น่องใหญ่?

หากลองสังเกตดีๆนักวิ่ง(โดยเฉพาะระยะไกล)ขาเล็ก และเรียวกว่าคนทั่วไปเสียอีก การวิ่งแล้วน่องใหญ่และขาใหญ่ ที่เราเห็นกันในนักวิ่งระยะสั่น เกิดจากการออกกำลังกายเพิ่มเติม เพื่อสร้างกล้ามเนื้อมาใช้สำหรับการเร่งความเร็ว การออกกำลังกายด้วยการวิ่งเพียงอย่างเดียวจะไม่ทำให้ขาใหญ่ แต่จะช่วยลดไขมันบริเวณต้นขา และน่องช่วยให้ดูกระชับขึ้นด้วย แต่ถ้าหากเราออกกำลังกายอื่นๆด้วยเช่นเล่นเวท ขาเราอาจใหญ่ขึ้นได้ไม่ใช่เรื่องแปลก

วิ่งแล้วหน้าออกจะหย่อนยาน?

ในส่วนนี้มีการยืนยันแล้วว่าการวิ่งไม่ได้ทำให้หน้าอกของเราหย่อนยานแต่อย่างใด มีแต่จะช่วยให้กระชับมาขึ้นมากกว่า แต่เพื่อความปลอดภัย และสบายใจ ควรสวมสปอร์ตบราเพื่อช่วยให้กระชับ และป้องกันการบาดเจ็บที่อาจขึ้นขณะออกกำลังกาย

วิ่งแล้วกระดูกเสื่อมเร็ว?

กระดูกของเราทุกคนนั้นเสื่อมไปตามเวลาอยู่แล้วครับ ไม่ว่าคุณจะออกกำลังกายหรือไม่ก็ตาม การออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้นมีงานวิจัยออกมายืนยันแล้วว่าช่วยให้กระดูกของเราแข็งแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นคนที่กลัวจะกระดูกเสื่อมเพราะออกมาวิ่ง จงกลัวว่ากระดูกจะเสื่อมเพราะไม่วิ่งจะดีกว่า แต่หากใครที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกก็ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด และควรจะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อบำรุงกระดูกให้แข็งแรง

มีความเข้าใจผิดอีกมากมายเกี่ยวกับการวิ่ง เช่นวิ่งแล้วจะทำให้เตี้ย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด การวิ่งอย่างถูกต้องไปส่งผลร้ายให้กับร่างกายของเราอย่างแน่นอน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Running injury? Maybe you’re doing it all wrong. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/running-injury-maybe-youre-doing-it-all-wrong-201604089420)
Running: Learn the Facts and Risks of Jogging as Exercise. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/running/article.htm)
The history of a habit: jogging as a palliative to sedentariness in 1960s America. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5897920/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง

ไอเดียอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับนักเดินทาง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด
วิธีการวัดและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจและปอด

ความทนแทนแบบแอโรบิกของคุณคืออะไร

อ่านเพิ่ม