งานวิจัยเผย การนั่งทำให้ผู้หญิงเสี่ยงต่อภาวะเปราะบาง

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
งานวิจัยเผย การนั่งทำให้ผู้หญิงเสี่ยงต่อภาวะเปราะบาง

การนั่งเป็นเวลานานทำร้ายสุขภาพของเราได้หลายทาง ซึ่งมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ยิ่งคุณใช้เวลานั่งมากเท่าไร โอกาสที่คุณจะเสียชีวิตก่อนวัยก็มีมากขึ้นเท่านั้น และน่าเศร้าที่การออกกำลังกายไม่ได้ช่วยหักล้างผลกระทบได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเตือนว่า การนั่งมากเกินไปจะทำให้สุขภาพหัวใจแย่ลงและเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน ในขณะที่งานวิจัยชิ้นอื่นพบว่ามันอาจทำให้สมองหดตัว

ภาวะเปราะบางคืออะไร? แล้วส่งผลต่อผู้หญิงอย่างไร?

นักวิจัย 3 ท่าน ได้แก่ Maja Susanto Ruth Hubbrd และ Paul A Gardiner ได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก Australian Longitudinal Study of Women's Health โดยมีผู้หญิงที่เกิดในช่วง ค.ศ.1946-1951 เป็นผู้เข้าร่วมทดลอง ซึ่งผู้หญิงเหล่านี้รายงานเวลาที่ตัวเองใช้นั่งในแต่ละวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ดี นักวิจัยประเมินภาวะเปราะบางของผู้หญิงโดยใช้สเกลที่เรียกว่า FRAIL โดยมีค่าตั้งแต่ 0 (สุขภาพดี) ไปจนถึง 5 (อ่อนแอ) และแบ่งจำนวนชั่วโมงการนั่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ระดับต่ำ (3.5 ชั่วโมงต่อวัน) ระดับปานกลาง (5.5 ชั่วโมงต่อวัน) และระดับสูง (10 ชั่วโมงต่อวัน)

ทั้งนี้ Paul Gardiner หนึ่งในหัวหน้างานวิจัยกล่าวว่า “คนที่ตกอยู่ในภาวะเปราะบางจะมีพลังสำรองที่ใช้สำหรับฟื้นตัวหลังจากเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บน้อยลง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะต้องเข้าโรงพยาบาล หกล้ม เข้าไปอยู่ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และเสียชีวิตก่อนวัยเพิ่มขึ้น”

แม้ว่ามีงานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนมากกว่าผู้ชาย แต่กลับมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะเปราะบางมากกว่า ทำให้นักวิจัยต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้หญิงโดยเฉพาะ หากมองในภาพรวม งานวิจัยชิ้นนี้เผยว่า ผู้หญิงที่นั่งเป็นเวลานาน หรือประมาณ 10 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะดังกล่าว ในขณะที่คนที่นั่งน้อยลงอย่างสม่ำเสมอมีความเสี่ยงที่จะเผชิญปัญหาต่ำกว่า แต่ผลที่เกิดจากการนั่งเป็นเวลานานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะผู้เข้าร่วมทดลองที่นั่งน้อยลงประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะอ่อนแอลดลง

อย่างไรก็ตาม หากต้องการลดความเสี่ยงได้อย่างสิ้นเชิง ผู้หญิงควรพยายามนั่งให้น้อยลงหรือจำกัดการนั่งให้อยู่ในระดับปานกลาง และหมั่นเคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งนี้ The Centers for Disease Control and Prevention (CDC) แนะนำให้ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปี และมากกว่านี้ทำกิจกรรมชนิดแอโรบิคแบบหนักปานกลางสัปดาห์ละอย่างน้อย 2.5 ชั่วโมง และออกกำลังกายที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อสัปดาห์ละ 2 วัน สำหรับตัวอย่างของการทำกิจกรรมชนิดแอโรบิคแบบหนักปานกลาง เช่น เดินเร็ว ถูพื้น ตัดหญ้า ฯลฯ ในขณะที่ตัวอย่างของการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมกล้ามเนื้อ เช่น ยกน้ำหนัก การใช้เส้นยางยืด (Resistance Band)

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...322277.php

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Shunning osteoporosis treatment isn’t a wise decision for most women. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/womens-health/shunning-osteoporosis-treatment-isnt-a-wise-decision-for-most-women)
Are you at risk of breaking a bone?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/osteoporosis-fracture-risk-assessment-tool-frax/)
Validation of a 4-Item Score Predicting Hip Fracture and Mortality Risk Among Elderly Women. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1783927/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป