กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เหตุใดจึงไม่ควรใช้ยาคุมเพื่อการข้ามเพศ

เผยแพร่ครั้งแรก 22 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เหตุใดจึงไม่ควรใช้ยาคุมเพื่อการข้ามเพศ

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ฮอร์โมนสำหรับหญิงข้ามเพศในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2016 ชี้ให้เห็นว่า ทั้งหมดใช้ยาด้วยตัวเองโดยไม่เคยรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ แต่จะรับประทานหรือปรับขนาดการรับประทานตามการแนะนำของเพื่อน ซึ่งพบว่าการใช้ดังกล่าวไม่เหมาะสมตามแนวทางมาตรฐาน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา

และเมื่อพิจารณารายละเอียดของยาที่กลุ่มตัวอย่างใช้ ก็จะเห็นได้ว่า เกือบทั้งหมดเป็นการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่ใช้ในหญิงปกติทั่วไป และหาซื้อได้ง่ายจากร้านขายยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดแปลงเพศ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 178,200 บาท ลดสูงสุด 32,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อ่านแล้วทำให้อดคิดถึงบ้านเราไม่ได้ค่ะ เพราะยาคุมชนิดเม็ดก็นิยมนำมาใช้แบบผิด ๆ อย่างนี้เช่นกัน โดยเฉพาะมียาคุมบางยี่ห้อที่ทั้งชื่อการค้าและรูปลักษณ์หน้ากล่อง ดูจะจงใจดึงดูดผู้ใช้ในกลุ่มนี้เสียจริง จนทำให้ผู้หญิงทั่วไปไม่กล้าใช้ไปเลยนะคะ เพราะนึกว่าผลิตมาให้ใช้เฉพาะสำหรับผู้หญิงข้ามเพศเท่านั้น (ฮ่า)

แม้ว่าโดยหลักการ การใช้ยาเพื่อเปลี่ยนจากชายให้กลายเป็นหญิง โดยเฉพาะก่อนที่จะผ่าตัดแปลงเพศ จะอาศัยผลของการต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย และเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งในยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมบางยี่ห้อ จะมีผลทั้งคู่รวมอยู่ด้วยกันก็ตาม แต่ก็ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าปกติหลายเท่านะคะ จึงจะได้ผลครบถ้วนตามที่ต้องการ

เพราะถ้าพิจารณาจากปริมาณฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิด ที่มีผลทั้งต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย และเสริมฮอร์โมนเพศหญิง ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน หากจะใช้ในขนาดที่แนะนำให้เสริมฮอร์โมนเพศหญิง ก็จะไม่มากพอที่จะต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายในผู้ที่ยังไม่ได้ผ่าตัดแปลงเพศได้

แต่ถ้าจะเพิ่มขนาดการรับประทานยาเพื่อให้ได้ผลต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายด้วย ขนาดของฮอร์โมนเพศหญิงที่ได้รับก็จะเกินขนาดที่แนะนำไปหลายเท่า ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงคงพุ่งสูงปรี๊ดแน่เลยค่ะ ที่หวังจะ “เปลี่ยนจากชายให้กลายเป็นหญิง” ก็จะกลายเป็น “เปลี่ยนจากชายให้กลายเป็นศพ” แทนน่ะสิคะ ธ่อ...

ก็ขนาดการใช้ปกติ ผู้หญิงทั่วไปก็ทนผลข้างเคียงแทบจะไม่ไหวแล้ว นี่พูดถึงแค่เรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และเจ็บเต้านมนะคะ ยังไม่ได้รวมความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตัน, โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง, มะเร็งเต้านม, เนื้องอกของต่อมใต้สมอง หรือมีการทำงานของตับผิดปกติ แล้วถ้าต้องใช้ในขนาดที่สูงกว่าหลายเท่าล่ะคะ จะหนักขนาดไหน

แค่อยากจะเปล่งประกายความเป็นหญิงจากภายในสู่ภายนอก ต้องเสี่ยงถึงขนาดนี้เลยเหรอคะ?!?

แม้จะหาซื้อได้ง่ายและมีราคาไม่แพง แต่ยาคุมกำเนิดไม่ได้ผลิตมาสำหรับเป็นฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศค่ะ เพราะฉะนั้น การนำมาปรับใช้จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี และมีอันตรายมากไม่คุ้มเสี่ยงนะคะ

ในกรณีนี้ ควรใช้ฮอร์โมนหรือยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะพร่องหรือเกินของฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะดีกว่าค่ะ มีใช้กันโดยปกติอยู่แล้ว และสามารถนำมาใช้เพื่อการข้ามเพศได้เช่นกัน แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด ก็ต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

ท้ายที่สุดนี้ ขอฝากถึงตุ๊ดน้อยหอยสังข์ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ (ฮ่า) หากสนใจที่จะใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศ แนะนำให้ไปพบกุมารแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ หรืออายุรแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อ เพื่อพิจารณาการใช้ยาที่เหมาะสมนะคะ จะได้อยู่ให้โลกชื่นชมความสาวและความสวยไปนาน ๆ ไม่ลาโลกไปก่อนวัยอันควร ...เตือนเพราะรักและปรารถนาดีค่ะ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
LORI R. JACOBS, PHARM.D., The Medicine Shoppe, Chardon, Ohio Am Fam Physician , why-should-not-over-the-counter-drugs-be-used (https://www.aafp.org/afp/1998/0501/p2209.html)
medlineplus.gov, why-should-not-over-the-counter-drugs-be-used (https://medlineplus.gov/overthecountermedicines.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)

ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ของผู้ชายและผู้หญิง

อ่านเพิ่ม
ฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับวัยทองและสาวๆ ฮอร์โมนผิดปกติ
ฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับวัยทองและสาวๆ ฮอร์โมนผิดปกติ

ยาฮอร์โมนทดแทน ทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ฮอร์โมนผิดปกติ วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีทั้งรูปแบบยากิน แผ่นแปะ ยาสอด ฯลฯ

อ่านเพิ่ม
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?
สิวในเด็กเล็ก...ยังเด็กเป็นสิวได้ด้วยหรือ?

รู้จัก สิว ที่เกิดได้ในช่วงวัยต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเป็นวัยรุ่น และแนะนำวิธีดูแลอย่างถูกต้อง ปลอดภัย

อ่านเพิ่ม