กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ทำไมถึงไม่ใช้น้ำมัน Flaxseed?

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำไมถึงไม่ใช้น้ำมัน Flaxseed?

น้ำมัน flaxseed นั้นอาจจะไม่มีปรอท และมีกรดไขมันโอเมกา 3 แต่มันก็ไม่ใช่น้ำมันที่ดีที่สุด

คุณอาจจะเคยอ่านเจองานวิจัยที่บอกว่าปลาและน้ำมันจากปลานั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยเฉพาะต่อหัวใจ และอาจจะมีประโยชน์ต่ออารมณ์และภูมิคุ้มกัน มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าผู้ที่กินปลาเป็นประจำนั้นจะมีโอกาสที่เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, โรคเส้นเลือดสมองอุดตัน หรือเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดได้น้อยกว่า ซึ่งคำนิยามสำหรับคำว่าเป็นประจำนั้นก็แตกต่างกันไป แต่มักจะหมายถึงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นการกินปลาแม้เพียงเดือนละครั้งก็ดูเหมือนจะได้ประโยชน์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปลาและน้ำมันจากปลานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในชิ้น มีการพบว่าการรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณมาก (วันละหลายกรัม)  นั้นอาจจะลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลายอย่าง (เช่นไขมันชนิดดี, triglycerides, ความดันโลหิต) การรับประทานในปริมาณน้อย (วันละ 1 กรัม) นั้นก็อาจจะช่วยป้องกันการเกิดหัวใจเต้มผิดจังหวะ โดยเฉพาะแบบ atrial fibrillation ซึ่งรุนแรงถึงชีวิตได้ นอกจากนั้นยังเชื่อว่าน้ำมันจากปลานั้นจะช่วยยับยั้งช่องรับโซเดียมในเยื่อบุกล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้พวกมันมีโอกาสในการทำงานผิดปกติลดลง

แต่งานวิจัยนั้นก็ไม่ได้ไปในทางเดียวกันทั้งหมด มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าน้ำมันจากปลานั้นไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์มากอย่างที่คิด และผลจากงานวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมในผู้ที่มีการติดเครื่องกระตุกไฟฟ้าที่หัวใจนั้นก็พบผลที่หลากหลาย

อะไรอะไรก็ปลา

การเพิ่มน้ำมันปลาในอาหารนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากดังนั้นการทานปลาเพิ่มนั้นอาจจะง่ายกว่า การรับประทานปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ปลาแมคเคอเรลหรือปลาสายพันธุ์อื่นที่มีน้ำมันมากประมาณ 3 ออนซ์นั้นก็จะทำให้คุณได้น้ำมันปลาในปริมาณที่เพียงพอ หรือปลา catfish มากกว่า 1 ปอนด์ หรือปลาทูน่ากระป๋อง 12 ออนซ์ น้ำมันปลาที่เป็นอาหารเสริมนั้นมักจะมาในรูปแบบแคปซูล 1 กรัมซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าในชีวิตจริง แต่แคปซูลนั้นมีขนาดใหญ่และอาจจะมีผลข้างเคียงได้เช่นมวนท้องหรือได้รสชาติของปลาอยู่ในปาก ไปจนถึงการมีระดับไขมัน LDL สูง

นอกจากนั้นยังอาจจะมีปัญหาเรื่องปรอทปนเปื้อนอีกด้วย ปรอทนั้นจะมีการสะสมในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยในสัตว์ที่อยู่สูงขึ้นไปในห่วงโซ่อาหารซึ่งบางตัวก็เป็นสัตว์ที่มีน้ำมันปลาสูง ในปัจจุบันยังไม่พบว่าน้ำมันปลาที่เป็นอาหารเสริมนั้นเป็นแหล่งที่ทำให้ร่างกายได้รับปรอท และมีบางบริษัทที่กล่าวว่านำมาจากปลาซาร์ดีน ปลาแอนโชวี่หรือปลาอื่นๆ ที่เชื่อว่าน่าจะมีการปนเปื้อนของปรอทที่น้อยกว่า

แหล่งของโอเมกา 3 ชนิดอื่น

มีการโฆษณาว่าน้ำมัน flaxseed นั้นอาจจะสามารถใช้แทนน้ำมันปลาได้ เนื่องจากเชื่อว่าประโยชน์ของน้ำมันปลานั้นมาจากไขมันโอเมกา 3 2 ชนิดที่ชื่อ eicosapentaenoic acid (EPA) และ docosahexaenoic acid (DHA) น้ำมัน flaxseed นั้นมีกรดไขมันโอเมกา 3 จากพืชที่ชื่อ alpha-linolenic acid (ALA) สารนี้พบในอาหารอื่นๆ เช่นวอลนัทและน้ำมัน (เช่นน้ำมันดอกคำฝอยและน้ำมันถั่วเหลือง) แต่มีความเข้มข้นน้อยกว่าในน้ำมัน flaxseed

ในปัจจุบันยังไม่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับสาร ALA มากเท่ากับในน้ำมันปลาและถึงแม้ว่างานวิจัยเท่าที่มีนั้นดูเหมือนจะออกมาในแง่บวกแต่ก็ยังต้องการหลักฐานเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัญหาหลักเกี่ยวกับ ALA นั้นก็คือเพื่อได้ประโยชน์จากโอเมกา 3 จะต้องมีการเปลี่ยน ALA ให้กลายเป็น EPA และ DHA ด้วยเอนไซม์ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งหมายความว่ามีเพียง 10-15% หรือน้อยกว่าเท่านั้น และที่เหลือนั้นจะถูกเผาผลาญเป็นพลังงานหรือย่อยสลายผ่านกระบวนการอื่น น้ำมัน flaxseed 1 ช้อนชานั้นคิดเป็น EPA และ DHA 700 มิลลิกรัม ซึ่งก็ยังคงมากกว่า EPA และ DHA 300 มิลลิกรัมที่พบในแคปซูลน้ำมันปลา 1 กรัมแต่ก็ถือว่าน้อยกว่าที่เขียนไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน

1 ที่เท่ากับ 6 แคปซูล

เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบระหว่างน้ำมันปลาและน้ำมัน flaxseed ได้ อย่างแรกต้องพูดถึงขนาดที่ใช้ก่อน น้ำมัน flaxseed 6 แคปซูลนั้นจะให้ ALA 3.4 กรัมซึ่งคิดเป็นประมาณ 340 มิลลิกรัมของโอเมกา 3 ในขณะที่น้ำมันปลา 1 แคปซูลนั้นก็สามารถให้โอเมกา 3 ในปริมาณที่เท่ากัน

อีกปัญหาหนึ่งของการใช้น้ำมัน flaxseed ก็คือในน้ำมัน Flaxseed นั้นมีกรดโอเมกา 6 (ประมาณ 2 กรัมต่อ 1 ช้อนชา) กรดโอเมกา 6 นั้นใช้เอนไซม์เดียวกับ ALA ในการสลาย ดังนั้นอาจจะทำให้ ALA นั้นเปลี่ยนเป็นโอเมกา 3 ได้ไม่เต็มที่หากมีโอเมกา 6 อยู่จำนวนมาก

บทสรุป

น้ำมัน flaxseed นั้นจะให้กรดโอเมกา 3 ปริมาณเล็กน้อยในรูปแบบของกรด alpha-linolenic คุณอาจจะลองเติมมันลงในน้ำสลัด เพื่อเสริมโอเมกา 3 ที่ได้จากปลา และน้ำมันปลาแต่ไม่สามารถทดแทนกันได้ หากคุณต้องการน้ำมันโอเมกา 3 แต่กังวลเรื่องปรอทที่ปนเปื้อน คุณอาจจะเลือกรับประทานเป็นน้ำมันปลาที่เป็นแคปซูล บางยี่ห้อนั้นทำมาจากปลาที่มีปรอทน้อยกว่า แต่ก็ไม่ควรเลิกกินปลาอยู่ดี ปลาแซลมอน pollock และ catfish นั้นล้วนแต่มีปรอทต่ำ


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Flaxseed Oil: Side Effects, Interactions, and Risks. Healthline. (https://www.healthline.com/health/flaxseed-oil-side-effects)
Flaxseed oil: Benefits, side effects, and how to use. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323745)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก

คำอธิบายของอาหารคีโตเจนิกและตัวอย่างรายการอาหาร

อ่านเพิ่ม
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?
น้ำตาลจากมะพร้าวมีคาร์โบไฮเดรตต่ำจริงหรือ? ดีสำหรับเราจริงไหม?

น้ำตาลจากมะพร้าวเหมาะสำหรับคนต้องการอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำหรือไม่?

อ่านเพิ่ม